PA Live Talk วPA กับบริบทของห้องเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
Starfish Talk แบ่งปันไอเดีย สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA ในหัวข้อ “วPA กับบริบทของห้องเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย” ในวันอังคารที่ 9 เมษายน 2567 เวลา 19.00-20.00 น.โดยมีแขกรับเชิญ ดังนี้
- คุณครูพรรณนิดา เร็วเรียน ครูศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอนสัก สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- คุณครูกัญญาภัค ชื่นจิตร์ ครูชำนาญการ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสรรพยา สังกัดการเรียนรู้จังหวัดชัยนาท
โดยมี นายตะวัน แสงทอง (ครูโทนี่) รองผู้อำนวยการโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้ดำเนินรายการ
ในบทความนี้ถอดองค์ความรู้ที่สำคัญสำหรับบริบทของห้องเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
บริบทของหลักสูตรและความรับผิดชอบของสกร. อำเภอ สรรพยา
รับผิดชอบอยู่ 7 ตำบล แบ่งกันเป็นโซนออกเป็น 4 และ 3 ตำบล นักศึกษามีความหลากหลายตั้งแต่อายุ 13-70 ปี ซึ่งระดับชั้นประถม ก็ไม่ได้มีอายุเหมือนประถมศึกษาตามการเรียนปกติ แต่ผู้เรียนจะมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป นักศึกษาต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นให้นักศึกษาใฝ่เรียน ใฝ่รู้ด้วยตนเอง โดยการจัดการเรียนการสอน มีครู 1 คน และรายวิชาเรียนก็จะไม่เหมือนกัน มีหลักในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษา คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และนักศึกษาต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นให้นักศึกษาใฝ่เรียน ใฝ่รู้ด้วยตนเอง
บริบทของหลักสูตรและความรับผิดชอบของสกร. อำเภอ ดอนสัก
สถานศึกษารองรับนักศึกษาที่ขาดโอกาส เช่น นักศึกษาที่มีปัญหาครอบครัว มีปัญหาทางการเงิน มีปัญหาการเรียนในระบบ เป็นต้น นักศึกษาเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลาย บริบทของผู้เรียนมีลูก และทำงานแล้ว การจัดการเรียนการสอนมีความแตกต่างกันจะสอนแค่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยมีการลงทะเบียนเป็นรายวิชา จัดการเรียนกับครูเป็นรายบุคคล เป็นการเรียนแบบ block course ที่ให้นักศึกษาเลือก มีการพบกลุ่ม คือ การพบครู และเรียนกับครูช่วงเช้า มีการเรียนรู้ด้วยตัวเองช่วงบ่าย เน้นเรื่องการดำเนินชีวิตด้วยตนเอง มีการเทียบระดับการศึกษากับอาชีพที่เราทำอยู่ จัดการเรียนรู้เพื่ออาชีพให้กับชาวบ้าน ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนห้องสมุดได้ตลอดเวลา สามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ได้ทุกเมื่อ
แนวทางในการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์วPA ในประเด็นท้าทายหัวข้อ การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษในไลน์กลุ่ม
- ตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรให้เด็กมาเรียนมากขึ้น
- ทำประเด็นการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในไลน์กลุ่ม (Line Group)
- จัดการเรียนการสอนในภาคกลางคืน
- มีการสอนภาษาอังกฤษโดยการโยนคำศัพท์ทุกวัน และพบว่านักเรียนอยากเรียนรู้มากขึ้น เพราะได้เรียนการเรียนรู้ของเด็กจริง
- มีการเรียนรู้แบบแอปพลิเคชั่นออนไลน์
- การใช้สื่อแบบคลิปวิดีโอ และส่งให้เด็กในกลุ่ม และให้เด็กทำใบงาน
- นำนักเรียนจากทุกตำบลมารวมตัวกันมาสอนในวิชาที่ลงทะเบียนเดียวกัน เพื่อถ่ายทำคลิปการสอน
- เพิ่มการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
- การทำ วPA กับการเรียนรู้แบบสกร.มีความง่ายเนื่องจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่มนในรูปแบบ Active learning
- ครูกศน. จะมีวิธีการจัดการเรื่องจิตวิทยาของนักเรียนได้
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์วPA ในประเด็นท้าทายของครูญาหัวข้อ การใช้แหล่งเรียนรู้ และ 5 ขั้นตอน 5E
- การใช้เกม Wonder Go
- สร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน
- กระตุ้นให้นักเรียนใจมากขึ้น
- ถามว่ารู้จักแหล่งเรียนรู้ไหนบ้าง และออกมานำเสนอหน้าชั้น
- ให้ผู้เรียนถามคำถามเพื่อน
- ให้ผู้เรียนโหวตว่ากลุ่มไหนนำเสนอได้ดีที่สุด
- มีการสรุปข้อความคิดร่วมกัน
- เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- มีการประเมินหลังสอน โดยการใช้ google form และบันทึกหลังสอน แต่จะต้องมีการนำเสนอชิ้นงานและใบงานของนักเรียน
เคล็ดลับความสำเร็จในการเรียนกศน.
- รับผิดชอบด้วยตัวเอง
- ใฝ่เรียนใฝ่รู้
- ตั้งใจเรียนและศึกษาด้วยตัวเอง
- มีความพยายาม ไม่ล้มเลิกกลางคัน
อยากให้กำลังใจนักเรียนและเพื่อนครูกศน.
- อยากให้นักศึกษาทุกท่านตั้งใจเรียน ใฝ่เรียนใฝ่รู้ ทุกคนมีความสามารถ lส่วนคนที่เป็นครูกศน. คือคนที่เข้าใจนักเรียน และเข้าใจวิถีชีวิตของผู้เรียน จะช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จ
- ให้กำลังใจนักศึกษา เพราะผลมาจากความตั้งใจ และนักศึกษาที่กำลังลังเล ขอให้หันกลับมามุ่งมั่นให้เต็มร้อย ใช้เวลาให้ดีที่สุด เพราะต่อยอดอาชีพในอนาคต เพื่อการอยู่รอด และการเรียนกศน. ไม่ใช่จบแล้วจบเลย มีคนมากมายประสบความสำเร็จจากการเรียนกศน. ได้ เอาวุฒิไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ ส่วนครูเอง ก็ให้กำลังใจในการทำวPA แต่เรามีหนทางในการแก้ปัญหาตรงนี้ ซึ่งอาจจะต้องใช้ความเสียสละบ้างในการพบเจอผู้เรียนให้มากขึ้น ลองพิจารณาถึงความต้องการของผู้เรียนและชุมชน แล้วนำมาทำเป็นประเด็นท้าทาย ไม่จำเป็นต้องตั้งประเด็นให้หรูหรา แต่ไกลตัวจากผู้เรียนเกินไป ทุกอย่างสามารถนำไปเป็นประเด็นท้าทายได้หมดหากครูปรับประยุกต์ได้
วิดีโอใกล้เคียง
คลิปแรงบันดาลใจ ประตูสู่ความสำเร็จ วPA
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
Starfish Talk วPA เส้นทางที่ท้าทาย แรงบันดาลใจสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
คอร์สใกล้เคียง
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)