เมื่อเครื่องมือครูอย่างเดียวอาจไม่พอ: 5 หลักการสำคัญ ช่วยครูวัดและประเมินผลอย่างเกิดคุณค่า

Starfish Academy
Starfish Academy 888 views • 1 ปีที่แล้ว
เมื่อเครื่องมือครูอย่างเดียวอาจไม่พอ: 5 หลักการสำคัญ ช่วยครูวัดและประเมินผลอย่างเกิดคุณค่า

การมีเครื่องมือครูอย่างเครื่องมือช่วยประเมินคู่ใจดี ๆ สักเครื่องมือหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงแค่ก้าวแรกเท่านั้นในภารกิจ และกระบวนการ การประเมินของคุณครูเพราะนอกเหนือจากเครื่องมือ อีกหนึ่งหัวใจสำคัญก็คือหลักการหรือแนวทางการใช้เครื่องมือช่วยประเมินดังกล่าวอย่างให้เกิดผลและคุณประโยชน์ที่สุด

ในบทความนี้ Starfish Labz จึงขอทำหน้าที่ศึกษา รวบรวม และสรุป 5 หลักการสำคัญในการใช้งานเครื่องมือช่วยประเมินมาฝากคุณครูทุกคนกัน จะมีหลักการ แนวทาง หรือแนวคิดใดที่สำคัญกันบ้าง มาลองเรียนรู้และทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันในบทความนี้กันเลยค่ะ

5 หลักการสำคัญ ช่วยครูวัดและประเมินผลอย่างเกิดคุณค่า

1. ใช้เครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพ  รูปร่างหน้าตาใช้งานง่าย มีทุกฟีเจอร์ในการช่วยประเมินอย่างครบครัน

การใช้งานเครื่องมือช่วยประเมินจะเป็นไปอย่างราบลื่น และมีประสิทธิภาพไม่ได้เลยหากไม่ได้เริ่มด้วยเครื่องมือที่ใช่ ในหลักการแรก สิ่งสำคัญจึงคือการเสาะหา และเลือกเครื่องมือช่วยประเมินที่มีคุณภาพ และใช่อย่างแท้จริงเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือของต่างประเทศอย่าง ASSISTments, Edupuzzle, Edulastic หรือของประเทศไทยอย่าง Starfish Class หัวใจสำคัญของการเลือกเครื่องมือที่ใช่ คือการเลือกเครื่องมือที่ตรงต่อความต้องการของเราอย่างแท้จริงทั้งในเรื่องของหน้าตาการใช้งาน (UX/UI), ฟีเจอร์ที่มีให้เลือกใช้ และความน่าเชื่อถือ ความต่อเนื่องในการพัฒนาของผู้พัฒนาหรือความมุ่งมั่น จริงจัง ใส่ใจในการพัฒนาของผู้พัฒนานั่นเองค่ะ

โดยตัวอย่างเครื่องมือที่มีคุณภาพ เช่น Starfish Class ที่มีทั้งหน้าตาการใช้งานที่สะดวกเรียบง่าย มีฟีเจอร์การประเมินครบครัน และยังได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยตรงโดย ผู้พัฒนาของ Starfish Education ทำให้ตัวเครื่องมือทั้งในรูปของแอปพลิเคชันและเว็บไซต์มีความสเถียร เชื่อถือได้ และมั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้งานได้อย่างยาวๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะมีปัญหาอย่างระบบการใช้งานขัดข้อง ข้อมูลเด็กหาย หรือไปจนถึงการตัดสินใจหยุดพัฒนา ปิดการใช้งานอย่างกะทันหัน ฯลฯ นั่นเอง

2. มีรูปแบบหรือแผนการประเมินอย่างชัดเจน (วัตถุประสงค์, รูปแบบการประเมินที่เหมาะสม, กิจกรรมหรือวิธีการสอนที่เลือกใช้สอดคล้องและจะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นสมรรถนะดังกล่าวได้อย่างชัดเจนหรือไม่)

หากปราศจากรูปแบบหรือแบบแผนการประเมินที่เราได้วาง กำหนด หรือออกแบบเอาไว้ก่อน ต่อให้เราเลือกใช้เครื่องมือที่เยี่ยมยอดเพียงใด ท้ายที่สุดแล้ว ก็จะกลายเป็นการประเมินอย่างสะเปะสะปะ ไม่ต่อเนื่อง ไม่สม่ำเสมอ และไม่สามารถให้ผลลัพธ์การประเมินที่จะช่วยให้เกิดคุณประโยชน์ที่สุดต่อทั้งตัวเราและเด็กๆ

ในหลักการที่สองของการประเมินและการใช้เครื่องมือประเมินจึงคือการมีแผนการประเมินของเราอย่างจริงจังควบคู่นั่นเองค่ะ โดยแผนการประเมินอย่างจริงจังที่ว่านี้ก็คือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับเส้นทาง (journey) ในการสอนและการประเมินของเราในภาคการศึกษานั้นๆ ตั้งแต่วิธีการสอนที่เราเลือกใช้, รูปแบบการประเมินที่เราจะใช้, วัน-เวลาที่เราจะลงมือประเมินจริง ผ่านกิจกรรมหรือแบบทดสอบต่างๆ, และวัน-เวลาที่เราจะกลับมาให้หรือบันทึกคะแนนการประเมินจริงในตัวแอปพลิเคชันหรือเครื่องมือ เป็นต้น

3. ลองใช้รูปแบบการประเมินที่หลากหลาย สมัยใหม่และสนุกสนาน

นอกเหนือจากรูปแบบการประเมินอย่างเป็นทางการหรือเชิงวิชาการเช่น Formative, Summative และ Diagnostic แล้ว อีกหนึ่งรูปแบบที่กำลังเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลก็คือในรูปแบบ Non-Academic and Fun หรือรูปแบบการประเมินที่ไม่จำเป็นต้องมีความวิชาการ เน้นรูปแบบการการประเมินใหม่ๆ ที่สนุกสนาน เช่น การประเมินผ่านเครื่องมือทางเทคโนโลยีเรียนรู้เชิงเกม (Gamification) อย่าง Kahoot!

หัวใจสำคัญของการใช้รูปแบบการประเมินในลักษณะนี้ มีเพียงแค่ว่าต้องสามารถตอบสนองความต้องการในประเมินของคุณครูได้อย่างแท้จริง นอกจากสนุก ไม่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องวิชาการแล้ว สามารถช่วยให้คุณครูมองเห็นทักษะ พัฒนาการ หรือสมรรถนะของเด็กๆ ได้จริงไหม เห็นอย่างไร คุณภาพของกระบวนการดีเพียงพอหรือไม่ต่อการนำมาพัฒนาหรือต่อยอดเป็นผลการประเมินจริง

4. คำนึงถึงความจริง ความยุติธรรม และความโปร่งใสในการประเมิน

อาจฟังดูเหมือนเป็นปัญหาที่คงเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะคุณครูทุกคนย่อมอยากให้การประเมินตามความจริง ยุติธรรม และโปร่งใสให้กับเด็กๆ ทุกคนอยู่แล้ว แต่ในกระบวนการจริง แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่จากความตั้งใจของคุณครู แต่จากปัจจัยหลายอย่างทั้งความยากในการสังเกตพัฒนาการของเด็กๆ ความเหน็ดเหนื่อยในการวัดผลแต่ละที และความละเอียดอ่อนในการประเมินเล็กๆ น้อยๆ ต่างที่ในหลายๆ ครั้งก็ก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่าความคลาดเคลื่อนในการประเมิน

ในภารกิจการประเมินของคุณครูนั้น นอกเหนือจากการวางแผนรูปแบบการประเมินต่างๆ จึงควรเผื่อเวลาและใส่ใจถึงความจริง ความยุติธรรม และความโปร่งใสในการประเมินอยู่เสมอ เพราะปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของผลการประเมิน ยิ่งคุณครูสามารถประเมินผลตามความจริงได้มากเพียงใด ก็ยิ่งสามารถนำผลไปต่อยอดและพัฒนาเพิ่มเติมให้เด็กๆ ได้ดียิ่งขึ้น

5.  ผลการประเมินที่ได้มา นำมาใช้ต่ออย่างคุ้มค่า เข้าใจว่าผลการประเมินที่มีคุณภาพคือทรัพยากร และขุมทรัพย์อันล้ำค่าสำหรับทั้งคุณครูและเด็กๆ

เมื่อประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว นอกเหนือจากส่งผลต่ออย่างเป็นทางการให้กับทางสถาบันหรือโรงเรียน อีกหนึ่งสิ่งที่คุณครูสามารถทำได้ก็คือการนำผลดังกล่าวมาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ ปรับเป็น Feedback ที่ดีให้กับเด็กๆ ตลอดจนนำผลการประเมินมา

ทบทวน ดูจุดที่อาจจะยังขาด คลาดเคลื่อน หรือมีข้อบกพร่อง เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาในภาคการศึกษาต่อไป

สรุป (Key Takeaway)

การประเมินอย่างมีประสิทธิภาพควรเริ่มจากการมีเครื่องมือที่ดี เลือกเครื่องมือครูที่ใช่ มีแบบแผนการประเมินอย่างชัดเจน หลากหลาย สนุกสนาน ประเมินตามข้อเท็จจริง หลักฐานการพัฒนาของเด็กๆ ที่จับต้องหรือเชื่อถือได้ และในท้ายที่สุดคือ มองเห็นถึงคุณค่าของผลการประเมินที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนา ให้กับทั้งตัวเด็ก และการพัฒนาการเรียนการสอนของคุณครู 

อ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
Starfish Academy

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6823 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
0:30 ชั่วโมง

เครื่องมือช่วยวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์

การวัดผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการอำนวยความสะดวก ลดภาระงานเอกสาร และการประม ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
เครื่องมือช่วยวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์
Starfish Future Labz

เครื่องมือช่วยวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์

Starfish Future Labz
1062 ผู้เรียน

Related Videos

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
7222 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
390 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
สร้างการเรียนรู้แบบ Active learning ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัดเกณฑ์ PA
03:25
Starfish Academy

สร้างการเรียนรู้แบบ Active learning ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัดเกณฑ์ PA

Starfish Academy
730 views • 1 ปีที่แล้ว
สร้างการเรียนรู้แบบ Active learning ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัดเกณฑ์ PA
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
933 views • 2 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