PA ครู เขียนอย่างไร ให้ชัดเจนและตรงประเด็น

PA ครู เขียนอย่างไร ให้ชัดเจนและตรงประเด็น

“เขียน PA อย่างมีประสิทธิภาพ สู่ครูมืออาชีพ”

อย่างที่ทราบกันดีว่าการประเมินผลการทำงาน เป็นสิ่งที่สำคัญในการแสดงถึงความก้าวหน้า ความสามารถ หรือบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ในวันนี้ทาง Starfish Labz จะมาพูดถึงการกำหนดความก้าวหน้าในอาชีพครู การทำวิทยาฐานะในรูปแบบ ว PA ที่ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยระยะเวลาการสอน (ปี) หรือจำนวนชั่วโมงในการอบรม

การเป็นครูผู้ช่วยจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

การเป็นครูผู้ช่วยพอเข้ามาสู่ระบบวิชาชีพครู อย่างแรกคือ การศึกษา “มาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วย” เพื่อให้ทราบถึงลักษณะงานที่ปฏิบัติของครูไม่ว่าจะตำแหน่งใด ในส่วนของการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ต่างๆ และการพัฒนาตนเองในวิชาชีพ ซึ่งสิ่งที่ไม่แตกต่างในแต่ละตำแหน่งของครู คือ การจัดการเรียนรู้ เพียงแต่สิ่งที่คาดหวังระหว่างครูผู้ช่วยกับครูบรรจุ คือสมรรถนะในการที่จะปฏิบัติงาน หรือที่เรียกว่า “ระดับปฏิบัติที่คาดหวัง” โดยครูผู้ช่วยจะอยู่ในส่วนของการปฏิบัติ และการเรียนรู้ แต่พอมาเป็นครูเริ่มมีภาระหน้าที่งานต่างๆ มากขึ้น จะอยู่ในส่วนของการปรับ และประยุกต์นำมาใช้ในการทำงาน หลังจากนั้นจะเป็นการ Coaching หรือการที่มีครูพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการนำองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอน และการเป็นครูผู้ช่วยจะต้องผ่านการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม 2 ปี ก็จะได้รับการบรรจุให้เป็นครูต่อไป

ครูผู้ช่วยสามารถบรรจุได้ ภายใน 2 ปี ถึงแม้ว่าจะสอนไม่เก่ง ใช่หรือไม่ 

ในการบรรจุจากครูผู้ช่วยเป็นครูจะไม่ใช้ คำว่า“ได้โดยอัตโนมัติ”เนื่องจากมีกลไกของการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม และมีการประเมินในรูปแบบการประเมินเพื่อการพัฒนา จึงเชื่อมั่นได้ว่า ครูที่ผ่านการบรรจุเป็นผู้ที่ความรู้ความสามารถ

คำว่า คศ.1 , คศ.2 หมายถึงอะไร

หมายถึง อันดับเงินเดือน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ กล่าวคือ ถ้าเป็นครูที่ยังไม่มีวิทยาฐานะ รับเงินเดือนในอันดับ คศ.1 ซึ่งโดยตำแหน่งเป็นตำแหน่ง “ครู” หลังการสั่งสมประสบการณ์จนเป็นครูที่มีวิทยฐานะ ซึ่งวิทยาฐานะเริ่มแรกของครู คือ “ครูชำนาญการ” รับอันดับเงินเดือน คศ.2 ถัดไป คือ “ครูชำนาญการพิเศษ” รับเงินเดือนอันดับ คศ3. วิทยาฐานะ “ครูเชี่ยวชาญ” รับเงินเดือนอันดับ คศ4. และวิทยาฐานะ “ครูเชี่ยวชาญพิเศษ”ซึ่งเป็นวิทยาฐานะสูงสุด รับเงินเดือนอันดับ คศ5. เทียบเท่าระดับ 10

การทำวิทยาฐานะมีระยะเวลาที่ต่างกันหรือไม่

ปัจจุบันนี้ได้มีการปรับในเรื่องของมาตรฐาน ตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะ กล่าวคือ แต่ละวิทยฐานะจะใช้ระยะเวลา 4 ปี รวมทั้งหมด 4 วิทยฐานะ และการเป็นครูผู้ช่วย 2 ปี ซึ่งระบบวิทยาฐานะของครู เป็นระบบที่ไม่มีข้อจำกัดของโครงสร้าง ซึ่งครูทุกคนที่ได้สร้างสมประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ พัฒนาศักยภาพของตนเองและนำไปสู่ผู้เรียนได้ สามารถไปสู่ขั้นสูงสุดของวิชาชีพครู (ระดับ 10) ได้

จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า จำนวนครูทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นครูชำนาญการพิเศษ แต่คุณภาพการศึกษาไม่เป็นไปตามรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความบกพร่องของระบบเดิมหรือไม่

หลังจากที่ครูเข้ามาสู่ระบบแล้ว อาจเนื่องด้วยกลไกของระบบ ที่ไม่มีการติดตามถึงสิ่งที่เป็นสมรรถนะในครูชำนาญการพิเศษ พอไม่มีกลไกที่ควรจะเป็นกลไกธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจริงๆ ในโรงเรียน จึงเปรียบเสมือนว่าเป็นงานประจำของครูทุกคน ดังนั้น จึงมองว่ามันเป็นจุดที่เป็นสำคัญของระบบเช่นกัน ในการจะทำอย่างไรเพื่อดึงครูชำนาญการพิเศษเหล่านี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีแรงบันดาลใจ มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาเด็ก ให้สามารถขับเคลื่อน พัฒนางาน พัฒนาฝีมือหรือศักยภาพของตัวเองต่อไป เพื่อให้เด็กมีคุณภาพ และในขณะเดียวกันสามารถที่จะนำเอาผลการพัฒนาคุณภาพเด็กมาใช้ในการเสริมสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเองในอีกระดับ ซึ่งเป็นระบบที่จะนำไปสู่เกณฑ์ PA 

PA คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

PA ย่อมาจาก Performance Agreement หมายถึง ข้อตกลงในการพัฒนางาน ซึ่งเป็นการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างครูและผู้อำนวยการ เพื่อใช้ในการประเมินวิทยฐานะ และการประเมินเลื่อนเงินเดือน ซึ่งการทำข้อตกลงในการพัฒนางาน จะทำให้ครู ผู้อำนวยการ ศึกษานิเทศน์ หรือผู้อำนวยการเขตฯ ที่อยู่ในระบบกลไกของการศึกษา ได้หันมาดูทิศทางของการทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิด Line of Accountibility ร่วมกันทุกตำแหน่ง ซึ่งสุดท้ายแล้วจะก่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพการศึกษาได้ และถือได้ว่าเป็นจุดสำคัญของการทำ PA นอกจากนี้ หากครูท่านใดรู้สึกอิ่มตัวในตำแหน่งวิทยฐานะแล้ว อยากให้ครูตั้งเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพเด็กที่รับผิดชอบ และสามารถเก็บเกี่ยวสิ่งที่ได้ทำในแต่ละปีเอาไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นคุณสมบัติในการขอ PA ในอนาคตได้ แต่ถ้าหากครูไม่คิดขอเลื่อนวิทยฐานะแล้ว ก็ยังต้องทำ PA อยู่ เนื่องจากผล PA เป็นองค์ประกอบในการเลื่อนเงินเดือน และสำหรับครูที่มีวิทยฐานะแล้ว ตามกฎหมายได้มีการกำหนดให้ประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ แต่ด้วยกลไกของระบบในครั้งนี้ สำหรับคนที่มีวิทยฐานะและผ่านการประเมิน PA ถือเป็นการผ่านการประเมินคงวิทยฐานะไปด้วย ไม่ต้องมีการประเมินอีก

สำหรับการประมินรูปแบบใหม่ แต่ยังมีการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม จะยังคงมีการคงวิทยฐานะอยู่หรือไม่

สำหรับการไม่ผ่าน PA กรณีไม่เข้าเงื่อนไขของการคงสภาพตามเกณฑ์ของ ว9 - ว12 ยังไม่ได้มีการกำหนด กรณีไม่ผ่าน PA จะมีการดำเนินการอย่างไร เพราะว่าเป็นการใช้ฐานกฎหมายของ ม.55 วรรคแรก ที่ว่าให้มีการประเมินคงวิทยฐานะ ส่วนมาตรการหลังจากที่ประเมินแล้วไม่ผ่าน จะมีมาตรการอย่างไร คงจะต้องมีการกำหนดอีกครั้ง

สำหรับการเลื่อนวิทยฐานะ มีหลักเกณฑ์อย่างไร

ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 

1) งานที่ครูทำปกติ เช่น การจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์หลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การผลิตสื่อ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทำอยู่แล้ว 

