6 วิธีดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษเบื้องต้น

วสันต์ วรรณรัตน์
วสันต์ วรรณรัตน์ 30074 views • 3 ปีที่แล้ว
6 วิธีดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษเบื้องต้น

ความต้องการพิเศษมีหลายลักษณะ จึงทำให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษในแต่ละคนมีบุคลิก ลักษณะ การแสดงออกที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพความต้องการพิเศษ และความรุนแรงของภาวะนั้น ๆ  เช่น เด็กออทิสติก บางคนมีการหลีกหนีสังคม ไม่สามารถเล่นกับเพื่อนได้ เด็กสมาธิสั้นบางคนไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของตนเองได้ แต่บางคนสามารถจัดการได้ดี เป็นต้น ในบทความนี้ผู้เขียนจึงนำเสนอ 6 วิธีการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษเบื้องต้น มาแนะนำแก่ท่านผู้ปกครองเพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้กับบุตรหลานของท่าน ดังนี้

1. ยอมรับ เข้าใจ และให้ความร่วมมือ เบื้องต้นผู้ปกครองต้องยอมรับว่าบุตรหลานเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และเชื่ออยู่เสมอว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ เมื่อท่านยอมรับแล้ว ท่านจะเกิดความเข้าใจ ในส่วนนี้ทุกคนในบ้านจะต้องยอมรับ และมีความเข้าใจในตัวเด็กร่วมกัน สุดท้ายต้องให้ความร่วมมือ มองเห็นภาพในการพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน 

2. หาความรู้เพิ่มเติม ในปัจจุบันแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีเพิ่มมากขึ้น และการเข้าถึงแหล่งข้อมูลก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะแหล่งข้อมูลแบบออนไลน์ ผู้ปกครองสามารถเข้าไปศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้มีความเข้าใจในโรค ภาวะต่าง ๆ หรือพฤติกรรมของบุตรหลาน การค้นคว้าความรู้ที่หลากหลาย จะช่วยให้พบข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำมาประยุกต์ใช้ แนะนำผู้ปกครองให้ท่านบันทึกเนื้อหาที่ท่านพบเป็นหัวข้อย่อย ๆ และนำเอาข้อมูลที่บันทึกนั้นมาสังเคราะห์ (สรุปประเด็น) ท่านจะได้ข้อมูลใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยหลายหลากที่พร้อมให้ท่านได้ศึกษา นำมาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ได้ 

3. จัดตารางกิจกรรม การพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรทำให้เป็นกิจวัตร ทำซ้ำ ๆ ฝึกบ่อย ๆ ทบทวนสิ่งเดิม เพิ่มเติมสิ่งใหม่ จะช่วยให้เห็นพัฒนาการของบุตรหลานได้ชัดเจนขึ้น โดยผมแนะนำให้ผู้ปกครองจัดทำตารางกิจกรรม และติดตารางให้เห็นอย่างชัดเจน 

โดยตารางกิจกรรมนี้ ท่านผู้ปกครองสามารถออกแบบเองได้ ตารางกิจกรรมควรประกอบด้วยช่วงเวลา และกิจกรรม ถ้าเป็นเด็กเล็กควรใช้สี ตัวการ์ตูน หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนกิจกรรมที่จะทำ ติดลงบนตารางกิจกรรม จะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ง่ายว่าถึงเวลาต้องทำกิจกรรมอะไร ถ้าเป็นเด็กโต สามารถทำเป็นตารางปกติที่มีตัวหนังสือแสดงกิจกรรมและช่วงเวลาได้ ในกรณีที่เป็นเด็กโต แต่ยังไม่เข้าใจเรื่องภาษา สามารถใช้สัญลักษณ์แทนได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน การจัดตารางกิจกรรรมจะเป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยผู้ปกครองให้ทราบเช่นกันว่าจะต้องเตรียมอุปกรณ์หรือกิจกรรมใดล่วงหน้า และจะเป็นการฝึกให้เด็กมีวินัย เข้าใจ ยอมรับการทำกิจกรรม เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่ได้แจ้งล่วงหน้าแล้ว เด็กจะต่อต้านน้อย แต่อย่างไรก็ตามการจัดตารางก็ควรมีความยืดหยุ่น และมีช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป 

4. จัดกิจกรรมเสริมง่าย ๆ นอกจากการฝึกประจำที่บุตรหลานจะได้ฝึกกับนักสหวิชาชีพแล้ว ผู้ปกครองควรหากิจกรรมเสริมง่าย ๆ มาใช้เล่นกับบุตรหลาน เพื่อเป็นการเสริมพัฒนาการ และเป็นการเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไปพร้อม ๆ กัน กิจกรรมเสริมเหล่านี้อาจจะปรึกษานักสหวิชาชีพ หรือสามารถสืบค้น และประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง ยกตัวอย่าง การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ผู้ปกครองสามารถใช้กิจกรรมศิลปะ การปั้นดินน้ำมัน การตัดกระดาษ การพับกระดาษ ร้อยลูกปัด มาให้เด็กเล่นได้ เป็นต้น 

กิจกรรมที่นำมาใช้เสริมนี้ควรเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่เด็กชอบ และควรเป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายซึ่งจะช่วยให้มีพัฒนาการที่ดี กิจกรรมที่มีเป้าหมาย เช่น ปั้นดินดำมันเป็นรูปสัตว์บก 5 ตัว ร้อยลูกปัด 3 เส้นแล้วเอามาทำโมบาย เป็นต้น ถึงแม้ท่านผู้ปกครองจะสามารถนำกิจกรรมต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ได้ แต่ในบางกิจกรรมที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญนั้น ไม่แนะนำให้ท่านนำมาฝึกเอง เพราะอาจเกิดความผิดพลาดและเกิดความรุนแรงต่อเด็กได้ 

5. ใช้การเสริมแรง การเสริมแรงจะช่วยให้เด็กมีความถี่ในการปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น หรือมีพฤติกรรมที่ดีเพิ่มมากขึ้น การให้การเสริมแรงมีอยู่หลากหลายวิธี ที่ง่ายที่สุดคือ การให้คำชม การสัมผัสเบา ๆ หรือการแสดงท่าทางเพื่อบอกว่าเราพอใจ เช่น เมื่อลูกปั้นดินน้ำมันสัตว์บกได้ ผู้ปกครองชมเด็กว่า “เก่งมากเลยลูก” พร้อมกับทำยกนิ้วโป้ง เป็นสัญลักษณ์ว่าทำได้ดี เป็นต้น หรือผู้ปกครองจะให้สิ่งของเป็นรางวัล หรือใช้การสะสมแต้ม ก็สามารถทำได้ โดยทำการตกลงกับเด็กให้เรียบร้อย และเมื่อเด็กทำได้ตามที่ตกลงกันแล้ว ผู้ปกครองต้องให้รางวัลนั้นทันที และไม่ควรเปลี่ยนข้อตกลงหรือรางวัลหลังการทำกิจกรรมของเด็กเสร็จแล้ว เพราะในครั้งต่อไปเด็กจะไม่ให้ความร่วมมือ กลัวว่าตนจะถูกเอาเปรียบ และไม่ได้รางวัลเหมือนครั้งก่อน ทั้งนี้การเสริมแรง ต้องจัดให้อย่างเหมาะสม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และถ้าเป็นสิ่งที่เด็กชอบเด็กจะต้องการและพยายามทำกิจกรรมมากขึ้น

6. ให้กำลังใจ สิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ดีขึ้นหรือมีพัฒนาการที่เห็นชัด คือ การให้กำลังใจกันและกัน การมีลูกเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่ใช่เวรกรรม ดังนั้น อย่าท้อ อย่ามองว่าด้อยคุณค่า อย่ามองว่าเป็นสิ่งประหลาด คนในครอบครัวต้องการกำลังใจ เด็กต้องการกำลังใจ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กก็ต้องการกำลังใจ เราหันมาให้กำลังใจแก่กันและกันดีกว่าครับ ร่วมกันพัฒนาบุตรหลานให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปท่านจะเห็นพัฒนาการของบุตรหลาน และท่านจะยิ้มอย่างมีความสุข 

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้ง 6 ข้อ เป็นวิธีการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษเบื้องต้น ซึ่งในแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมากพอสมควร ผู้เขียนจึงสรุปมาพอสังเขป เพื่อให้ท่านเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีวิธีอีกหลาย ๆ วิธี ที่ท่านจะนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้ศึกษาท่านจะพบข้อมูลที่มากขึ้นครับ และในบทความต่อไป จะเป็นการขยายเนื้อหาแบบเจาะจงมากขึ้นครับ 

สุดท้ายนี้ผู้เขียนยังอยากเน้นย้ำว่า ครอบครัวเป็นหน่วยสังคมที่จะเป็นผู้ช่วยพัฒนาเด็กได้ดีที่สุดครับ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน และขอให้ท่านมีความสุขกับการดูแลบุตรหลานนะครับ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6547 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3062 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1383 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7758 ผู้เรียน

Related Videos

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
77 views • 1 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
98 views • 2 ปีที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
น้องลูกหว้า : สาวน้อยลูกครึ่งที่หลงใหลในวัฒนธรรมไทย
03:34
Starfish Academy

น้องลูกหว้า : สาวน้อยลูกครึ่งที่หลงใหลในวัฒนธรรมไทย

Starfish Academy
1081 views • 3 ปีที่แล้ว
น้องลูกหว้า : สาวน้อยลูกครึ่งที่หลงใหลในวัฒนธรรมไทย
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
175 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก