“Media Literacy” ทักษะสำคัญของเด็กในยุคดิจิทัล

Starfish Academy
Starfish Academy 32579 views • 3 ปีที่แล้ว
“Media Literacy” ทักษะสำคัญของเด็กในยุคดิจิทัล

โลกอินเทอร์เน็ตทำให้เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้สะดวก รวดเร็ว เปิดโลกกว้างให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ แต่อีกด้านที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ข้อมูลข่าวสารจำนวนมากนั้นอาจไม่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ หรือเป็นประโยชน์เสมอไป เช่น การตัดต่อภาพ ตัดต่อเสียงเพื่อบิดเบือนข้อมูล การใช้ภาษากำกวม รวมทั้งโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเด็ก ๆ  เช่น การตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ การโดนหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว การรับข้อมูลข่าวสารโดยไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง หรือเผลอโพสต์สิ่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งแม้จะลบไปแล้ว แต่ก็อาจถูกแคป หรือส่งต่อไปไกลเกินกว่าจะควบคุมได้ ดังนั้น การฝึกให้เด็ก ๆ มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) เลยเป็นเหมือนการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาข้างต้นได้นั่นเอง

ขอบคุณภาพจาก vectorjuice

Media Literacy Skill คืออะไร ?

Media Literacy หรือทักษะการรู้เท่าทันสื่อ คือ ทักษะการตรวจสอบ วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ก่อนตัดสินใจเชื่อ หรือนำไปแชร์ต่อ เรียกง่าย ๆ ว่ารู้ทันสื่อทั้งในฐานะผู้รับสาร ผู้ส่งต่อ และผู้ผลิตสื่อบนโลกโซเชียล เพราะสมัยนี้เด็ก ๆ เองก็สามารถสร้างสรรค์ และเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้เช่นกัน 

การรู้เท่าทันสื่อ ส่งผลกระทบมากกว่าในโลกโซเชียล

แม้ว่าทักษะการรู้เท่าทันสื่อ จะชวนให้นึกถึงเทคโนโลยี การโพสต์ การแชร์ข้อมูลต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วทักษะนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเกือบทุกเรื่องเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Childhood Obesity ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) สามารถช่วยให้เด็ก ๆ ทานผัก และผลไม้เยอะขึ้น และยังทำให้การสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก ๆ ดีขึ้นได้อีกด้วย อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทักษะการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวอะไรกับการกิน และความสัมพันธ์ในครอบครัว คำตอบคือ การทดลองนี้ผู้ปกครอง และเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เรื่องโภชนาการที่ดี แล้วช่วยกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีการ และเจตนาที่อยู่เบื้องหลังโฆษณาอาหารต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่า อันไหนเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ อันไหนเป็นเทคนิคการตลาดเพื่อโน้มน้าวใจ 

เมื่อเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ และฝึกการตัดสินใจด้วยตนเองแล้ว เขาจะเริ่มเลือกกินผัก และผลไม้ เพราะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ดีต่อร่างกายอย่างไร รวมทั้งรู้เจตนาเบื้องหลังสื่อ หรือโฆษณาขนมหวานต่าง ๆ โดยคุณ  Erica Weintraub Austin ผู้ทำการทดลองกล่าวว่า “ในการทดลองนี้ สิ่งที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้เด็ก ๆ ได้ คือการให้เขาค้นหาคำตอบด้วยตัวเองมากกว่าการฟังคนอื่นอธิบาย” 

ดังนั้น การทดลองข้างต้นจึงสะท้อนให้เห็น 2 ประเด็นหลัก ๆ อย่างแรกคือ สื่อมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แม้กระทั่งเรื่องใกล้ตัวอย่างการเลือกอาหารการกิน อย่างที่สอง คือ การปลูกฝังทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สิ่งสำคัญกว่าการฝึกใช้เทคโนโลยี คือการฝึกคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการรับข่าวสารทั้งในโลกโซเชียล และในโลกความเป็นจริง

เสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy Skill) ให้กับลูก

สำหรับแนวทางการฝึกทักษะ Media Literacy เรามีไอเดียให้พ่อแม่ผู้ปกครองลองนำไปปรับใช้ได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังนี้

  • สอนให้ลูกเข้าใจธรรมชาติของสื่อ เช่น ข้อจำกัดของรูปภาพ หรือวีดิโอที่สามารถตัดต่อหรือถ่ายให้เห็นเฉพาะส่วนที่อยากนำเสนอ ทำให้บางทีข้อมูลอาจจะยังไม่ครบถ้วน หรือรอบด้าน มีโอกาสตีความผิดพลาดได้หากดูรูปเพียงอย่างเดียว หรือการใช้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook บางทีอาจจะมีการยิงแอดมาให้เราเห็นโพสต์นั้นบ่อย ๆ จนคิดว่าสินค้านี้น่าซื้อ น่าเชื่อถือ จนตัดสินใจซื้อจริง ๆ โดยละเลยการเปรียบเทียบคุณภาพและราคากับยี่ห้ออื่น เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก freepik

  • หมั่นตรวจสอบการใช้โซเชียลมีเดียของลูก ถ้าเป็นเด็กเล็ก ๆ ผู้ปกครองอาจจำกัดเวลาการใช้งานได้ แต่หากเป็นเด็กโต ลองแนะนำให้ลูกใช้แอปพลิเคชัน เช่น UBhind, Pause, Forest: Stay focused เพื่อเป็นตัวช่วยติดตามเวลาการใช้งาน และลดการใช้อินเทอร์เน็ตในแต่ละวัน 
  • สอนให้รู้จักแยกแยะระหว่างการให้ข้อมูลกับการโน้มน้าวใจ รวมทั้งแยกแยะข้อเท็จจริง กับความคิดเห็น โดยอาจจะเป็นการเล่นเกม หรือชวนคุยถึงประเด็นนี้ เช่น เขียนข้อความแล้วให้เด็ก ๆ แยกว่าประโยคไหนเป็นข้อเท็จจริง (Fact) ประโยคไหนเป็นความคิดเห็น (Opinion) หรือยกข้อความโฆษณากับข้อความที่ให้ความรู้มาอ่านให้ลูกฟัง แล้วให้ทายว่า อันไหนเป็นการให้ความรู้ อันไหนเป็นการโฆษณา และเทคนิคการโน้มน้าวใจของโฆษณานี้คืออะไร

ขอบคุณภาพจาก freepik

ชวนลูกมาเช็คก่อนเชื่อ ด้วย 5 คำถาม ได้แก่ 

  1. ใครเป็นคนเขียนบทความนี้ 
  2. จุดประสงค์ของข้อมูลหรือบทความนี้คืออะไร เช่น ให้ความรู้ ตักเตือน สั่งสอน โน้มน้าวใจ
  3. บทความนี้เผยแพร่ในช่องทางไหน ทั้งช่องทางที่นำมาแชร์ และโพสต์ต้นฉบับ
  4. อะไรในบทความที่ดึงความสนใจของคนอ่านได้  เช่น พาดหัวข่าว วีดิโอ รูปภาพ 
  5. คิดว่าผู้เขียนมีมุมมอง น้ำเสียง หรือทัศนคติอย่างไร

โดย 5 คำถามนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้หยุดคิด กลับมาทบทวน และชั่งน้ำหนักถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับมามากยิ่งขึ้น         เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียนั้นเต็มไปด้วยความรวดเร็ว รวมท้ังเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้ว่าเด็กเจเนอเรชัน Z จะเกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี แถมบางทีก็ใช้คล่องกว่าผู้ใหญ่ด้วยซ้ำ แต่การใช้ให้คล่อง กับ การใช้ให้เป็น นั้นไม่ได้เหมือนกันซะทีเดียว ผู้ปกครองจึงไม่ควรละเลยการฝึกฝนทักษะนี้ให้กับลูก หรือแม้กระทั่งฝึกฝนทักษะนี้ด้วยตัวเอง เพราะอย่างที่บอกไปว่าสื่อไม่ได้ส่งผลกระทบแค่โลกบนหน้าจอมือถือเท่านั้น แต่ยังสอดแทรก และส่งผลต่อการตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1712 ผู้เรียน
เทรนด์การทํางานยุคใหม่
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การสร้างรายได้จากสติกเกอร์ Line

เมื่อยุคเปลี่ยนไปการสื่อสารกันในชีวิตประจำวันเปลี่ยนตาม จากการพูดคุยกลายเป็นการพิมพ์คุยกัน การสร้างสติกเกอร์ไลน์จึงเป็นอาชีพ ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
การสร้างรายได้จากสติกเกอร์ Line
Starfish Future Labz

การสร้างรายได้จากสติกเกอร์ Line

Starfish Future Labz
1454 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

Starfish Class Website Version

เครื่องมือในการประเมินทักษะ และสมรรถนะของผู้เรียนที่ครอบคลุม รวมไปถึงการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างง่าย ผ่าน Starfish ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
Starfish Class Website Version
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

Starfish Class Website Version

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3041 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน

หลักสูตรสำหรับครูที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านกิจกรรมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน
Starfish Academy

การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน

Starfish Academy

Related Videos

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
97 views • 2 ปีที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
6992 views • 2 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
173 views • 1 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
583 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