How to ออกแบบ Portfolio ยังไงให้โดนใจกรรมการ!

พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) คือ ชิ้นงานที่สำคัญสำหรับนักเรียนที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย หรือนักเรียนที่จะต้องสมัครเรียนที่โรงเรียนใหม่ เพราะนอกจากการยื่นคะแนนสอบและการสอบสัมภาษณ์แล้ว พอร์ตโฟลิโอ คือ ตัวแทนของนักเรียน ที่แสดงถึงภูมิหลังครอบครัว ลักษณะนิสัย พฤติกรรม แนวคิดมุมมองต่างๆของนักเรียน ผ่านการเก็บสะสมผลงาน จากกิจกรรมที่เคยได้ทำมานำรวบรวมอยู่ในพอร์ตโฟลิโอนี้
แต่การออกแบบพอร์ตโฟลิโอ ไม่จำเป็นที่นักเรียนจะต้องนำทุกผลงานมาใส่ไว้จนเต็ม แต่กลับไม่สามารถแสดงถึงตัวตนของนักเรียนได้เลย ดังนั้น นักเรียนจึงต้องรู้ก่อนว่า เป้าหมายของการออกแบบพอร์ตโฟลิโอมีอะไรบ้าง ดังนี้
- เพื่อแสดงการเติบโตของตนเองในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น การเพิ่มขึ้นของคะแนนสอบ การมีทักษะที่ดีขึ้นในหลายๆ ด้าน
- เพื่อระบุทักษะที่ได้พัฒนา เช่น การมีทักษะด้านดนตรี ทักษะด้านการวาดรูป เป็นต้น
- เพื่อเก็บหลักฐาน หรือผลงานที่จับต้องได้ ให้แก่ผู้ปกครองและกรรมการได้เห็น
- เพื่อรวบรวมผลงานที่สะท้อนถึงการเติบโตและการเรียนรู้
- เพื่อสร้างความรับผิดชอบในการเก็บสะสมผลงานของตนเอง
เมื่อนักเรียนรู้เป้าหมายของการออกแบบพอร์ตโฟลิโอแล้ว วันนี้ Starfish Labz มาแนะนำวิธีการในการสร้างพอร์ตฟอลิโอที่โดนใจกรรมการ ด้วย 10 วิธีต่อไปนี้
- อ่านเกณฑ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยให้ละเอียด เพราะทุกๆ มหาวิทยาลัยมีข้อกำหนดเฉพาะของตนเองสำหรับการรับนักเรียนผ่านการยื่นพอร์ตฟอลิโอ เช่น หัวข้อของพอร์ตโฟลิโอจะต้องมีอะไรบ้าง จำนวนชิ้นงานในแต่ละหัวข้อ ลักษณะของกิจกรรมต่างๆ นักเรียนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าการส่งพอร์ตฟอลิโอของนักเรียนครบ และถูกต้องตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยนั้นทุกประการ
- จัดองค์ประกอบของพอร์ตโฟลิโอให้เป็นระบบ เพราะการจัดองค์ประกอบของพอร์ตโฟลิโอจะทำให้กรรมเห็นถึงทักษะการนำเสนอของนักเรียน เช่น จัดกิจกรรมออกเป็นหมวดๆ หมวดกิจกรรมภายในโรงเรียน แยกออกจากกิจกรรมภายนอกโรงเรียน / สิ่งที่ได้เรียนรู้จากแต่ละกิจกรรม เป็นต้น
- เขียนให้ชัดเจนและลงรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม เช่น นักเรียนควรระบุชื่อกิจกรรม วันเวลา สถานที่ที่จัดกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เห็นถึงข้อเท็จจริงของภาพแต่ละภาพที่นำเสนอ
- เตรียมพร้อมสำหรับการอธิบายชิ้นงานแต่ละชิ้น เพราะพอร์ตฟอลิโอจะถูกนำมาใช้ไปพร้อมกับการสัมภาษณ์ ดังนั้น นักเรียนควรจดจำรายละเอียดของแต่ละชิ้นงานที่ทำให้ได้ จดจำขั้นตอน ที่มาที่ไปของงานแต่ละชิ้น เพื่อที่จะอธิบายได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น
- เล่า/อธิบายงานแต่ละชิ้นให้ประทับใจ การเล่าเรื่องเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้กรรมการประทับใจ ดังนั้น นักเรียนควรจะต้องฝึกทักษะการเล่า โดยเล่าจากสิ่งที่ได้ทำจริง หลังจากนั้นก็เล่าความรู้สึกของตนเอง เช่น ความรู้สึกต่อกิจกรรมที่ทำ เล่าเหตุผลว่าทำไมถึงทำกิจกรรมนั้น เพื่อให้กรรมการเห็นถึงแรงบันดาลใจของเรา หรือถ้าไม่ได้ใช้วิธีการเล่า ก็อาจจะเขียนให้เห็นถึงภาพบรรยากาศที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมนั้นให้ได้มากที่สุด
- อย่าใส่ชิ้นงานที่มากเกินไป ชิ้นงานเป็นสิ่งที่บ่งบอกความสามารถและตัวตนของเรา ดังนั้นนักเรียนไม่ต้องกังวลว่าชิ้นงานจะน้อยไป หรือมากไป แต่ขอให้เลือกชิ้นงานที่มีความโดดเด่น และนักเรียนสามารถเล่าชิ้นงานนั้นได้ดี เพื่อให้กรรมการจับประเด็นใจความสำคัญได้
- รับคำแนะนำจากคนนอก หลังจากที่นักเรียนทำพอร์ตโฟลิโอเสร็จแล้ว ลองให้ครูที่ปรึกษา เพื่อน หรือพ่อแม่ดูว่ามีอะไรที่จะต้องใส่เพิ่มเติมอีกไหม หรือยังไม่เข้าใจส่วนไหน เพื่อเป็นการให้นักเรียนได้ขยายมุมมอง และทำให้พอร์ตฟอลิโอของนักเรียนดูดีขึ้น
- แสดงทักษะที่มหาวิทยาลัยต้องการ ในพอร์ตฟอลิโอของนักเรียน จะต้องมีหนึ่งพาร์ทที่แสดงผลงาน หรือทักษะตามที่คณะกำหนด เช่น อยากเข้าคณะนิเทศศาสตร์ นักเรียนจะต้องมีกิจกรรมที่เคยไปแสดงละคร หรือไปเรียนเกี่ยวกับการแสดงละครหลากหลายประเภทมาก่อน เป็นต้น
- แทรกแนวคิดของตนเองในผลงาน การสร้างพอร์ตฟอลิโอให้น่าสนใจ ไม่ดูแห้งแล้งและจืดชืด ดังนั้น ในทุกๆ ผลงานนักเรียนควรใส่แนวคิด หรือความคิดเห็นของนักเรียน เพื่ออธิบายถึงประสบการณ์ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ เพื่อให้กรรมการเห็นได้เห็นความคิดเบื้องหลังของนักเรียน ไม่ควรใส่แค่ชื่อกิจกรรมเท่านั้น
- เล่าเรื่องการพัฒนาตนเอง ในพอร์ตฟอลิโอ สิ่งหนึ่งที่กรรมการมักจะมองหาจากผู้สมัครก็คือ การไม่หยุดพัฒนาตนเอง เพราะฉะนั้น ในแต่ละชิ้นงาน นักเรียนควรวิเคราะห์ถึงจุดเด่น และจุดที่ยังต้องพัฒนาของตนเอง เพื่อให้กรรมการเห็นว่านักเรียนมีความกล้าที่จะวิเคราะห์ผลงานตนเอง และพร้อมที่จะเปิดรับ แก้ไข พัฒนาชิ้นงานให้ดีขึ้นต่อไป
การออกแบบพอร์ตฟอลิโอให้โดนใจกรรมนั้น คงไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากนักสำหรับนักเรียน หากนักเรียนเริ่มต้นทยอยเก็บสะสมผลงานไว้ตั้งแต่แรก และลองนำมาจัดองค์ประกอบ และเพิ่มเติมบางอย่างจากวิธีการ 10 ข้อ ที่ Starfish นำมาให้ เพียงเท่านี้ พอร์ตฟอลิโอของนักเรียนก็จะโดนใจกรรมการแน่นอนค่ะ !
อ้างอิง
Top 10 tips for creating the best art portfolio
Student Portfolio Ideas & Examples
บทความใกล้เคียง
Related Courses
รอบรู้เรื่องการเงินฉบับรวบรัด
อยากเก็บเงินได้ มีเงินใช้ครบเดือน และมีชีวิตที่ดีตอนเกษียณ แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มทำอย่างไร Starfish Labz มีคำตอบให้คุณกับคอร์ส ...



ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรทำอย่างไร
วัยรุ่น คือ วัยที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพัฒนาการของร่างกาย ความคิด สุขภาวะจิตที่แตกต่างไปจากเด็ก ในขณะที่ ...



How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...



เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...



เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Related Videos


พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21


10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO


ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

