พระสร้างวิถีชีวิตใหม่ให้นักเรียนได้ (New Normal)
สถานการณ์จะเป็นแบบไหน ไม่สำคัญ แต่หัวใจพระพุทธศาสนาต้องเข้าถึงด้วยการปฏิบัติ
จับหัวใจ หลักการ เป้าหมาย ให้แน่นค่อยไปออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ให้เป็น Active learning (เรียนแบบใฝ่รู้/ฉันทะ)
อย่าสอนพระพุทธศาสนาโดยยึดหลักการตนเอง ที่ขาดการเชื่อมโยงกับหลักการพุทธศาสนา
อย่ายกห้องเรียนที่เคยสอนแบบท่องจำเนื้อหาไปไว้ที่วัด แล้วสอนด้วยเครื่องมือออนไลน์ แต่ใช้วิธีการแบบเดิมเหมือนที่ห้องเรียน
นั่นยิ่งตอกย้ำความทุกข์ในการเรียนมากขึ้น ยิ่งเป็นการบ่มเพาะมิจฉาทิฐิให้เด็กนักเรียน ให้มีท่าทีต่อพระพุทธศาสนา และคำสอนแบบผิดๆ
จากวิธีการออกแบบการสอนที่ผิดพลาด ที่เน้นสอนแต่เนื้อหาพาเด็กท่องจำตัวหนังสือ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความจริงของชีวิตที่ต้องเข้าถึงด้วยการปฏิบัติ
สถานการณ์โควิด เช่นนี้ บ้าน ครอบครัว วิถีชีวิตประจำวัน นักเรียนและการอยู่ด้วยกันของครอบครัว เฉกเช่นสมัยแต่ก่อน (แม้ไม่เท่าก็ตาม) คือ แหล่งเรียนรู้ความจริงทางพระพุทธศาสนา (Home-Based Learning) เป็นอย่างดี
คำถามคือ...ท่านจะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ให้เด็กปฏิบัติมีส่วนร่วม (Active learning) ได้อย่างไร แต่ยังคงยึดหลักเป้าหมายเพื่อพัฒนาปัญญาคุณธรรม และความสุขของเด็กนักเรียน
ท่านจะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์อย่างไรที่บูรณาการพระพุทธศาสนาเข้าในวิถีชีวิตนักเรียน แต่ยังคงยึดหลักเป้าหมายเพื่อพัฒนาปัญญาคุณธรรม และความสุขของเด็กนักเรียน
ท่านจะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์อย่างไรที่บูรณาการไตรสิกขา เข้าในชีวิตประจำวันของนักเรียน และอาจมีบางช่วงบางกิจกรรรมที่สามารถทำให้นักเรียน ผู้ปกครอง เรียนรู้ร่วมกัน จนกลายเป็น “ครอบครัวคุณธรรม” สานใยรักภายในครอบครัว แต่ยังคงยึดหลักเป้าหมายเพื่อพัฒนาปัญญา คุณธรรม และความสุขของเด็กนักเรียน
สุดท้ายฝากไว้เป็นกำลังใจครับ “หากเริ่มต้นความคิดด้วยคำว่า “มันยาก” คงล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำ” "หากเริ่มต้นด้วยการแสวงหา ปัญญาจะนำพาไปหาทางออกเสมอ"
“ไม่มีทักษะอะไรบนโลกใบนี้ที่ครอบครองไม่ได้ ถ้าเราอยากได้มันมากพอ” "ธรรมะ ความจริง ไม่แปรเปลี่ยน แต่วิธีการสอนสามารถเปลี่ยนเเปลงลงได้"
สถานการณ์โควิดเช่นนี้ คือ โอกาสที่พระสอนศีลธรรมจะสร้างวิถีชีวิตใหม่ให้กับเด็กนักเรียน (New Normal) ด้วยการออกแบบกิจกรรมออนไลน์ที่บูรณาการเข้าในวิถีชีวิตประจำวันของเด็กนักเรียน
Related Courses
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...
คุณสมบัติของครูในศตวรรษที่ 21
หลักสูตรสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และจั ...
เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่
การใช้คำถาม เครื่องมือ การนำเสนอ ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ มีส่วนสำคัญในการสร้างห้องเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้วิธีการถาม กา ...
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...