Learning Designer เทรนด์อาชีพใหม่ สำหรับคนอินด้านการเรียนรู้

Starfish Academy
Starfish Academy 1928 views • 8 เดือนที่แล้ว
Learning Designer เทรนด์อาชีพใหม่ สำหรับคนอินด้านการเรียนรู้

ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เชื่อว่าหลายๆ คนคงมีมุมมองในด้านของการจัดการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา คุณครู ชุมชน หรือผู้ปกครองเองก็ตาม ‘ทุกคนสามารถกลายเป็นผู้สร้างการเรียนรู้’ ได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนต้องเรียนหนังสือที่บ้าน เรียนออนไลน์ หรือว่าเรียนจากกล่องเรียนรู้ (Learning Box) ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบขั้นตอน การตั้งคำถาม การชวนกันทำ และสะท้อนผลกับนักเรียน ถึงแม้ว่าในบทบาทของผู้ปกครองหรือชุมชน อาจจะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบการเรียนรู้มาก่อน แต่ก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเหล่านี้ไม่มากก็น้อย

แรงสั่นสะเทือนจากผลกระทบของโควิดทำให้แนวคิด“การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ (Learning is Anywhere Anytime) ค่อยๆ ชัดเจนและเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น อีกทั้ง รูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่เข้ามาบทบาทในชีวิตอย่างมาก เช่น เกิดคอร์สเรียนออนไลน์มากมายที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เกิดชุมชนการเรียนรู้ที่ไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น เกิดสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ เช่น podcast หรือ เกมการศึกษาตามแอปพลิเคชันต่างๆ สิ่งเหล่านี้ถูกสร้างและออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง และตอบโจทย์การเรียนรู้แบบ personalized learning สำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายและพร้อมเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต

แล้วใครกันล่ะ ? ที่เป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้เหล่านี้ ?

วันนี้ Starfish จึงพามารู้จักอาชีพ Learning Designer หรือนักออกแบบการเรียนรู้ ซึ่งมีบทบาทมากขึ้นในยุคปัจจุบัน พบได้ในอุตสาหกรรมการศึกษา ด้านผลิตสื่อการเรียนรู้ ออกแบบกระบวนการอบรม , ในบริษัทเอกชน ด้านสายงาน HRD, Training and Development ต่างๆ หรือแม้แต่กระทั่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่จะต้องออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อตอบโจทย์การใช้งานลูกค้า เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาชีพ Learning Designer สามารถพบได้หลายอุตสาหกรรม หลายสาขา นี่คือความแตกต่างหากเราจะจำกัดนิยามว่า Learning Designer เท่ากับอาชีพครู หรือนักการศึกษา ซึ่งอาจไม่เป็นความจริง เพราะ Learning Designer สามารถผันตัวเองมาเป็นครูได้ แต่ไม่ได้ความว่าครูทุกคนจะมีทักษะของการเป็น Learning Designer เป็นต้น

คำนิยามของ Learning Designer คืออะไร ?

ไม่มีคำนิยามที่ตายตัวสำหรับอาชีพนี้ ขึ้นอยู่กับกลุ่มสายงานและผู้ประกอบอาชีพนั้นจะให้นิยามว่าอย่างไร แต่แนวคิดหลักของการเป็น Learning Designer คือ การออกแบบการเรียนรู้ หรือประสบการณ์ให้เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียน ยึดความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก โดย Learning Designer ต้องมีเป้าหมายว่าผู้เรียนจะต้องได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทั้งองค์ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตได้ เน้นที่การสร้างประสบการณ์ตรงให้กับผู้เรียน ดังนั้น อาชีพนักออกแบบการเรียนรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน ต้องมีตัวชี้วัด หรือต้องทำตามหลักสูตรเท่านั้น แต่หมายถึงการออกแบบประสบการณ์ชีวิตให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาและได้เครื่องมือบางอย่างกลับไปใช้ในชีวิตได้จริง

Learning Designer ต้องทำอะไรบ้าง ?

  1. รู้จักและวิเคราะห์ pain point ของผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการ หรือมีปัญหาอะไรที่อยากแก้ไข
  2. วางแผนและเป้าหมายของการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ หรือสามารถแก้ไข pain point ได้
  3. ออกแบบวิธีการที่จะพาผู้เรียนไปถึงเป้าหมาย (Learning Process) เช่น ใช้กิจกรรม ใช้ Game Based-Learning หรือจะใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นต้น
  4. เตรียมอุปกรณ์/เตรียมสถานที่ เพื่อเอื้ออำนวยการเรียนรู้
  5. ออกแบบการวัดและประเมิน กระบวนการนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับอาชีพนักออกแบบการเรียนรู้ รูปแบบของการวัดและประเมินผลอาจจะมีหลากหลายแพลตฟอร์มได้ แต่นักออกแบบการเรียนรู้จะต้องคิดเสมอว่า “ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่เราออกแบบหรือไม่” “และถ้าบรรลุ วัดผลได้อย่างไร ด้วยเครื่องมืออะไร”

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเป็นนักออกแบบการเรียนรู้ ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคที่การเรียนรู้ได้เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ รูปแบบการทำงาน หรือหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละองค์กรก็อาจจะแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น ใครอยากเริ่มต้นทำอาชีพนี้ให้ลองถามตัวเองเบื้องต้นก่อนว่า

1. เราชอบสอนหรือช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องยากๆ ใช่หรือไม่

2. เรารู้สึกดีเมื่อผู้อื่นสามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้จากการช่วยเหลือของเรา หรือจากการอธิบายของเรา

3. เราชอบการออกแบบ หรือการวางแผนการสอนต่างๆ

หากเราลองถามตนเองแล้วพบคำตอบว่า ใช่ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาโอกาสเพื่อไปทดลองทำอาชีพนักออกแบบการเรียนรู้ดูก่อน ซึ่งสามารถหาข้อมูลอาชีพนี้เพิ่มเติมได้ในอินเทอร์เน็ต และในประเทศไทยเองก็มีคนริเริ่มทำอาชีพ Learning Designer มาแล้วเหมือนกัน

อ้างอิง

How to become a Learning Designer in 5 steps https://shorturl.at/pr379

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Starfish Academy

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Starfish Academy
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1640 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:30 ชั่วโมง

Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ

Google Sites ช่วยทำเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องรู้วิธีเขียนโค้ด และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์โดยไม่ต้องมีความรู้มากในด้าน ...

Google for Education Partner
Google for Education Partner
Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ
Google for Education Partner

Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ

Google for Education Partner

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
3:00 ชั่วโมง

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
6083 views • 2 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
304 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day
06:05
Starfish Academy

เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day

Starfish Academy
184 views • 1 ปีที่แล้ว
เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
02:33
Starfish Future Labz

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

Starfish Future Labz
50235 views • 2 ปีที่แล้ว
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO