“โตขึ้นอยากเป็นอะไร? ”เป็นคำถามที่ผู้ใหญ่มักถามเด็ก ๆ อยู่เสมอ อาจมีทั้งเด็ก ๆ ที่ตอบได้ว่าในอนาคตพวกเขาอยากเป็นหมอ, อยากเป็นวิศวกร หรืออยากเป็นผู้กำกับ แต่อาจมีเด็ก ๆ บางคนยังไม่รู้ว่าในอนาคตนั้นพวกเขาอยากมีอาชีพอะไร และหน้าที่การสานฝันให้กับเด็ก ๆ นั้นนอกจากครอบครัวแล้ว คนที่สำคัญอีกคนก็คงจะเป็น “ครู” ซึ่งการหาคำตอบให้กับเด็ก ๆ นั้นไม่สามารถบอกพวกเขาได้โดยตรงแต่คำตอบนั้นอยู่ในตัวพวกเขา ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ทำ ได้เรียนรู้จะส่งผลให้พวกเขาพบคำตอบในการค้นหาตัวเอง
ตามหลักทฤษฎีการเลือกอาชีพของ John L. Holland กล่าวว่า “การสังเกตบุคลิกภาพของตัวเอง สามารถค้นหาอาชีพที่เหมาะสมได้ โดยมี 6 ประเภท”
ด้าน Social หรือการพบปะผู้คน กลุ่มนี้จะไม่ค่อยชอบงานที่เกี่ยวกับเครื่องยนตร์ แต่จะชอบงานด้านการบริการ สามารถสังเกตได้จากการชอบช่วยเหลือผู้อื่น การพูดคุย หรือการเข้าสังคมของเด็ก ๆ อาชีพที่เหมาะสมกับด้านนนี้ก็จะมี หมอ ครู ประชาสัมพันธ์ นักฝึกอบรม มัคคุเทศก์ กลุ่มงานโรงแรม เป็นต้น
ด้าน Investigate หรือ การวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และช่างสังเกต กลุ่มนี้จะชอบงานวิชาการ ชอบอะไรที่ค่อนข้างซับซ้อน ท้าทาย ชอบด้านวิทยาศาสตร์และคำนวณ โดยเฉพาะได้ได้วิเคราะห์ได้แก้ปัญหา ไม่ชอบการเข้าสังคม อาชีพที่เหมาะสมจะมี นักวิจัย นักวิชาการ หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์คำนวณ เป็นต้น
ด้าน Realistic หรือ การชอบใช้เครื่องมือ การชอบใช้เครื่องมือในที่นี้หมายถึงเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กลุ่มงานช่าง ชอบการลงมือทำ ไม่ชอบการเข้าสังคมสักเท่าไหร่ อาชีพที่เหมาะสมจะมี สถาปนิก นักประดิษฐ์ เกษตรกร หรือ วิศวกร เป็นต้น
ด้าน Enterprising หรือ การชอบด้านการวางแผน และกล้าแสดงออก กลุ่มนี้จะชอบวางแผน ชี้นำ หรือมีความเป็นผู้นำ มีความสามารถในการโน้มน้าว อาชีพที่เหมาะสมจะมี นักการตลาด ทนายความ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ เป็นต้น
ด้าน Convention หรือ การชอบด้านงานเอกสาร หรือตัวเลข กลุ่มนี้จะละเอียด รอบคอบ เป็นระเบียบ มีความตรงไปตรงมา และจะไม่ค่อยมีหัวทางด้านศิลปะ อาชีพที่เหมาะสมจะมี นักธุรกิจ นักบัญชี เป็นต้น
ด้าน Artistic หรือ การมีความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มนี้จะมีอารมณ์ศิลปิน ชอบการแสดงออก รักอิสระ ไม่ค่อยเป็นระเบียบ และมีความคิดสร้างสรรค์ แต่จะไม่ชอบอะไรที่อยู่ในระเบียบมากจนเกินไป อาชีพที่เหมาะสมจะมี นักดนตรี ศิลปิน/นักแสดง นักออกแบบ เป็นต้น
แน่นอนว่าทั้ง 6 ด้านเหล่านี้ไม่สามารถวัดได้ภายในกิจกรรมเดียว แต่ต้องค่อย ๆ ให้เด็ก ๆ ค้นหาตัวเองผ่านการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมไปถึงการพูดคุยระหว่างคุณครูกับเด็กด้วย นอกจากครูจะคอยสังเกตพฤติกรรม หรือวัดผลจากการเรียนรู้แล้ว การพูดคุยคอยแนะแนวและให้คำปรึกษานี่แหละสำคัญกับเด็กที่สุด
บทความใกล้เคียง
เพิ่มทักษะภาษาที่สองอย่างเป็นธรรมชาติ ผ่านชีวิตประจำวัน

ความสามารถทางภาษา ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญในโลกยุคใหม่ นอกจากการฝึกใช้ภาษาแม่ให้แตกฉานทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จแล้ว การเรียนรู้ภาษาที่สอง ก็สำคัญค่ะ เพราะโลกที่เชื่อมถึงกันได้เพียงปลายนิ้ว ผู้ที่มีทักษะทางภาษาหลากหลาย ย่ ...
5 ไอเดียสร้างห้องเรียนแห่งความตระหนักรู้ทางสังคม

เมื่อโลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สังคมเริ่มเปิดกว้าง และความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องอาศัยทักษะการอยู่ร่วมกับผู้คนที่มีทั้งเหมือน และแตกต่างจากตัวเอง ดังนั้น ทักษะการตระหนักรู้ทางสังคม และวัฒนธรรม (Social and Cultural Awareness) เลย ...
ชวนครูมาออกแบบ “ห้องเรียนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

“ห้องเรียนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้” หรือ “Collaborative Classroom” คือ ห้องเรียนแห่งการแลกเปลี่ยน และสร้างสรรค์ไอเดียต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นไปพร้อมกับแบ่งปันไอเดียของตัวเอง เพื่อนำมาต่อยอด สร้างสรรค์ หรือแก้ปัญหา เรียก ...