เสริมสร้างคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ พัฒนาทักษะ และสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการ Active learning
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ ด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning รุ่นที่ 1 วันที่ 18-19,21 สิงหาคม 2566 และ รุ่นที่ 2 วันที่ 25-26,28 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมคุ้มภูคํา อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เนื่องด้วย ในวันที่ 9 สิงหาคม 2566 จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานในพิธี พร้อมด้วย นางทิพรวี รัตนรังสรรค์ ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่, พลเอกศรุต นาควัชระ ผู้อำนวยการศูนย์ยวพัฒน์ มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์, นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่, นายไทม์ โรจนจินดา รองนายกเทศมนตรี นครเชียงใหม่ และนางสาวโยโกะ เตรูย่า รองประธานมูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการเสริมสร้างคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ณ มูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
กิจกรรมครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่สายงานการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 80 คน สามารถวางแผนการสอนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ มุ่งพัฒนาพฤติกรรมเชิงคุณธรรม และพัฒนาวิธีการสอน Makerspace ได้ สามารถสร้างนักเรียนแกนนำ ที่มีทักษะ สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 มีพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ และนำไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนแกนนำรุ่นน้องได้
โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสร้างคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ ในวันแรก ประกอบด้วยกิจกรรม การพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน โดย มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และการพัฒนาทักษะทางการคิด โดย มูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น
ส่วนกิจกรรมในวันที่สองเป็นการให้ครูระดมความคิดจินตนาการโลกอนาคตที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ปัจจัย 4 ด้านตระหนักถึงการสร้างทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 แก่ผู้เรียน เรียนรู้กระบวนการ STEAM Design Process และทดลองลงมือปฏิบัติ ประกอบด้วย Makerspace กับการสร้างทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นอกจากนี้ยังได้ทำความรู้จักและเข้าใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ Starfish Labz เพื่อเรียนรู้และนำไปปรับใช้ขยายผลให้กับคณะครู และนักเรียนเพื่อสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และการนำไปนิเทศครูต่อไปรวมถึง รู้จักการประเมิน Summative and formative และตระหนักถึงความจำเป็นของการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงที่ตรงกับสภาพจริงปัจจุบันมากขึ้น การใช้เครื่องมือ Starfish Class ในการประเมินนักเรียนตามสภาพจริงเป็นรายบุคคล เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความสามารถทักษะและสมรรถนะของนักเรียนรายบุคคลทั้งในด้านที่โดดเด่นและด้านที่ต้องพัฒนาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย และร่วมเป็นสมาชิกห้องพัก Cool ร่วมเรียนรู้ ร่วมแบ่งปัน พบครูในเครือข่ายที่มีความสนใจใกล้เคียงกัน และไม่พลาดข่าวสารความรู้ใหม่ๆ ในวงการการศึกษา
พร้อมกันนี้ผู้เข้าร่วมได้ศึกษาดูงาน STEAM Park & Starfish Makerspace ณ โรงเรียนบ้านปลาดาว อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ศึกษาเยี่ยมชมกิจกรรม Makerspace ซึ่งผู้เข้าร่วม ได้เรียนรู้ สังเกตกระบวนการ 5 ขั้นตอน ศึกษาวิธีการตั้งประเด็นคำถาม การนำเข้าสู่กิจกรรมจากโค้ช และได้เรียนรู้วิธีการหรือเครื่องมือที่พร้อมนำไปปรับใช้ได้ทันที นอกจากนี้ยังได้ร่วมถอดบทเรียนเพื่อการต่อยอดการเรียนรู้ โดยเฉพาะกระบวนการเรียนรู้แบบ STEAM design process ที่เป็นรูปแบบกระบวนการคิดวิเคราะห์ (Design Thinking) ในการพัฒนาผู้เรียน
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
โรงเรียนปลาดาวได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายรางวัลโรงเรียนยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรมระดับโลก World’s Best School Prizes for Innovation โดยเป็นผู้นำในการบุกเบิกการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมสำหรับทุกคน
28.10.24
พัฒนาทักษะอนาคตเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียน กับกิจกรรม School Tour Future Youth Thailand @กาญจนบุรี
22.11.24
คุรุสภา ไฟเขียว ร่างประกาศยกเว้นใบอนุญาตครูชั่วคราว ขับเคลื่อนมาตรฐานการผลิตครู
02.11.24
การประชุมสัมมนาจัดทำกรอบแนวคิดการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์
25.10.24
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เน้นย้ำ ทุกหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือ มุ่งเป้าเด็กไทยทุกคนต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับทั่วถึงเท่าเทียม
08.11.24
มูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น เข้าพบท่านองคมนตรี รายงานผลการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และรางวัล World best school ของโรงเรียนปลาดาว
04.12.24