สร้างรายได้จาก สมุดบันทึก KDP ทำง่าย ไม่ต้องใช้เงินทุน

Starfish Academy
Starfish Academy 21924 views • 1 ปีที่แล้ว
สร้างรายได้จาก สมุดบันทึก KDP ทำง่าย ไม่ต้องใช้เงินทุน

หากจะบอกว่าเด็กยุคใหม่โชคดีกว่าคนรุ่นพ่อแม่ ในเรื่องโอกาสหารายได้พิเศษก็คงไม่ผิดนัก ยิ่งหากว่ามีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สามารถประยุกต์ทักษะที่มีเชื่อมโยงเข้าสู่โลกออนไลน์ โอกาสการหารายได้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นทวีคูณ

สำหรับวัยรุ่นที่มีทักษะด้านศิลปะ ชื่นชอบการออกแบบ ขีดๆ เขียนๆ การทำสมุดบันทึกออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางง่ายๆ ที่อาจสร้างรายได้โดยไม่ต้องลงทุนสักบาท

บทความนี้ Starfish Labz จะพาไปรู้จักับสมุดบันทึก Amazon KDP ไอเดีย และวิธีการวางจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ในเวลาว่างกันค่ะ 

Amazon KDP คืออะไร

สำหรับใครที่มีความฝันอยากผลิตผลงานวางจำหน่าย เปิดสำนักพิมพ์เล็กๆ ของคุณเอง ในยุคนี้ความฝันเป็นจริงได้ง่ายๆ เพราะ Amazon.com เว็บไซต์จำหน่ายหนังสือออนไลน์ยักษ์ใหญ่ที่ใครๆ ก็รู้จัก ได้เปิดให้บริการ Amazon KDP หรือ Kindle Direct Publishing ที่ให้ผู้ใช้จำหน่าย E-book, สมุดบันทึก, แพลนเนอร์ ฯลฯ ที่เราออกแบบได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุน เพียงแต่ต้องมีไอเดีย ลงแรง ลงเวลา ในการออกแบบ เมื่อผลงานพร้อมแล้วก็จำหน่ายผ่าน Amazon KDP ได้เลย วิธีการจำหน่ายก็เพียงแค่อัปโหลดผลงานของเราลงไป เมื่อมีการสั่งซื้อ Amazon KDP จะพิมพ์ผลงานของเรา จัดทำรูปเล่ม แล้วส่งให้ถึงมือลูกค้า เรามีหน้าที่เพียงออกแบบ และอัปโหลดเท่านั้นเอง

สำหรับวิธีการจ่ายเงิน Amazon KDP จะคำนวณต้นทุนในการจัดพิมพ์ แล้วหักจากราคาขายที่เราตั้งไว้ ยอดที่เหลือคือรายได้ของเราที่จะโอนเข้าบัญชีตามเงื่อนไขของ Amazon KDP นั่นเอง

โดยเงื่อนไขการจ่ายเงินสำหรับ E-book จะอยู่ตั้งแต่ 35-70% จากราคาขายที่เราตั้งไว้ ขึ้นอยู่ว่าเราเลือกเปอร์เซ็นต์อย่างไรตอนสมัคร แต่สำหรับการจำหน่าย Paperback หรือพวกสมุดบันทึก หรือแพลนเนอร์ต่างๆ จะอยู่ที่ 70% จากราคาที่ตั้งไว้ ไม่รวมภาษีและค่าตีพิมพ์ 

หมายความว่าหากเราตั้งราคาไว้ 100 บาท ส่วนแบ่งที่เราจะได้คือ 70 บาท หักภาษีและค่าตีพิมพ์ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและความหนา ซึ่ง Amazon KDP จะจ่ายเงินผ่าน Payoneer ดังนั้นก่อนอัปโหลดผลงานเราต้องมีสมัครบัญชีผู้ใช้ของ Payoneer ก่อนด้วย

เรื่องต้องรู้ สู่การสร้างรายได้ผ่าน KDP

  • เข้าใจเงื่อนไขและระบบของ Amazon KDP - สำหรับมือใหม่อาจต้องใช้เวลาศึกษาเงื่อนไข และวิธีการสมัครสมาชิกทั้งสมาชิก Amazon และสมัคร Payoneer ซึ่งเป็นช่องทางการรับเงิน นอกจากนี้ยังต้องดูกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ชนิดและขนาดไฟล์ต่างๆ ที่สามารถอัปโหลดได้ ศึกษาเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ในเบื้องต้นนี้อาจมีรายละเอียดมาก ขออย่าเพิ่งถอดใจ การศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ให้กระจ่างก่อนเริ่มงาน ช่วยป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งอาจทำให้เรายิ่งเสียเวลามากกว่าเดิม
  • เลือกโปรแกรมใช้งาน - โปรแกรมออกแบบยุคใหม่มีให้เลือกมากมาย และหลายโปรแกรมก็ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อนเหมือนก่อน สำหรับมือใหม่แนะนำให้ลองใช้ Canva ซึ่งเป็นโปรแกรมออกแบบสำเร็จรูป ใช้ Photoshop, Illustrator ไม่เป็น ก็สามารถใช้ Canva ได้ หรือใครมีอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ของ Apple ก็สามารถใช้แอปพลิเคชัน Keynote ในการออกแบบได้เช่นกัน 
  • จัดตารางการทำงาน - เอาล่ะ! เมื่อพร้อมแล้ว ก็ได้เวลาทำงาน แต่เพราะงานนี้เราไม่ต้องส่งครู ไม่มีเดดไลน์ ดังนั้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าเราอาจละเลยจนทำงานไม่เสร็จ ว่าแล้วลองจัดตารางการทำงาน วางแผนว่าจะใช้เวลาต่อชิ้นงานนานแค่ไหน เช่น หากกำหนดว่า 1 เดือน ก็ลองใส่รายละเอียดว่า ภายใน 1 เดือนนั้นจะทำอะไรบ้างเพื่อให้ชิ้นงานลุล่วงไปได้ ควรวางแผนใช้เวลาว่างอย่างเหมาะสม ไม่กระทบการเรียนและไม่กดดันตัวเองเกินไป
  • มีความละเอียดรอบคอบ - แม้จะเป็นแค่สมุดโน๊ต แต่ก็ต้องใส่ใจรายละเอียดไม่ต่างจากการผลิตหนังสือสักเล่มเช่นกัน ควรตรวจทานผลงานทุกครั้งก่อนอัปโหลด แม้จะมีตัวหนังสือไม่กี่คำ ก็ต้องมั่นใจว่าไม่มีตัวไหนที่สะกดผิด ลวดลายต่างๆ เป็นไปตามที่เราต้องการ ไม่ตกขอบ กลับหัว ฯลฯ ในการอัปโหลดอย่าลืมใส่รายละเอียดผลงาน เช่น ชื่อผลงาน ขนาด จำนวนหน้า รวมทั้งกำหนดคีย์เวิร์ดเพื่อให้ผลงานของเราถูกค้นพบได้ง่าย 

ไอเดียออกแบบสมุดบันทึกยังไงให้ปัง

เมื่อพูดคำว่าสมุดโน๊ตหลายคนอาจสงสัยว่า จะออกแบบอะไรในเมื่อสมุดโน๊ตก็เป็นเพียงหน้ากระดาษเปล่าๆ เอาไว้ให้จดบันทึกไม่ใช่หรือ

จริงอยู่ที่สมุดโน๊ตมีไว้ให้จดบันทึก จึงมีพื้นที่ว่างๆ มากกว่าหนังสือทั่วไป กระนั้น เราก็สามารถออกแบบหน้าปก ใส่ไอเดีย หรือออกแบบสมุดโน๊ตเป็นธีมต่างๆ ได้หลากหลาย หากนึกไม่ออก เรามีไอเดียมาฝาก

  • สมุดบันทึกเฉพาะกลุ่ม : เป็นการออกแบบสมุดบันทึกที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เช่น Diary for Teenage Girl, Boy Daily Journal, Teacher’s Diary หรือสมุดบันทึกธีมนักกีฬา นักเต้น สมุดบันทึกสำหรับแฟนคลับกลุ่มต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเราได้ไอเดียแล้ว ก็จะช่วยให้เราออกแบบได้ง่ายขึ้น เช่น สำหรับเด็กผู้ชาย ก็อาจเลือกใช้โทนสีเข้ม สีน้ำเงิน สีเทา สีน้ำตาล สำหรับผู้หญิงอาจใช้โทนหวานแหวว หรือสมุดบันทึกสำหรับนักกีฬา ก็อาจสอดแทรกคำคม แรงบันดาลใจเอาไว้ในแต่ละหน้า เพิ่มความน่าสนใจยิ่งขึ้น
  • สมุดบันทึกแบบ Planner : หลายคนน่าจะรู้จัก Planner ซึ่งจะคล้ายกับปฏิทิน แต่มาในรูปแบบสมุดบันทึก ให้เราได้วางแผนกิจกรรมและจดบันทึก To do list ในแต่ละวัน ส่วนใหญ่ Planner จะแบ่งแต่ละหน้าออกเป็นเดือนต่างๆ ในแต่ละเดือนมีช่องให้เขียนข้อความได้ ซึ่งนอกจาก Planner ทั่วไปแล้ว เรายังอาจทำ Planner สำหรับโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น Wedding Planner สำหรับวางแผนการแต่งงาน หรือ Budget Planner สำหรับวางแผนการเงินก็ได้
  • สมุดบันทึกแบบ Bujo : Bujo ย่อมาจากคำว่า Bullet Journal เป็นสมุดบันทึกที่ไว้จดไอเดีย รวมรวบความคิดอย่างรวดเร็วในลักษณะเป็นข้อๆ แต่ละข้อไม่ยาวมากนัก ว่ากันว่าช่วยจัดระบบความคิดให้เป็นระบบผ่านหัวข้อต่างๆ การออกแบบ Bujo ทำได้หลากหลาย เช่น เลือกสัญลักษณ์เก๋ๆ ใช้แทนตัว Bullet ออกแบบหน้า Index รวมถึงหัวข้อสำหรับการบันทึก เช่น Daily Ideas, Next week to do list, My Bucket List เป็นต้น 

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนที่ชื่นชอบการเขียนไดอารี หรือมีทักษะด้านการออกแบบ อาจเริ่มสนใจหารายได้จากการออกแบบสมุดบันทึกเพื่อจำหน่ายผ่าน Amazon KDP กันบ้างแล้ว สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นอาจต้องใช้เวลากว่าจะมีรายได้เข้ามา แต่ถ้าไม่ถอดใจ หมั่นพัฒนาฝีมือ ศึกษาเรื่องคีย์เวิร์ดที่เหมาะสม สักวันย่อมสร้างรายได้ได้อย่างแน่นอน

แหล่งอ้างอิง (Sources):

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

อาชีพที่เป็นที่ต้องการในอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

ก้าวแรกก่อนเป็นผู้ประกอบการ

ก้าวแรกก่อนเป็นผู้ประกอบการ สร้างอาชีพเสริมจากสิ่งจากที่ชอบ วิธีการสร้าง concept ของแบรนด์ให้น่าสนใจ รวมไปถึงช่องทาง ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
ก้าวแรกก่อนเป็นผู้ประกอบการ
Starfish Future Labz

ก้าวแรกก่อนเป็นผู้ประกอบการ

Starfish Future Labz
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1590 ผู้เรียน
อาชีพที่เป็นที่ต้องการในอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำสิ่งที่ชอบ สร้างอาชีพที่ใช่

เชื่อว่าหลายๆ คนอยากสร้างอาชีพจากสิ่งที่ชอบและถนัด และนำสิ่งที่เรียนมาต่อยอดเป็นอาชีพที่ใช่สำหรับตัวเอง แต่ปัญหาของแต่ละคนอยู่ ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
ทำสิ่งที่ชอบ สร้างอาชีพที่ใช่
Starfish Future Labz

ทำสิ่งที่ชอบ สร้างอาชีพที่ใช่

Starfish Future Labz
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
3:00 ชั่วโมง

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
1003 views • 1 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "
05:51
Starfish Academy

ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "

Starfish Academy
272 views • 1 ปีที่แล้ว
ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "
Shutterstock ถ่ายภาพสร้างรายได้
02:27
Starfish Academy

Shutterstock ถ่ายภาพสร้างรายได้

Starfish Academy
246 views • 2 ปีที่แล้ว
Shutterstock ถ่ายภาพสร้างรายได้
ตอบคำถามคาใจ? ที่ "แม่ค้ามือใหม่" อยากรู้?
02:49
Starfish Academy

ตอบคำถามคาใจ? ที่ "แม่ค้ามือใหม่" อยากรู้?

Starfish Academy
50 views • 3 ปีที่แล้ว
ตอบคำถามคาใจ? ที่ "แม่ค้ามือใหม่" อยากรู้?