สพป.เชียงใหม่ เขต 1 โรงเรียนวัดสันกลางเหนือ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดให้มีโครงการร่วมพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และได้สร้างความร่วมมือกับมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม เพื่อเปิดรับสมัครและคัดเลือกโรงเรียนประถมศึกษาหรือโรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งมีผู้เรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนจำนวน 200 – 600 คน และมีสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน และสมุทรสาคร เพื่อเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการโรงเรียน(School management) โดยช่วยในการพัฒนาส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Approach ) ซึ่งประกอบด้วย
(๑) การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย (Goal) ที่ชัดเจนเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน มีระบบสารสนเทศ (Info) สำหรับผู้บริหารและครูเพื่อใช้ในการบริหารโดยเฉพาะการดูแลติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคล มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูมืออาชีพเพื่อการพัฒนาผู้เรียน
(๒) การพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ โดยโรงเรียนจะมีกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนของครูในระดับชั้นเรียน (Classroom) ที่เป็น Active Learning ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนตามที่กำหนดโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา และเครือข่ายต่าง ๆ (Network) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นต้นแบบในการพัฒนาครูและการใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมต่อการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยใช้
๑) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (PBL)
เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยยึดหลักการตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ซึ่งเชื่อว่า ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้และสามารถคิดหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ด้วยตัวเอง ครูจึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา วิธีการหาความรู้และค้นหาความจริงอย่างมีเหตุผล ส่งเสริมให้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้รู้จักการวางแผนการทำงาน ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามในสถานการณ์ต่าง ๆ และการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยืดหยุ่น โดยมีครูเป็นผู้ให้การสนับสนุนการเรียนรู้ตามความเหมาะสม โดยใช้กระบวนการหรือกิจกรรม ดังต่อไปนี้
๑.๑) กระบวนการ STEAM Design Process
เป็นกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการแก้ไขปัญหาโดยการบูรณาการองค์ความรู้ในสหวิทยาการตามความเหมาะสมของเนื้อหาหรือสาระความรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการคิด ออกแบบ วางแผน และลงมือสร้างสรรค์วิธีการหรือต้นแบบของชิ้นงานที่จะใช้เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งวิเคราะห์เพื่อสะท้อนวิธีในการปรับปรุงและพัฒนาผลลัพธ์ดังกล่าวให้ดีขึ้น
๑.๒) การจัดกิจกรรมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ (Makerspace)
เป็นกิจกรรมที่เปิดให้โอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมที่ใช้กระบวนการ STEAM Design Process เพื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน ซึ่งช่วยให้เกิดหารสร้างและใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21
๒) ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC )
การสร้างการเปลี่ยนแปลงโดย เรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มครูที่มารวมตัวกันเพื่อทำงานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกัน วางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และตรวจสอบ สะท้อนผลการปฏิบัติงาน ทั้งในส่วนบุคคลและผลที่เกิดขึ้นโดยรวมผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์ วิจารณ์การทำงานร่วมกัน การร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
คอร์สใกล้เคียง
บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน แก้ปัญห ...
พื้นที่แบบไหนก็จัด Makerspace ได้

พื้นที่นักสร้างสรรค์ Makerspace เป็นการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลายรูปแบบตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เพื่อใ ...
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ Integrated Instruction

คอร์สนี้เป็นการแนะนำผู้สอนหรือครูให้เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อสามารถทำไปแนวทางปฎิบัติในการบูรณากา ...


การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ Integrated Instruction

Sensory Integration (SI) ช่วยอะไรกับเด็ก

SI เป็นกระบวนการทำงานของสมองเพื่อจัดการกับข้อมูลที่ได้รับจากการรับความรู้สึกจากร่างกาย การใช้ชีวิตประจำวันต้องอาศัยการปร ...
บทความใกล้เคียง
บูรณาการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

คุณครูเคยเจอปัญหาการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วเด็ก ๆ ไม่มีส่วนร่วมในห้องเรียนไหม ? หรือกิจกรรมอย่างอื่นเยอะจนสอนตามแผนไม่ทันอยู่หรือเปล่า.....?การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ ...
5 ขั้นตอนง่ายๆสำหรับครูมือโปร

STEAM Design Process เป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ 5 ศาสตร์สาระวิชาหลักๆเข้าด้วยกันคือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญในศตวร ...
ชวนลูกฝึกสมาธิไปกับ “โคริงกะ” การจัดดอกไม้สไตล์ญี่ปุ่น

พอได้ยินคำว่า “สมาธิ” เราคงจะนึกถึงการนั่งหลับตา สังเกตลมหายใจเข้า-ออก แต่การฝึกสมาธินั้นไม่จำเป็นต้องอยู่นิ่ง ๆ เสมอไป ซึ่ง “การจัดดอกไม้” ก็นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกายไปพร้อมกับการฝึกสมาธิ แถมได้ใกล้ชิดธรรมชาติมากยิ่งขึ้น บทความนี้จ ...