"ตรีนุช" ยืนยัน ต.ค.นี้ เปิดให้ยื่นขอมีวิทยฐานะตามเกณฑ์ PA
รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า ประเด็นที่อยากสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือ เกณฑ์ PA ขอให้เข้าใจตรงกันว่าเราจะดำเนินการต่อไปตามแนวทางที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ. ) กำหนดไว้ ซึ่งตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้ เป็นต้นไปทุกสถานศึกษาจะสามารถเข้าใช้งานระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล หรือ DPA ได้ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าเกณฑ์ PA ถือเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้ครูเกิดความสับสน ดังนั้นตนจึงให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ไปพูดคุยกันว่าที่ผ่านมามีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างไรบ้าง เพื่อคลายข้อสงสัยและความสับสนให้กับครู โดยเบื้องต้นจะให้ สพท.เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการขยายผลสร้างความเข้าใจในการใช้งานระบบ DPA ให้แก่สถานศึกษาในสังกัด และเราจะเปิดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณสมบัติยื่นคำขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ PA ได้ตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามหลังจากนี้หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับเกณฑ์ PA หลังจากนี้จะต้องให้คณะกรรมการ ก.ค.ศ. ได้พิจารณาออกเป็นมติ และให้มีหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการต่อไป
“การที่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน สับสนเรื่องเกณฑ์ PA ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของช่วงเริ่มต้น ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้มอบหมายให้ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ. ) และเลขาธิการ ก.ค.ศ. หารือร่วมกัน เพื่อสร้างทีมงานมาทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ครูในเขตพื้นที่ โดยใช้ชื่อทีมงานนี้ว่า “PA Support Team” ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และเพื่อนครูบางส่วน จำนวนเขตพื้นที่ฯละ 8–15 คน รวมประมาณ 2,500 คน โดยทีมงานนี้จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนครูอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ขอให้ผอ.สพท.ทุกเขตกำกับ ดูแล การดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องเกณฑ์ PA ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของ ศธ.” น.ส.ตรีนุช กล่าว
รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับปีงบประมาณ 2566 ภารกิจด้านการศึกษาที่ได้กำหนดเป็นนโยบายไว้ยังต้องพัฒนาก้าวไปข้างหน้า อย่างไม่หยุดนิ่ง นอกจากนี้ ศธ.ยังกำหนดให้ทุกหน่วยงานในสังกัดนำ Soft Power ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติเป็นภูมิปัญญาของคนไทย มาเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนด้วย โดยขอให้ สพฐ. ดำเนินการให้ครบวงจร ตั้งแต่ร่วมกับผู้รู้จัดทำหลักสูตร สร้างความร่วมมือกับปราชญ์ชุมชน ใช้ประโยชน์จากบริบทพื้นที่ต่อยอดการเรียนรู้ ตลอดจน จัดเวทีให้นักเรียนได้มีโอกาสนำเสนอความรู้ความสามารถ แสดงถึงพลังของวัฒนธรรมไทย.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
Octava Foundation และ Starfish Education ร่วมมือให้ทุน เพิ่มศักยภาพโรงเรียนผ่านนวัตกรรมการศึกษา เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กไทย ด้วยโครงการ Future School Transformation Program
15.08.24
รองผู้ว่าฯ กทม. ชื่นชม โรงเรียนวัดคฤหบดี นำ STEAM Design Process สู่ห้องเรียน สร้างเด็กยุคใหม่ สนุกกับการเรียนรู้
09.08.24
ครม. เห็นชอบแต่งตั้ง รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567
14.08.24
ศธ. ดึงภาคีเครือข่ายทั่วโลก ประชุมสภาการศึกษานานาชาติ
02.08.24
Starfish Education ร่วมจัดประชุมสมัชชาสภาการศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด “All for Education” จับมือไว้ สร้างการศึกษาไทยไปด้วยกัน
23.08.24
รมว.ศธ. สั่งเร่งโยกย้ายข้าราชการทดแทนตำแหน่งเกษียณทั้งหมดไม่เกินวันที่ 1 ต.ค.67 พร้อมขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย
09.08.24