2) ประเด็นท้าทาย การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ครูพึงปฏิบัติในการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ ซึ่ง PA มีไว้เพื่อให้ครูตั้งเป้าหมายแต่ไม่ใช่การนำเอางานประจำมาแก้ปัญหาในการทำงานเพื่อพัฒนาเด็ก ข้อเสนอแนะ สำหรับการเลือกประเด็นท้าทายต้องให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กจริง สามารถบอกได้ว่า สิ่งที่เป็นปัญหาคืออะไร ดำเนินการอย่างไร ระยะเวลาในการดำเนินการ ผลของการดำเนินการ และสิ่งที่คาดหวังหรือสิ่งที่จะดำเนินต่อไป ทั้งนี้ การนำเสนอสิ่งที่เป็นประเด็นท้าทาย ครูชำนาญการมีระดับปฏิบัติคาดหวังอยู่ที่การแก้ปัญหา ถ้าหากมีการนำเสนอในระดับต่ำกว่าที่เป็นอยู่ไม่สามารถกระทำได้ ถ้าหากว่าเสนอในระดับที่สูงกว่าสามารถกระทำได้ 

ตัวอย่าง. PA เขียนอย่างไร

สำหรับข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 

  • ส่วนที่ 1 งานที่ครูทำเป็นปกติ ประกอบด้วย งานมาตรฐานตำแหน่ง และภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 
  • ส่วนที่ 2 ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วย ประเด็นท้าทาย วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล ทั้งนี้ ในการเขียน PA สามารถเสนอเป็นภาพรวมหรือสามารถทำเป็นชิ้นงานในการตอบโจทย์ในการประเมินในแต่ละด้านได้ เน้นย้ำว่าไม่ต้องเสนอในรูปแบบของงานวิจัย ให้นำเสนอตามภาระหน้าที่งาน ซึ่งสามารถศึกษาแนวทางในการเขียน PA เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/OTEPCofficial 

การประเมินจะช่วยลดภาระงานและมุ่งครูสู่ห้องเรียน สามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่

ในบทบาทของ ก.ค.ศ. จะไม่เพิ่มภาระงานเกี่ยวกับระบบการประเมิน ซึ่งจะใช้เป็นตัวชี้วัดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนเงินเดือน การคงวิทยฐานะหรือการให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ และการประเมิน PA จะมีอยู่ช่องหนึ่งที่บอกว่า ลักษณะของงานที่จะนำเสนอมีอะไรบ้าง ตัวชี้วัดคืออะไร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ครูได้เขียนขึ้นมาโดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการตามข้อตกลง ดังนั้น กรรมการจะทำการประเมินตรงตัวชี้วัดนั้น ว่าผู้เรียนเป็นไปตามเป้าหรือไม่ และจากการวางระบบกลไกใหม่ที่ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรองฯ ได้เข้าถึงชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น ก็จะสามารถช่วยลดภาระงานของครูในการจัดทำเอกสารได้อีกด้วย

การพิจารณา ว. ของเขตพื้นที่พิเศษ เขตระเบิด ครูเกาะ ครูดอย มีการพิจารณาต่างหรือเหมือนกันอย่างไร

ต่างกันตามบริบท หมายถึง การที่ครูหรือผู้อำนวยการทำ PA จะดูที่บริบทการจัดการศึกษาของแต่ละโรงเรียนเป็นหลัก ไม่ได้นำเอามาตรฐานของโรงเรียนในเมืองมาเทียบกับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล แต่จะพิจารณาจากภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ สิ่งที่ทำตอบโจทย์ผลลัพทธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและสะท้อนถึงสมรรถนะของครูได้

การมีส่วนร่วมของหน่วยงาน ในการกำหนดเกณฑ์การขอทำ PA 

สำหรับการออกหลักเกณฑ์ ได้มีการทำวิจัยร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากราชบัณฑิต ครูระดับประถม มัธยม อาชีวะ กศน. ศึกษานิเทศน์ ผู้บริหารพื้นที่การศึกษามาร่วมออกแบบ ดำเนินการประชุม หลังจากที่ออกหลักเกณฑ์แล้ว ได้มีการทดลองโรงเรียนนำร่องจากทุกบริบทเข้ามามีส่วนร่วมของการจัดการศึกษา และทำการเชิญตัวแทนคณะครูทุกประเภทการศึกษาเข้าร่วมการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว

เห็นได้ว่า ในการทำข้อตกลง PA ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากเป็นงานที่ทำอยู่แล้ว ทั้งนี้ ในการประเมินจะเป็นการดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยจะต้องส่งผลทั้ง 3 องค์ประกอบคือ พุทธิพิสัย ทักษะวิสัย และจิตพิสัย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อนักเรียน และดำเนินการตามแผนปฏิบัติ กรณีที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ สามารถนำปัญหามาเป็นประเด็นท้าทาย เพื่อเสริมให้ผลสัมฤทธิ์ของเด็กมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5295 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6211 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3425 ผู้เรียน

Related Videos

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
716 views • 2 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
744 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
การเขียน วPA
05:24
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การเขียน วPA

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1225 views • 2 ปีที่แล้ว
การเขียน วPA
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร
11:30
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6562 views • 2 ปีที่แล้ว
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร