10 ข้อดีที่ Portfolio ส่งเสริมทักษะให้แก่นักเรียน

การสร้างแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) กลายเป็นหนึ่งภารกิจหลักของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาไปเลย เพราะแฟ้มสะสมผลงานจะกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญที่แสดงถึงกิจกรรมและความสำเร็จของนักเรียนในช่วงเวลาหนึ่ง และรูปแบบของแฟ้มสะสมผลงานอาจจะมีหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น แฟ้มสะสมผลงานที่นักเรียนเลือกผลงานที่ดีที่สุดนำมาโชว์ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเรียนรู้ (Showcase Portfolio) หรืออีกประเภท คือ แฟ้มสะสมผลงานที่นักเรียนเลือกแสดงถึงหลักฐานการเติบโต หรือการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป เป็นแฟ้มสะสมผลงานที่เน้นเก็บกระบวนการเรียนรู้ (Development Portfolio)
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แฟ้มสะสมผลงานทั้งสองประเภทต้องการให้นักเรียนเขียนเรียงความสะท้อนความคิด หรือบันทึกเพื่ออธิบายให้อาจารย์ และผู้ประเมินเห็นว่าเกิดความสำเร็จ/เกิดการเรียนรู้/การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในเชิงความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ และการอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงอยากเข้าที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้
ด้วยอาจารย์หรือผู้ประเมินที่ต้องการเห็นความสามารถและประสบการณ์ของนักเรียน ทำให้แฟ้มสะสมผลงานกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการคิด การสื่อสาร การเล่าเรื่อง หรือการตัดสินใจเลือกผลงานลงในแฟ้ม จนกระทั่งกลายเป็นแฟ้มสะสมผลงานที่ดีที่สุดของนักเรียน
วันนี้ Starfish Labz ขอนำเสนอ 10 ข้อดีที่การทำ Portfolio จะช่วยพัฒนาทักษะของนักเรียนได้
- ฝึกให้นักเรียนตั้งเป้าหมายเป็นว่าจะนำเสนอแฟ้มสะสมผลงานของตัวเองอย่างไร (Setting Goal and Purpose)
- ฝึกให้นักเรียนได้สะท้อนการเรียนรู้ของตนเองอย่างเป็นระบบ (Reflection) และทำให้นักเรียนได้เข้าใจตัวเองในสิ่งที่เรียนรู้ และต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม
- ฝึกให้นักเรียนได้นำเสนอความพยายาม ความก้าวหน้า ที่ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องให้เป็นรูปธรรม จับต้องได้
- ฝึกให้นักเรียนได้คิดอย่างเป็นระบบ เพราะแฟ้มสะสมผลงานที่ดีควรรวบรวมรายการในการสะสมผลงานอย่างเป็นระบบ มีจุดมุ่งหมายและมีความหมาย
- ฝึกให้นักเรียนได้ ‘เลือก’ และ ‘ตัดสินใจ’ ว่าผลงานไหนที่จะนำมาใส่แฟ้มสะสมผลงาน แล้วแสดงขึ้นศักยภาพและการเรียนรู้ของนักเรียนมากที่สุด
- ฝึกให้นักเรียนประเมินผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของตัวเอง
- ฝึกให้นักเรียนเกิดทักษะการเป็นนักเล่าเรื่อง (Storytelling) ในการสื่อสารความสำเร็จของตนเอง
- ฝึกให้นักเรียนเกิดทักษะการออกแบบและการเขียน ในดีไซน์แฟ้มสะสมผลงานให้ผู้อื่นอ่านได้ง่าย มีภาพและตัวอย่างประกอบที่เข้ากับเนื้อหา
- ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ไปทำ ฝึกเก็บผลงานของตนเอง ไม่ทิ้งขว้าง
- ฝึกให้นักเรียนได้ชื่นชม และเห็นคุณค่าผลงานและการเรียนรู้ที่ผ่านมาของตนเอง
จะเห็นได้ว่าเมื่อนักเรียนเริ่มเก็บสะสมผลงาน นักเรียนจะได้ฝึกทักษะ 10 ข้อนี้ไปโดยอัตโนมัติ และที่สำคัญการเริ่มฝึกเก็บผลงาน นอกจากการเป็นเอกสารประกอบการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแล้ว ยังเป็นการฝึกเตรียมพร้อมกับการเข้าสมัครงานและมีทักษะการทำ Resume ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ได้เลยในอนาคต
หากนักเรียนต้องการเครื่องมือในการสร้างแฟ้มสะสมผลงานที่สะดวก มี template ให้ และสามารถดาวน์โหลดเป็น PDF ได้เลย สามารถทดลองใช้ Feature Starfish Portfolio ได้ที่ www.starfishlabz.com คลิก Profile > My Portfolio
อ้างอิง
- The Use of Portfolio to Assess Student’s Performance
- Student Portfolios as an Assessment Tool
- Using Portfolios in Program Assessment
Related Courses
รอบรู้เรื่องการเงินฉบับรวบรัด
อยากเก็บเงินได้ มีเงินใช้ครบเดือน และมีชีวิตที่ดีตอนเกษียณ แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มทำอย่างไร Starfish Labz มีคำตอบให้คุณกับคอร์ส ...



ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรทำอย่างไร
วัยรุ่น คือ วัยที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพัฒนาการของร่างกาย ความคิด สุขภาวะจิตที่แตกต่างไปจากเด็ก ในขณะที่ ...



How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...



เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...



เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Related Videos


พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21


10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO


ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

