วิธีหา Learning Style ของ Home School

Starfish Academy
Starfish Academy 13706 views • 3 ปีที่แล้ว
วิธีหา Learning Style ของ Home School

เด็กแต่ละคนเกิดมาพร้อมกับบุคลิก ลักษณะนิสัย และพื้นอารมณ์ที่แตกต่างกัน เมื่อมาถึงเรื่องการเรียนรู้ของเด็กๆ แน่นอนว่าแต่ละคนก็ย่อมมีแนวทางเป็นของตัวเอง ข้อดีอย่างหนึ่งของการทำ Homeschool ก็คือ พ่อแม่มีโอกาสได้ค้นหารูปแบบการเรียนรู้ของลูก เพื่อปรับสไตล์การสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้

ทำความรู้จัก Learning Style 

ในชีวิตประจำวันเราอาจคุ้นเคยคำว่าไลฟ์สไตล์ ซึ่งก็คือรูปแบบการใช้ชีวิต ที่แต่ละคนก็มีไลฟ์สไตล์ต่างกันไป รูปแบบการเรียนรู้ หรือ Learning Style ก็เช่นเดียวกัน แต่ละคนอาจมีความสามารถเรียนรู้รูปแบบหนึ่งได้ดีกว่าอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น บางคนอาจเรียนรู้ผ่านการฟังได้ดี บางคนอาจเรียนรู้ผ่านการอ่านได้ดี ซึ่งไม่มีรูปแบบใดดี หรือด้อยกว่ากัน เมื่อพ่อแม่ค้นพบสไตล์การเรียนรู้ของลูก ก็น่าจะช่วยให้เด็กๆ ประสบความสำเร็จในการเรียนได้

VARK Model คือ ลักษณะการเรียนรู้ 4 แบบ นิยามขึ้นโดย Neil D. Fleming และ Coleen E. Mills นักการศึกษาจาก Lincoln University ประเทศ New Zealand โดยคำว่า VARK มาจากอักษรตัวหน้าของลักษณะการเรียนรู้ ได้แก่

  • V - Visual Learners เรียนรู้ผ่านการมองเห็น
  • A - Auditory Learners เรียนรู้ผ่านการฟัง
  • R - Read/Write Learners  เรียนรู้ผ่านการอ่านหรือเขียน
  • K - Kinesthetic Learners เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ

โดยบางคนอาจมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ถนัดเพียงรูปแบบเดียว แต่ก็มีประมาณ 50-70% ที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมที่เรียกว่า Multimodal

Visual Learners เรียนได้ดีจากการได้ดู

เด็กๆ ที่เป็น Visual Learners มักเป็นนักสังเกตการณ์ พวกเขาจะเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว เก็บรายละเอียดปลีกย่อย และจดจำได้เป็นอย่างดี คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า เด็กกลุ่มนี้มักใช้เวลานานพินิจพิเคราะห์ภาพประกอบในหนังสือ ภาพวาด ภาพถ่ายต่างๆ หากคุณเปิดหนังสือนิทานเล่าให้ Visual Learners ฟัง พวกเขามักจดจ่ออยู่กับภาพประกอบในหนังสือ มากกว่าฟังสิ่งที่คุณกำลังพูด 

เด็กๆ ที่เรียนรู้ได้ดีผ่านการประสาทสัมผัสการมองเห็น มักถูกหน้าจอต่างๆ ดึงดูดได้ง่าย ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ฯ และหน้าจอเหล่านี้เองที่เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่สำคัญสำหรับ Visual Learners 

ความสามารถอันน่าทึ่งของ Visual Learners ประการหนึ่งก็คือ พวกเขามีความจำเป็นเลิศ จดจำชื่อ สถานที่และผู้คนได้เป็นอย่างดี เด็กบางรายอาจแสดงความสามารถนี้ให้เห็นตั้งแต่ยังเล็กๆ ด้วยการจดจำสถานที่ที่เคยไปกับพ่อแม่ได้

ครอบครัว Homeschool ช่วยให้ Visual Learners เรียนรู้ดีขึ้นได้ ดังนี้

  • จดจำด้วยภาพ นอกจากจดบันทึกด้วยตัวอักษรแล้ว อาจให้ลูกวาดภาพไว้ข้างๆ เพื่อช่วยเพิ่มความจำ หรืออาจใช้ Mind map เป็นสื่อการสอน
  • เรียนรู้ผ่านภาพเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นสารคดี หรือคลิปการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ลูกกำลังศึกษาอยู่
  • จัดสภาพแวดล้อม เพราะการมองเห็นคือหัวใจสำคัญของการเรียนรู้สำหรับเด็กกลุ่มนี้ สภาพแวดล้อมที่เป็นระเบียบ ไม่มีสิ่งของวางเกะกะ จะช่วยให้เด็กๆ มีสมาธิดียิ่งขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์การเรียนที่ช่วยให้ “เห็นชัด” ไม่ว่าจะเป็นสติ๊กเกอร์ post-it ปากกาไฮไลท์หลากสี นอกจากนี้โปสเตอร์ กราฟ ชาร์ทต่างๆ ก็อาจเป็นประโยชน์ต่อ Visual Learners 

Auditory Learners เมื่อได้ฟังจดจำขึ้นใจ

Auditory Learners มักให้ความสนใจเสียงต่างๆ โดยเฉพาะเสียงดนตรี เด็กกลุ่มนี้อาจมีความสามารถทางดนตรีหรือร้องเพลงอย่างเห็นได้ชัด มีความเป็นผู้ฟังที่ดี มีทักษะการพูด และทำตามคำสั่งที่ได้ยินได้ดี ความเป็น  Auditory Learners อาจเผยให้เห็นตั้งแต่ยังเป็นทารก เมื่อได้ยินเสียงพูดคุย หนูน้อยมักผงกศรีษะมองตามเสียงอย่างสนใจ หรือได้ยินเสียงฝนโปรยก่อนใคร เด็กกลุ่มนี้ยังชอบอ่านออกเสียง เพราะช่วยให้พวกเขาเข้าใจสิ่งที่อ่านได้ดีกว่า

เด็กๆ กลุ่มนี้ยังชื่นชอบการพูดคุย แสดงความคิดเห็น บ่อยครั้งก็เผลอร้องเพลงขณะทำกิจวัตรประจำวัน หรืออาจถึงขั้นแต่งเพลงขึ้นมาเอง มีความสามารถในการได้ยินที่โดดเด่น มักได้ยินเสียงต่างๆ ก่อนคนอื่นๆ เสมอ

ครอบครัว Homeschool ช่วยให้ Auditory Learners เรียนรู้ดีขึ้นได้ ดังนี้ 

  • พูดคุยก่อนเริ่มบทเรียน เด็กกลุ่มนี้จดจำสิ่งที่เขาได้ฟังได้ดี ดังนั้นก่อนเริ่มการเรียนการสอนเรื่องใหม่ ลองชวนลูกคุยถึง course outline ของเรื่องนั้นๆ เพื่อให้เด็กๆ เตรียมตัวได้ดีขึ้น
  • บันทึกเทปเพื่อฟังซ้ำ ในบทเรียนที่มีการอธิบายเนื้อหาโดยผู้สอน การบันทึกเสียง จะช่วยให้เด็กๆ ทบทวนบทเรียนได้ง่ายขึ้น 
  • คิด-อ่านแบบมีเสียง สนับสนุนให้เด็กๆ อ่านและคิดออกเสียงเพื่อให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้น เมื่อเข้าห้องสอบหรือไม่สามารถใช้เสียงดังได้ สอนวิธีฟังเสียงของตัวเองขณะคิดในสมอง ด้วยการหลับตาและจินตนาการถึงเสียงพูดนั้น
  • จัดการเสียงรบกวน Auditory Learners ถูกกระตุ้นจากเสียงได้ง่าย ดังนั้นหากมีเสียงรบกวนเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้เด็กๆ ขาดสมาธิ ในทางกลับกันเพลงบรรเลง หรือเพลงคลาสสิกที่เปิดคลอเบาๆ อาจช่วยให้เด็กกลุ่มนี้มีสมาธิเพิ่มขึ้นได้
  • ชวนลูกตั้งคำถาม ในแต่ละบทเรียนสนับสนุนให้เด็กๆ ตั้งคำถาม เพราะการพูดและฟังคือวิธีที่เด็กกลุ่มนี้ใช้เพื่อรวบรวมและทำความเข้าใจข้อมูล อย่าเบื่อที่จะอธิบายซ้ำๆ ยิ่งได้ฟังได้พูดมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นประโยชน์กับ Auditory Learners

Reading/Writing Learners เมื่อได้อ่านเขียนก็เรียนได้ดี

สำหรับเด็กๆ ที่เรียนรู้ได้ดีผ่านการอ่านและเขียน มักให้ความสนใจกับคำศัพท์ ชอบอ่านหนังสือ และมีความสามารถทางภาษา พ่อแม่อาจพบว่าเด็กกลุ่มนี้มักขาดสมาธิเมื่อคุณพยายามอธิบายบทเรียนด้วยคำพูด เพราะสำหรับ Reading/Writing Learners การได้อ่านข้อมูลบนกระดาน ในหนังสือ หรือในเอกสารและการจดโน๊ต ช่วยให้พวกเขาเข้าใจบทเรียนได้มากกว่าการฟังคำอธิบาย 

Reading/Writing Learners มักสนในคำศัพท์ต่างๆ และเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ชอบเล่นเกมเกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น Scrabble หรือ ปริศนาอักษรไขว้ จดจำคำคม คำกลอน ได้แม่นยำ และมักมีเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ครอบครัว Homeschool ช่วยให้ Reading/Writing Learners เรียนรู้ดีขึ้นได้ ดังนี้

  • เน้นการอ่าน ในเมื่อ Reading/Writing Learners เรียนรู้ได้ดีผ่านตัวอักษร นอกจากการอธิบายแล้ว ในแต่ละบทเรียน ควรมีเนื้อหาให้เด็กๆ ได้อ่านเพิ่มเติม เช่น แนะนำหนังสือนอกเวลาในเรื่องที่เกี่ยวกับบทเรียน และการสั่งงานแต่ละครั้ง ควรมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อช่วยให้เด็กกลุ่มนี้เข้าใจได้ดีขึ้น
  • สอนใช้เครื่องมือค้นคว้า เด็กนักอ่านเขียน ค้นคว้าข้อมูลได้ดีผ่านการอ่าน การใช้ search engine อย่าง google จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ Reading/Writing Learners พ่อแม่ควรสอนวิธีการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เพื่อให้เด็กๆ ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้เครื่องมือนี้
  • สอนผ่านคีย์เวิร์ด เนื่องจากเด็กนักอ่านเขียนจดจำคำศัพท์ได้ดี ลองใช้คีย์เวิร์ดในการสอนวิชาต่างๆ เช่น การสอนเรื่องสมการ แทนที่จะให้โจทย์เพื่อฝึกหาคำตอบ อาจเริ่มจากอธิบายความหมายของคำว่าสมการก่อน แล้วจึงเขียนตัวอย่างให้ดู เพราะเด็กกลุ่มนี้มักจะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้ากับคำศัพท์
  • ทบทวนด้วยการเขียน แนะนำให้เด็กๆ ทบทวนบทเรียนด้วยการเขียนเล่าสิ่งที่เข้าใจ จะทำให้เด็กกลุ่มนี้จดจำสิ่งที่เรียนได้ดีขึ้น

Kinesthetic Learners เมื่อลงมือทำจึงจำได้ดี

Kinesthetic Learners คือ กลุ่มผู้เรียนที่จำเป็นต้องได้ลงมือทำ มีประสบการณ์จริงๆ กับเรื่องต่างๆ จึงสามารถประมวลความรู้และเข้าใจบทเรียนได้ดี เด็กๆ กลุ่มนี้ชื่นชอบที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เรียนรู้ได้ดีผ่านการสัมผัส และลงมือทำด้วยตนเอง คุณอาจจะเห็น Kinesthetic Learners ยกมือขึ้นมานับนิ้วขณะคิดเลข หรือปรบมือประกอบทำนองขณะท่องกลอน เพราะการเคลื่นไหวทำให้พวกเขาเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น

Kinesthetic Learners ในวัยทารก มักคลานเร็ว เดินเร็วกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ มีความสามารถด้านกีฬา หรือกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเต้น เมื่อต้องการประมวลข้อมูลความรู้ เด็กกลุ่มนี้มักต้องขยับร่างกาย ไม่ว่าจะยกมือ นับนิ้ว เอียงคอไปมา เคาะโต๊ะ เป็นต้น

ครอบครัว Homeschool ช่วยให้ Kinesthetic Learners เรียนรู้ดีขึ้นได้ ดังนี้

  • เรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว อาจใช้เกมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อทบทวนบทเรียน เช่น เขียนตัวเลขหลายๆ จำนวน ด้วยชอล์กไว้ที่พื้น อ่านโจทย์ ให้ลูกหาคำตอบและวิ่งไปเหยียบจำนวนที่ถูกต้อง หรือขณะอ่านหนังสือ ให้ลูกใช้นิ้วชี้ไปตามตัวอักษรที่อ่าน เพื่อให้มีสมาธิจดจ่ออยู่ได้นานขึ้น
  • ไม่คาดหวังให้เด็กนั่งเฉยๆ Kinesthetic Learners ประมวลผลข้อมูล ทำความเข้าใจบทเรียนได้ดีหากพวกเขาได้เคลื่อนไหวร่างกาย หากลูกลุกขึ้นเดินขณะคิดโจทย์เลข หรือชอบเดินไปเดินมาขณะอ่านหนังสือ ลองเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เคลื่อนไหวร่างกาย อาจมีเบรคสั้นๆ เป็นระยะเพื่อให้เด็กๆ ได้ยืดเส้นยืดสาย ก็จะช่วยทำให้พวกเขาเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
  • ทำการทดลอง ให้เด็กๆ ต่อบล็อคไม้ เมื่อเรียนรู้เรื่องกราฟ หรือมีอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ที่พวกเขาได้ลงมือทำ จะช่วยเพิ่มความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

Multimodal Learners

นอกจากการเรียนรู้ 4 แบบแล้ว เด็กบางคนก็อาจมีลักษณะการเรียนรู้แบบผสม กล่าวคือ บางคนอาจเลือกใช้การเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง กับสถานการณ์หนึ่ง แต่ใช้การเรียนรู้อีกรูปแบบสำหรับการเรียนรู้ในสถานการณ์อื่นๆ เช่น เด็กคนหนึ่งอาจเป็น Reading Learner เมื่อเรียนภาษา แต่เป็น Visual Learner เมื่อเรียนคณิตศาสตร์ พวกเขาจำเป็นต้องดูตัวอย่างการแก้โจทย์เพื่อให้เข้าใจ ซึ่ง Multimodal Learners อาจมี 2, 3 หรือ 4 รูปแบบการเรียนรู้ในตัวเองก็ได้

Multimodal Learners อีกประเภทจะเป็นกลุ่มที่ต้องใช้รูปแบบการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบในการทำความเข้าใจสิ่งๆ หนึ่ง เช่น เมื่อเรียนแก้โจทย์เลข เด็กกลุ่มนี้จะต้องอ่านวิธีทำ ฟังคำอธิบาย ดูตัวอย่างการแก้โจทย์ และลงมือทำเอง จึงสามารถเข้าใจบทเรียนได้ดี เด็กกลุ่มนี้มักถูกมองว่าเรียนรู้ช้า แต่เมื่อพวกเขาได้ประมวลข้อมูลครบถ้วนแล้ว ก็จะมีความเข้าใจสิ่งที่ศึกษาอย่างลึกซึ้งชัดเจน

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss

ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
Starfish Academy

Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss

Starfish Academy
เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

DIY กระถางต้นไม้ทำมือ

การปลูกต้นไม้ช่วยเพิ่มความร่มรื่น อีกทั้งยังใช้เป็นของตกแต่งบ้านได้อีกด้วย กระถางต้นไม้ก็เป็นส่วนสำคัญในการปลูกต้นไม้ มาฝึกทำกระ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
DIY กระถางต้นไม้ทำมือ
Starfish Academy

DIY กระถางต้นไม้ทำมือ

Starfish Academy
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6279 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
2063 ผู้เรียน

Related Videos

7 เรื่องที่ควรทำ เตรียมพร้อมวันเปิดเทอม
03:46
Starfish Academy

7 เรื่องที่ควรทำ เตรียมพร้อมวันเปิดเทอม

Starfish Academy
296 views • 2 ปีที่แล้ว
7 เรื่องที่ควรทำ เตรียมพร้อมวันเปิดเทอม
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
04:09
Starfish Academy

3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19

Starfish Academy
54 views • 2 ปีที่แล้ว
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
93 views • 1 ปีที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)
07:15
Starfish Academy

การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)

Starfish Academy
319 views • 4 ปีที่แล้ว
การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)