คลิปแรงบันดาลใจ ประตูสู่ความสำเร็จ วPA
Starfish Talk แบ่งปันไอเดีย สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA ในหัวข้อ “คลิปแรงบันดาลใจ ประตูสู่ความสำเร็จ วPA ในวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 19.00-20.00 น.โดยมีแขกรับเชิญ ดังนี้
- นายนจรส ศิริขรรแสง รองผู้อำนวยการโรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ สพม.กาญจนบุรี
- นายสดใส ใจตรง ครูชำนาญการ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สพม.กทม. เขต 2
โดยมี นายตะวัน แสงทอง (ครูโทนี่) รองผู้อำนวยการโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้ดำเนินรายการ
ในบทความนี้ถอดองค์ความรู้ที่สำคัญในการสร้างคลิปแรงบันดาลใจ สู่ความสำคัญ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เกณฑ์ของการสร้างคลิปแรงบันดาลใจ
- ประเด็นในคลิปสามารถเป็นสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจ ก็ได้
- นำเสนอได้ไม่เกิน 10 นาที ควรจัดสรรไม่ให้เกินเวลา
- คลิปแรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
- นำเสนอตามมาตรฐานวิทยฐานะ เช่น ครูชำนาญการต้องพยายามสื่อสารในเชิงการแก้ปัญหาให้ได้
- ไม่จำเป็นต้องไปจ้างตัดต่อ เราสามารถใช้โปรแกรมธรรมดาก็ได้
- คลิปเกณฑ์ไม่มีคะแนน แต่เป็นสิ่งที่ทำให้ครูได้คะแนน
- คลิปที่มาแรงบันดาลใจ จะช่วยให้คุณครูไปปิดช่องว่าง และจุดอ่อนในคลิปแผนการสอนได้
เทคนิคการสร้างคลิปแรงบันดาลใจด้วย 5W
1. วางโครงเรื่อง
- ใคร (แนะนำตัว)
- ที่ไหน (แนะนำบริบทโรงเรียน ที่อยู่โรงเรียน ชื่อโรงเรียน)
- ทำอะไร (ครูทำอะไรเล่าให้ฟัง เช่น การจัดการเรียนจะต้องตรงกับแผนการสอน)
- ทำทำไม (ทำไมทำเรื่องนี้ เพราะอะไร ทำไมถึงเริ่มแก้ไขเรื่องนี้กับนักเรียน)
- ผลลัพธ์เป็นอย่างไร (หลังจากเรียนเรื่องนี้แล้วเด็กได้อะไร)
2. ฝึกซ้อมการเล่าเรื่องอย่างสม่ำเสมอ
3. ฝึกซ้อมท่าที การมองกล้อง และความเป็นธรรมชาติในการเล่าเรื่อง
การออกแบบห้องเรียนให้เป็น Active Learning
- ไม่จำเป็นต้องจับกลุ่ม 4-5 คน ถ้าห้องเรียนมีนักเรียนน้อย
- ดูบริบทห้องเรียนว่าเรามีอะไร
- มีการสื่อสารสองทางระหว่างครูกับนักเรียน เช่น การถาม - ตอบ
6 ขั้นตอนการสร้างคลิปแรงบันดาลใจ
1. แนะนำตนเอง และบริบททั่วไปของโรงเรียน / ชั้นเรียน เช่น อธิบายบริบทโรงเรียน > ชั้นเรียน > ห้องเรียน และขอเสนออะไร และได้ทำตรงตามมาตรฐานวิทยฐานะของตัวเองอย่างไร
2. เล่าสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอน อย่าลืมเชื่อมโยงกับระดับวิทยฐานะที่ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ เช่น เล่าสิ่งที่ตัวเองเจอ และเหตุผลในการเลือกปัญหานี้ บริบทนักเรียนเป็นอย่างไร / พยายามเอาโครงสร้างหลักสูตร หรือแผนมาใส่ก่อนในช่วงแรก
3. บอกแนวทางในการแก้ปัญหา เทคนิค วิธีการสอน วิธีการพัฒนานักเรียน เช่น บอกเทคนิค กรอบแนวคิดในการแก้ปัญหา
4. อธิบายกระบวนการสอน เช่น กระบวนการสอน 5 ขั้นตอน ครูทำอะไร นักเรียนทำอะไร ผลเป็นอย่างไร
5. เล่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ในการสอน เช่น ผลลัพธ์ทั้งในด้านของความรู้ ทักษะ และทัศนคติ โดยการยกจุดประสงค์การเรียนรู้มาอธิบาย หรือใส่ร้อยละเข้าไปให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น
6. สรุปภาพรวมในการสอน เช่น สอนอะไร ทำอะไร เกิดขึ้นอย่างไร
ตัวอย่างคอมเมนต์คณะกรรมการ
- เด็กยกมือแล้วคุณครูไม่เห็น แต่คุณครูไม่อธิบาย
- เด็กนั่งหลับ ครูไม่ได้ไปอธิบายปัญหาของเด็กคนนี้
- ไม่ทำตามเกณฑ์ก.ค.ศ.
