ประเมินเพื่อพัฒนาด้วย Flipgrid

Starfish Academy
Starfish Academy 1889 views • 2 ปีที่แล้ว
ประเมินเพื่อพัฒนาด้วย Flipgrid

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคดควิด-19 ส่งผลให้มีการปรับการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ โดยการใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้หรือฝึกฝนทักษะของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจ กระตือรือร้น และอยากมีส่วนร่วมในการเรียนด้วยตนเอง ซึ่งกิจกรรม Workshop ในครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสำหรับการประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน และการประเมินเพื่อพัฒนาด้วยแอปพลิเคชั่น Flipgrid 

ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st – Century Skill) เป็นรูปแบบใหม่ของการศึกษาที่เป็นการเรียนรู้ทักษะเพื่อความอยู่รอด แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. Foundational Literacies กลุ่มทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับบริบทที่แตกต่างกัน ซึ่งกล่าวง่ายๆ คือ “อยู่ที่ไหนแล้วต้องใช้อะไรบ้าง” ซึ่งทักษะเหล่านี้ได้แก่ การใช้ภาษา (Literacy) การคำนวณ (Numeracy) การใช้วิทยาศาสตร์กับสิ่งรอบตัว (Scientific Literacy) การใช้เทคโนโลยี (ICT Literacy) การจัดการด้านการเงิน (Financial Literacy) และการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม (Cultural & Civic Literacy) เป็นต้น

2. Competencies กลุ่มทักษะที่ต้องนำมาใช้ในการจัดการกับปัญหา หรือความท้าทายที่ต้องเจอในชีวิต โดยกลุ่มทักษะนี้จะเป็นทักษะสำคัญที่ใช้ร่วมกันในการวิเคราะห์ปัญหาให้ถูกจุด (Critical Thinking) สร้างวิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creativity) การสื่อสาร (Communication) และการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration) เพื่อแก้ปัญหานั้นให้ได้ กลุ่มทักษะนี้มักถูกเรียกย่อๆ ว่า “4C”

3. Character Qualities กลุ่มทักษะที่ใช้ในการจัดการตัวเองกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เป็นการแสดงคุณลักษณะ พฤติกรรมต่างๆ เช่น ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) การริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative) ความพยายามในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Persistence/Grit) ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อม (Adaptability) ความเป็นผู้นำ (Leadership) และความตระหนักถึงสังคมและวัฒนธรรม (Social & Cultural Awareness)

ซึ่งกรอบทั้ง 3 ด้าน จะอยู่ในรูปแบบของ 3R8C คือ อ่านออก (R=Reading) เขียนได้ (W=Writing) มีทักษะในการคำนวณ (A=Arithmetic) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้ (Critical Thinking and Problem Solving) คิดอย่างสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration Teamwork and Leadership) ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ (Communication Information and Media Literacy) ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cross-Cultural Understanding) ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Computing and ICT Literacy) ทักษะทางอาชีพและการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) มีคุณธรรม ระเบียบวินัย (Compassion)

สำหรับประเภทการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 

1) การวัดด้านความรู้ความสามารถ (Cognitive Domain) เป็นการวัดความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์นำไปใช้ การวิเคราะห์และวิพากษ์ การสังเคราะห์และประเมินค่า 

2) การวัดตามประเภททักษะการปฏิบัติ (Psychomotor Domain) 

3) การวัดตามประเภทเจตคติและบุคลิกภาพต่อการทำงาน (Affective Domain) 

แนวทางการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AfL) เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ (Formative Assessment) และการประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (AoL) มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตัดสินคุณค่า เช่น การประเมินเพื่อให้คะแนน เป็นต้น ทั้งนี้ ในการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 จะอยู่ในรูปแบบของการประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AfL) ซึ่งเป็นการประเมินระหว่างเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น ถาม-ตอบ สะท้อนคิด ประเมินชิ้นงาน การให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียน และการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์แปลความหมายข้อมูล แล้วนำมาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้ การสอนของครู การวัดและประเมินผลกับการสอนจึงเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดการเรียนการสอนก็จะขาดประสิทธิภาพ

สำหรับการวัดและประเมินเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ (Formative Assessment) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นการตั้งคำถาม (Questioning) ขั้นการให้ข้อมูลแบบย้อนกลับ (Feedback) 

ขั้นให้ความสำคัญ (Emphasis) เน้นที่กระบวนการประเมิน และขั้นสรุป (Final) 

ทั้งนี้ ในการวัดประเมินผลจะต้องเน้นและให้ความสำคัญในขั้นตอนที่ 2 การให้ข้อมูลแบบย้อนกลับ (Feedback) ในลักษณะข้อมูลย้อนกลับเชิงอธิบาย เน้นการพัฒนา สร้างแนวทางและปรับปรุง ซึ่งในการให้ข้อมูลย้อนกลับในแต่ละครั้งจะใช้เครื่องมือที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนนั้นๆ และจากการประเมินในรูปแบบที่หลากหลาย จึงได้มีเครื่องมือที่จะช่วยให้การประเมินเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีการฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฝึกทักษะการใช้ ICT และคอมพิวเตอร์ ก็คือ Flipgrid

Flipgrid เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับการสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดที่ได้จากการเรียนรู้ในห้องเรียน (Reflection) ผ่านวิดีโอคลิป สำหรับ 4 ขั้นตอนการใช้งานสำหรับครู คือ 1) สร้าง Grid (ชั้นเรียน) 2) เพิ่มหัวข้อสนทนา 3) แชร์ URL / Code / QR ให้ผู้เรียน และ 4) ผู้เรียน และครูบันทึกวิดีโอโต้ตอบกัน มีขั้นตอนการลงทะเบียนดังนี้

1. เข้าสู่เว็ปไซต์ info.flipgrid.com/

2. ทำการลงทะเบียน คลิก Sign up เลือก บัญชี Gmail หรือ Microsoft

3. ทำการกรอก Email คลิกปุ่ม “ถัดไป” กรอกรหัสผ่าน คลิกปุ่ม “ลงชื่อเข้าใช้”

4. ระบบจะถามว่าต้องการให้อนุญาตแอพนี้ใช่หรือไม่ คลิก “ใช่”

5. ทำการกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน คลิก “Next” ระบบจะให้ทำการยืนยันตัวตนอีกครั้ง โดยกรอกวัน/เดือน/ปีเกิด หลังจากนั้นคลิก “Confirm age”

ขั้นตอนการใช้งานดังนี้

1. การสร้างชั้นเรียน คลิก “+ Group” เลือก “Create a group”

2. ทำการตั้งชื่อในช่อง Name เลือกบุคคลในการเข้าชั้นเรียน ในหัวข้อ “Who can join?” เลือก “Anyone with the link” สำหรับกรณีที่นักเรียนอายุไม่ถึง 18 ปี ต้องใช้อีเมล์ DNS ของโรงเรียน ในหัวข้อ “Email” หรือการเชื่อมต่อนักเรียนผ่าน “Google Classroom” ได้

3. คลิก “Create Group” สามารถ Copy Link, QR Code หรือแชร์ให้ผู้เรียนได้

4. ทำการสร้างหัวข้อ (Topic) โดยคลิก “+Topic” พิมพ์หัวข้องลงในช่อง “Title” และพิมพ์คำอธิบาย หรือรายละเอียดของงานนั้นๆ ลงในช่อง “Description” 

5. การเลือกใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนได้ที่ “Topic media” 

6. ช่อง “Recording Time” เป็นการระบุเวลาในการตอบโต้วิดีโอ หลังจากนั้นคลิก “Post topic” 

7. ทำการเลือก “Copy URL” หรือ “Share” เพื่อไปยังที่ที่ต้องการจะแชร์ 

ขั้นตอนการตอบกลับ

1. หลังจากนักเรียนได้เรียนรู้จากคลิปวิดีโอแล้ว ครูผู้สอนสามารถตอบกลับ โดยการคลิก “Add response”

2. จะขึ้นหน้าต่างการบันทึก VDO สามารถกดปุ่ม “บันทึก – หยุด” VDO ได้ ทั้งนี้ สามารถตกแต่งรูปภาพ ภาษาเพิ่มเติมได้ก่อนทำอัดคลิปวิดีโอ หลังจากนั้น กดปุ่ม “Next” มุมขวาล่าง เพื่อทำการดูคลิปตัวอย่างและยืนยันคลิป

3. เพิ่มเติมรายละเอียดคลิป และทำการโพสต์คลิป โดยคลิกที่ “Post to topic” รออัพโหลดคลิป และคลิก “Go to topic” 

4. ในการโพสต์คลิปสามารถเลือกได้ว่าจะแชร์แบบสาธารณะ หรือ แบบส่วนตัว โดยคลิกที่ “Active” ทั้งนี้ สามารถตั้งค่าต่างๆ ได้ โดยการเลือก “ปุ่ม 3 จุด”

5. การตอบกลับนักเรียน สามารถทำได้ 2 แบบ คือ การอัดคลิปวิดีโอ และข้อความ ทั้งนี้ สามารถเลือกได้ว่าจะแชร์แบบสาธารณะ หรือ แบบส่วนตัว โดยคลิกที่ “Active”

สำหรับข้อดี - ง่ายต่อการใช้งาน เพียงแค่มีบัญชี Gmail หรือ Hotmail และรหัสห้องเรียน โต้ตอบ แลกเปลี่ยนคำแนะนำ (ข้อมูลย้อนกลับ) แบบส่วนตัวระหว่างผู้สอนและผุ้เรียนรายบุคคลได้ เปิดพื้นที่การประเมินผลงานร่วมกันในชั้นเรียนได้ สามารถร่วมอภิปรายกันได้ง่าย และปกป้องความเป็นส่วนตัวสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สูงกว่าการอัดวิดีโอคอล โดยเด็กอายุต่ำว่า 18 ปี ต้องใช้อีเมล์ DNS ของโรงเรียน เช่น .ac.th เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า แอปพลิเคชั่น Flipgrid ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องควบคู่กับการพัฒนาการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จากการนำสื่อออนไลน์มาสร้างสรรค์เป็นแอปพลิเคชั่น เพื่อส่งเสริมทักษะการฟัง การพูด และเป็นการยกระดับการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระและสามารถต่อยอดความรู้ได้ในอนาคตต่อไป

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
Starfish Academy

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish Academy

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish Academy
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
Starfish Future Labz

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

Starfish Future Labz
1445 ผู้เรียน

Related Videos

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
06:40
Starfish Academy

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน

Starfish Academy
369 views • 2 ปีที่แล้ว
ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
5034 views • 2 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
05:59
Starfish Academy

TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม

Starfish Academy
220 views • 2 ปีที่แล้ว
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา
06:20
Starfish Academy

ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา

Starfish Academy
508 views • 2 ปีที่แล้ว
ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา