การประชุมนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพครู ช่วง รายงานผลการวิจัย

การประชุมนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพครู ช่วง รายงานผลการวิจัย

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 ก.ค.ศ. ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพครู OTEPC International Forum on Teaching Profession Developmemt 2023 การประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและการพัฒนาคุณภาพการสอนสู่ความสำเร็จของผู้เรียน(Teacher Performance Appraisal and Teaching Quality Development: The Making of Successful Learners) 

Starfish Labz จึงถอดองค์ความรู้ในช่วง รายงานผลการวิจัย เรื่อง A Policy Implementation Evaluation of the Academic Standing System with Performance Agreements for Government Teachers and Educational Personnel โดย ดร.พงษ์ลิขิต เพชรผล (หัวหน้าโครงการวิจัย) มาฝากกันค่ะ 

การประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามนโยบายว่าด้วยระบบวิทยฐานะ โดยมีการทำข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) ของครูในโรงเรียนรัฐบาล ขอนำเสนอ 4 ประเด็น ได้แก่ 

1) ภูมิหลังของระบบ วPA

2) ระเบียบวิธีวิจัย 

3) ผลสะท้อนของระบบ 

4) ช่วงถาม-ตอบ

ประเด็นที่ 1: ภูมิหลังกรอบการทำงานของระบบ PA 

อย่างที่เห็นเรามีผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการปฏิบัติงานของคุณครู หากคุณครูสามารถทำได้ ก็จะส่งผลถึงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนด้วย โดยแบ่งระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งวิทยฐานะไว้ ดังนี้ 1) ผู้ปฏิบัติ (Practitioner) 2) ชำนาญการ (Professional) 3) ชำนาญการพิเศษ (Senior Professional) 4) เชี่ยวชาญ (Expert) 5) เชี่ยวชาญพิเศษ (Senior Expert)  

กระบวนการวPA เริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เพราะฉะนั้น การดำรงวิทยฐานะจะต้องมีประเมินผลรายปี เป็นเวลา 3 ปีและทุกปีจะต้องมีการทำข้อตกลงในการพัฒนางาน เป็นงานที่คุณครูจะต้องทำเป็นประจำร่วมกับผอ. เพราะสามารถประเมินได้ว่า ‘ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักฐานที่สำคัญจากการสอนหรือไม่’ 

กรอบมโนทัศน์ระบบวPA แบ่งออกเป็น 4 ขั้น

ขั้นที่ 1 : ด้านความรู้สึก ความพึงพอใจ ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า คุณครูมีความรู้สึกพึงใจในระบบอย่างมากอยู่ที่ 35.2% และพึงพอใจอยู่ที่ 49.7% ซึ่งมีปัจจัยมาจาก 1) ครูได้พัฒนาตนเอง 2) ได้รับการช่วยเหลือด้านการเติบโตทางวิชาชีพ 3) ได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการ

ขั้นที่ 2 : ด้านการพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ ผ่านกฎเกณฑ์ของ PA ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า คุณครูเห็นด้วยอย่างมากที่สุดว่าได้รับการพัฒนาความรู้ และทักษะใหม่อยู่ที่ 24.0 % และเห็นด้วยอยู่ที่ 61.1% มีปัจจัยมาจาก 1) การได้รับคำแนะนำจากเพื่อนครูในการประเมินวPA ด้วยกัน 2) การได้รับการพัฒนาทักษะใหม่ๆ 

ขั้นที่ 3 : ด้านการเปลี่ยงแปลงพฤติกรรม ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า คุณครูเห็นด้วยอย่างมาก (34.3%) ว่าระบบนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคุณครู และเห็นด้วย (56.8%) มีปัจจัยมาจาก 1) การได้ใช้ทักษะใหม่ๆ ที่ได้รับจากการประเมิน วPA 2) มีการสะท้อนผลให้ฟีดแบ็กกันระหว่างที่มีการประเมินวPA 

ขั้นที่ 4 : ด้านผลกระทบในเชิงกว้างต่อองค์กรและสังคม ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า คุณครูเห็นด้วยอย่างมาก (39.3%) และเห็นด้วย (46.3%) มีปัจจัยมาจาก 1) การนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยลดเรื่องภาระเอกสารต่างๆ 2) มีการนำปรับใช้กับระบบการเลื่อนเงินเดือน ลดความซ้ำซ้อนของการประเมิน

ประเด็นที่ 2 : กระบวนการวิจัย 

คือ มีการสำรวจวิจัย และสัมภาษณ์และให้กลุ่มพิเศษ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ในระยะ 1-3 ปีที่ผ่านมา 

เป้าหมายของระบบวPA คือ 1) กำหนดค่าผลผลิตและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ ระบบพัฒนามา 2-3 ปีแล้วจนปัจจุบัน และได้วิจัยเรื่องผลลัพธ์ของครู และเอาผลสะท้อนกลับจากคุณครูและสถานศึกษาเพื่อปรับปรุงระบบต่อไป 2) มีการสำรวจอุปสรรค ข้อเสอนแนะในระยะที่ 1 ไปแล้ว 3) มีการให้ข้อเสนอในเชิงนโยบายเกี่ยวกับระบบ

หลังจากได้มีการสรุปจากการวิเคราะ์พบว่า มีครูจำนวน 94 คน จาก 104 คนได้รับการตอบรับจากระบบเรียบร้อยแล้ว 


วิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของระบบประเมิน 

  1. ต้องการให้ก.ค.ศ. พัฒนาระบบ DPA เพราะของไฟล์อัปโหลด บางครั้งผลตอบรับระบบช้า อยากให้ระบบเร็วขึ้น 
  2. ระบบในโรงเรียน อาจจะไม่ได้มีบุคลากรดูแลเรื่องนี้ ต้องมีคนดูแลโดยตรง
  3. การสนับสนุนระดับเขต บางที่ก็ได้รับผลตอบรับ และบางทีก็ยังไม่มีผลตอบรับ และมีช่องว่างของการสื่อสารกัน ซึ่งอยากให้มีการติดต่อประสานงานให้เร็วขึ้น
  4. ความเห็นของผู้ประเมิน คือ มีการขาดเรื่องการสื่อสาร และขาดความเข้าใจบริบทโรงเรียน จะเป็นไปได้ไหมที่จะจัดตั้งระบบผู้ประเมินอย่างจริงจัง
  5. ระยะเวลาในการรอผล ใช้เวลานานมาก
  6. จะต้องมีการเรียนรู้จาก Youtube และการบันทึกการสอนในชั้นเรียน

ประเด็นที่ 3: ผลสะท้อนกลับที่ได้รับจากการใช้ระบบประเมินวิทยฐานะ วPA

จุดแข็งของระบบ 

  1. การสื่อสารเกณฑ์และวิธีการต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
  2. คุณครูได้รับความเห็นจากผู้ประเมินเพื่อพัฒนาตัวเองได้ 
  3. ครูมีโอกาสได้อธิบาย และได้รับคำตอบจาก ก.ค.ศ อย่างดี แต่ถึงอย่างไรก็ตามครูก็ยังต้องการที่จะได้รับผลสะท้อนกลับ 1:1 อยู่ดี 
  4. ระบบสะดวกสำหรับครู เช่น การจัดส่งไฟล์ต่างๆ ทำได้รวดเร็วกว่าเดิม
  5. ครูและผู้อำนวยการมีการใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน และครูสามารถเชื่อมโยงกับนวัตกรรมการเรียนการสอนต่างๆ ได้ 

ข้อแนะนำ

  1. ผู้ใช้ได้รับคำแนะนำ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญมาอบรมครูเพื่อให้เข้าใจวิธีการ มากกว่าเรียนรู้จากในคู่มือ
  2. ควรมีนโยบายสนับสนุนอุปกรณ์การถ่ายทำการเรียนการสอน 
  3. สร้างมาตรฐานเพื่อการติดตามและประเมินผล เพื่อยืนยันว่ากรรมการมีเกณฑ์เดียวกัน และควรไปสถานที่จริง 
  4. คุณครูควรมีสิทธิในการใส่ข้อมูลในระบบด้วยตัวเอง เพื่อให้มีความถูกต้องและแก้ไขได้ทันที

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1587 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5420 ผู้เรียน

Related Videos

สอนอย่างไรให้ได้ 3 ผ่าน
01:12:45
Starfish Academy

สอนอย่างไรให้ได้ 3 ผ่าน

Starfish Academy
375 views • 10 เดือนที่แล้ว
สอนอย่างไรให้ได้ 3 ผ่าน
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
6083 views • 2 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
304 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
01:03:03
Starfish Academy

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA

Starfish Academy
429 views • 10 เดือนที่แล้ว
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA