ทำอย่างไรดี เมื่อลูกเป็นเด็กขี้ลืม
เปิดเทอมแล้วเป็นยังไงกันบ้างคะ? หลายๆบ้านคงวุ่นวายกันแน่นอนเพราะเปิดเทอมนี้มีอะไรให้ต้องเตรียมเยอะ แน่นอนว่าปัญหาก็ต้องตามมา อย่างถ้าบ้านไหนมีลูกน้อยขี้ลืม คงจะเหนื่อยไม่น้อย เด็กบางคนถ้าเตือนก็กลับมาจำได้ วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องเมื่อลูกเป็นเด็กขี้ลืมกันค่ะ ว่าทำไมลูกถึงขึ้ลืมบ่อย แล้วพ่อแม่ต้องทำอย่างไรเมื่อลูกลืมของ?
ก่อนอื่น เราขอบอกก่อนว่าสำหรับลูกวัยอนุบาลกับอาการขี้หลงขี้ลืมถือเป็นเรื่องปกติ เพราะสมองของลูกยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่างกังวลมากไปนะคะ
กิจกรรมทำแก้ลืม
เรามีวิธีแก้ลืมหลากหลายวิธีมานำเสนอกันค่ะ บ้านไหนถนัดแบบไหน ลองไปปรับใช้กันได้เลยค่ะ
- สร้างกิจวัตรให้ลูก
เพื่อให้ลูกรู้ว่าในแต่ละวันต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง และในแต่ละกิจกรรมนั้นต้องเตรียมตัวหรือเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง เช่น กำหนดเวลาเข้านอน และตื่นนอนให้ชัดเจน ตื่นนอนแล้วต้องอาบน้ำ ทานข้าว ไปโรงเรียน กลับจากโรงเรียนแล้วต้องทำการบ้าน อ่านหนังสือ เป็นต้น ช่วยให้เด็กๆ จดจำการทำกิจกรรมตามขั้นตอน ไม่ลื่มง่าย
- ทบทวนบ่อยๆ
หลังจากกลับมาจากโรงเรียนให้ลูกๆ ได้เล่ากิจกรรมที่ได้ทำในแต่ละวันให้ฟัง อ่านหนังสือ ทำการบ้าน และทบทวนบทเรียนเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งการทบทวนซ้ำๆ จะทำให้สมองจดจำได้นานขึ้น
- อ่านนิทานช่วยได้นะ
การอ่านนิทานหรือร้องเพลงร่วมกันบ่อยๆ โดยเฉพาะเพลงหรือนิทานที่มีคำคล้องจอง จะทำให้เด็กๆ จะจดจำเรื่องราว และเนื้อร้องของเพลงได้ดีขึ้น นอกจากจะช่วยเสริมเรื่องความจำแล้วเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านภาษาอีกด้วยค่ะ
- นอนหลับพักผ่อน
การนอนหลับอย่างเพียงพอ นอกจากร่างกายจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว ยังเป็นช่วงเวลาที่สมองจะทำการบันทึกความจำลงในสมอง เมื่อตื่นมาจะทำให้สมองปลอดโปร่ง สามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆได้อย่างแม่นยำ
- ฝึกการจดบันทึกในเด็กโต
บ้านไหนมีเด็กโตลองใช้วิธีนี้ดูค่ะ เมื่อลูกได้เจอะเจอเหตุการณ์ต่างๆ ในแต่ละวัน ให้ลองชวนเด็กๆ มาจดบันทึกตามความถนัดของเขา อาจจะเป็นการบันทึกด้วยการวาดรูป หรือจดบันทึกเป็นเรื่องราวสั้นๆ ในภาษาของเด็กๆ เอง นอกจากจะช่วยเรื่องความจำ ยังช่วยเรื่องพัฒนาการทางภาษาอีกด้วย
เมื่อลูกลืมบ่อย พ่อแม่ควรทำอย่างไร?
เขียนเรื่องราวฝั่งของลูกไปเยอะแล้ว เรามาดูเรื่องของฝั่งคุณพ่อคุณแม่ดูบ้างว่าเราควรปฎิบัติตัวอย่างไร จะช่วยให้เด็กๆลืมน้อยลงบ้าง?
- อย่าโวยวายเกิน
การโวยวายนอกจากจะทำให้ลูกรู้สึกผิดแล้ว ยังทำให้ลูกกลัวจนลืมไปอีกว่าของนั้นหายไปได้อย่างไร และลืมมากขึ้น
- ให้ลูกตามหาของที่ลืม
เมื่อของหายอย่าหาให้ลูกเสียเอง แต่ควรสอนวิธีหาให้เขาก่อน เช่น เดินย้อนกลับไปตามทางเดิมที่เพิ่งมา หรือ สอบถามจากพนักงานที่ต่างๆ แต่ถ้าหาไม่เจอก็อาจให้ติดประกาศไว้ที่บอร์ด (กรณีหายที่โรงเรียน) หรือแจ้งที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อสอนให้ลูกรู้สึกว่าเขาต้องรับผิดชอบของชิ้นนั้น และเรียนรู้ขึ้นตอนที่จะรับมือเมื่อของหาย
- ไม่ซื้อของใหม่ให้ทันที
ถ้าลูกนึกไม่ออกว่าลืมของไว้ที่ไหน ก็ให้เขาใช้ของเก่าที่มีอยู่ให้นานขึ้นอีกนิด เพื่อให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลที่จะตามมา เพื่อไม่ปล่อยให้มันเกิดขึ้นอีก ให้ลูกรู้ว่านี่ไม่ใช่พฤติกรรมที่ควรทำ เพราะหากคุณพ่อคุณแม่รีบซื้อของใหม่ให้ ก็จะกลายเป็นว่าเขาสามารถลืมได้ เดี๋ยวพ่อแม่ก็หาของใหม่มาให้
นี่ล่ะค่ะแนวทางง่ายๆที่เราเสนอให้ลองใช้ดู ทั้งฝั่งเด็กๆ และฝั่งคุณพ่อคุณแม่ และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องไม่เป็นคนขี้ลืมเสียเอง เพราะนั่นจะทำให้เด็กๆคิดว่าการลืมไม่ใช่เรื่องใหญ่ และจะไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมในที่สุดค่ะ
บทความใกล้เคียง
เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย อันตรายไหมนะ

เรามักได้ยินกันว่าเด็กสมัยนี้โตไวกันจริง เป็นหนุ่มเป็นสาวกันไวเหลือเกิน ผู้ใหญ่หลายท่านก็คงคิดว่าลูกโตไว เป็นเรื่องดีไม่ใช่เหรอ แต่แท้จริงแล้วการเป็นหนุ่มเป็นสาวไวเกินควรนั้น เป็น “โรค” ที่น่ากลัวทีเดียวค่ะวันนี้เราจะพามารู้จักกับภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยหรือ ...
พัฒนาทักษะการคิดของลูกด้วย “วินัยเชิงบวก”

หากกล่าวถึง “การสร้างวินัยให้กับลูก” หลายคนคงนึกถึงการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด มีบทลงโทษเพื่อให้จดจำ เช่น การดุ การตีด้วยมือหรือไม้เรียว เพราะเชื่อว่าเมื่อเด็กรู้สึกเจ็บปวด พวกเขาจะไม่ทำพฤติกรรมเดิมอีก เหมือน “คำสั่ง” ที่พ่อแม่ผู้หวังดีเลือกใช้กับลูกของตัวเ ...
ถึงแม้โควิด-19 จะส่งผลให้หยุดอยู่บ้าน แต่พัฒนาการของลูกต้องไปต่อ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสถานการณ์ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคม หนึ่งในนั้นคือ “การหยุดอยู่บ้านเพื่อทำงานจากที่บ้าน” การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งถือเป็นการปรับตัวอย่างมากต่อการจัดกิจกรรมก ...