เกณฑ์ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
ไฟล์วีดีทัศน์ ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหา ที่มา แรงบันดาลใจ
- นำเสนอด้วยตัวเองเท่านั้น (ตัวจริง เสียงจริง เห็นหน้า)
- แทรกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวได้ ต้องไม่มีส่วนนำ ไม่มีดนตรีประกอบ ไม่ซ้อนตัวอักษร
- เป็นไฟล์ MP4 ความยาวไม่เกิน 10 นาที
- แนะนำตนเอง แนะนำบริบทพื้นที่โรงเรียน บริบทนักเรียนคร่าวๆ (เกริ่นให้กรรมการได้ทราบ)
- เล่า หรือรายงานสภาพปัญหาที่คุณครูพบ จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- เล่าที่มา ความสำคัญของปัญหา มีเล่าแรงบันดาลใจของคุณครู
- มีสคริปต์ได้ (แนะนำให้พูด เล่า บรรยาย ให้เป็นธรรมชาติ สีหน้าบ่งบอกถึงความสุข สามารถไปถ่ายทำที่อื่นได้)
- ทำอย่างไรก็ได้ให้กรรมการทราบ ให้กรรมการเข้าใจสิ่งที่คุณครูทำ สิ่งที่คุณครูแก้ไข สิ่งที่คุณครูพัฒนา สิ่งที่คุณครูภูมิใจ (แรงบันดาลใจ) ให้คิดง่ายๆ ว่า เรากำลังเล่าเรื่องให้ใครคนหนึ่งฟังอย่างเป็นระบบ)
หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขณะถ่ายทำ ครูควรทำอย่างไร
- เคส1 : ถ้านักเรียนลาป่วย ลากิจในขณะที่ถ่ายทำต้องทำอย่างไร / ตอบ ให้คุณครูไปเล่าในคลิปแรงบันดาลใจว่า จะติดตามเด็กนักเรียนที่ไม่ได้มาเพื่อนำมาซ่อมเสริมทีหลัง หรือให้เขียนในบันทึกหลังสอนได้
- เคส 2 : หากนักเรียนพูดคำหยาบต้องทำอย่างไร / ตอบ ขอให้คุณครูเดินเข้าไปแก้ไขได้ทันที
ทิ้งท้ายให้กำลังใจคุณครู
- คุณครูที่ไม่ได้ผ่าน ไม่ได้หมายความว่าคุณครูทำแย่ แต่อาจจะมีข้อผิดพลาดบางอย่าง เราต้องเข้าใจธรรมชาติของการประเมิน ถือว่าเป็นประสบการณ์และเป็นบทเรียนเพื่อพัฒนาตนเองต่อไป เสียใจได้ แต่อย่าเสียใจนาน เป้าหมายของเราไม่ใช่เรื่องนี้เรื่องเดียว ลองหาที่ปรึกษา เพื่อการพัฒนาต่อไป
- ล้มแล้วลุกให้เร็ว ไม่มีใครล้มตลอดไป ถ้าตกไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นครูที่ดี ลองหาสาเหตุ และอ่านเกณฑ์ให้ชัดเจน ลองไปหาที่ปรึกษาที่ตรงใจเรา และลองเรียนรู้จากคนที่ผ่านว่าผ่านเพราะเหตุใด และพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆ
วิดีโอใกล้เคียง
PA Live Talk ศึกษานิเทศก์ ทำ PA อย่างไร
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
Starfish Talk วPA เส้นทางที่ท้าทาย แรงบันดาลใจสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
คอร์สใกล้เคียง
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)