Gifted Child เด็กปัญญาเลิศ กับการเรียน Homeschool

Starfish Academy
Starfish Academy 6984 views • 1 ปีที่แล้ว
Gifted Child เด็กปัญญาเลิศ กับการเรียน Homeschool

เพราะธรรมชาติสร้างให้เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การเรียนการสอนเพียงรูปแบบเดียวจึงอาจไม่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของเด็กทุกคนได้ โฮมสคูลจึงกลายเป็นการศึกษาทางเลือก สำหรับครอบครัวที่ต้องการออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับธรรมชาติของเด็กแต่ละคนมากที่สุด โดยเฉพาะสำหรับเด็ก Gifted หรือเด็กปัญญาเลิศ โฮมสคูลอาจเป็นแนวการศึกษาที่ช่วยดึงศักยภาพของเด็กๆ กลุ่มนี้ออกมาได้

ลูกเราเข้าข่าย Gifted Child หรือเปล่า

เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child) หรือบางคนเรียกว่าเด็กอัจฉริยะ คือเด็กกลุ่มที่มีไอคิวระหว่าง 130-140 หากมองเผินๆ เด็กปัญญาเลิศอาจดูคล้ายเด็กสมาธิสั้น เนื่องจากสติปัญญาที่สูงกว่าเด็กทั่วไป ทำให้เด็กปัญญาเลิศมักสงสัยใคร่รู้ตลอดเวลา อยู่ไม่นิ่ง มีพลังงานมาก แต่หากสังเกตดีๆ เด็กปัญญาเลิศ จะมีสมาธิจดจ่ออย่างมากในสิ่งที่ตนเองสนใจ และอาจค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมได้เองจนผู้ใหญ่อย่างเราๆ ประหลาดใจก็เป็นได้ ทั้งนี้ลักษณะโดยทั่วไปของเด็กปัญญาเลิศ คือ ฉลาด เรียนรู้เร็ว สมาธิดี ความจำดี ช่างสังเกต ชอบซักถาม มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ปัญหาได้ วาดรูปเก่ง ฉลาดตั้งคำถามเชื่อมั่นในตนเอง อดทนและพยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ ชอบช่วยเหลือ เมื่อเป็นเด็กเล็ก มักพูดได้ก่อนที่จะเดินได้ หากพ่อแม่สงสัยว่าลูกเป็นเด็กปัญญาเลิศ อาจพาลูกเข้าประเมินสติปัญญาและพัฒนาการกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อขอคำแนะนำการดูแลที่เหมาะสมได้

บทบาทพ่อแม่เมื่อดูแลเด็กปัญญาเลิศ

เด็กปัญญาเลิศ มักมีความสนใจและความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ มากกว่าเด็กทั่วไปในวัยใกล้เคียงกัน ทำให้พ่อแม่อาจรู้สึกว่าต้องใช้พลังมากในการรับมือพฤติกรรมของลูก ทั้ง ความช่างสงสัย ต่อรองเก่ง หงุดหงิดง่ายเมื่อสิ่งที่หวังไม่เป็นตามที่คิด (เด็กปัญญาเลิศมักมีความเป็น Perfectionist) หรือเมื่อเข้าสังคมกับเพื่อนวัยเดียวกัน เด็กปัญญาเลิศ มักคาดหวังให้เพื่อนทำสิ่งที่ถูกต้องตามมาตราฐานของตนเอง จนอาจทำให้มีปัญหาการเข้าสังคมได้

ด้านการเรียนรู้ก็เช่นกัน แม้จะหัวไว เรียนรู้เร็ว แต่เด็กปัญญาเลิศมักมีมาตรฐานสูง บางครั้งชอบออกคำสั่ง อาจเจ้ากี้เจ้าการเพื่อน ครู และพ่อแม่ รวมทั้งอาจมีอารมณ์อ่อนไหว เครียด เมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นตามที่หวัง ทำให้ผู้ใหญ่มองว่าต่อต้าน ดื้อ หรือชอบทำอะไรต่างจากคนอื่น 

บทบาทของพ่อแม่ต่อการดูแลเด็กปัญญาเลิศ จึงเป็นการช่วยให้ลูกเรียนรู้และเข้าใจความรู้สึกของตนเองและคนรอบข้าง ช่วยให้ลูกมีความคิดยืดหยุ่นและปรับตัวตามสถานการณ์แม้บางอย่างจะไม่เป็นดั่งใจ ชี้ให้ลูกเห็นความแตกต่างหลากหลายในสังคม ที่แม้บางอย่างจะไม่ได้มาตราฐานของลูก ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นผิด สอนลูกให้มองเห็นคุณค่าของความพยายามมากกว่าผลลัพธ์ปลายทาง ในด้านการศึกษา อาจมองหาโรงเรียนที่มีความเข้าใจเรื่องเด็กปัญญาเลิศ หรืออาจเลือกจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูลให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กปัญญาเลิศ

การศึกษาของเด็กปัญญาเลิศ

เมื่อพูดถึงเรื่องการเรียนของเด็กปัญญาเลิศ มีงานวิจัยต่างประเทศหลายชิ้นที่ระบุว่าหลักสูตรที่เหมาะสมกับเด็กปัญญาเลิศมีความจำเป็น งานวิจัยเรื่อง Do we change gifted children to fit gifted programs, or do we change gifted programs to fit gifted children? โดย  Olszewski-Kubilius (2003) พบว่า เด็กที่มีพรสวรรค์สูงบางรายอาจต้องการหลักสูตรพิเศษที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ได้เต็มที่ แต่เด็กที่มีพรสวรรค์ปานกลางอาจไม่ต้องการ อย่างไรก็ดี กระนั้น เด็กปัญญาเลิศทุกคนควรได้เรียนรู้ในหลักสูตรที่ส่งเสริมศักยภาพของพวกเขา โดยอาจเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มหรือเดี่ยวก็ได้ และจะจัดภายในหรือภายนอกห้องเรียนก็ได้ 

โฮมสคูล จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับครอบครัวที่มีลูกเป็นเด็กปัญญาเลิศ เพราะพ่อแม่ในฐานะผู้จัดการศึกษา สามารถออกแบบหลักสูตร รูปแบบการเรียน ให้เหมาะกับลูกของตนเองได้ และอาจจัดกิจกรรมเสริมเพื่อให้ลูกได้ทำงานกลุ่มและเข้าสังคมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน

สอน Gifted Child สไตล์โฮมสคูล 

เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะโฮมสคูลอาจเป็นคำตอบที่เหมาะสมสำหรับเด็กปัญญาเลิศ สิ่งที่พ่อแม่เป็นกังวลต่อมาคือ แล้วจะสอนลูกอย่างไรดี? จริงๆ แล้วคำตอบนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัวค่ะ หากพ่อแม่ใกล้ชิดและรู้จักบุคลิก ลักษณะนิสัยใจคอของลูก ก็น่าจะพอออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะกับเด็กๆ ได้ แต่หากยังนึกไม่ออก ลองใช้คำแนะนำต่อไปนี้เป็นแนวทางได้ค่ะ

  • สนับสนุนตามความสนใจ เด็กปัญญาเลิศ หากสนใจเรื่องใดแล้ว ก็มักจะค้นคว้า หาข้อมูลไม่หยุดหย่อน ลูกๆ อาจขอซื้อหนังสือเกี่ยวกับหัวข้อที่ชอบเล่มแล้วเล่มเล่า หรือลงเรียนหลักสูตรออนไลน์พร้อมกันหลายหลักสูตร หากประเมินดูแล้วว่าครอบครัวพอมีแรงสนับสนุน ก็ลองสนับสนุนลูกให้เต็มที่ อย่าจำกัดลูกอยู่แค่เพียงสิ่งที่คุณเลือกให้ แต่หากคิดว่าสิ่งที่ลูกขอ มากเกินไป อาจเสนอทางเลือกอื่นๆ เช่น แทนที่จะลงเรียนออนไลน์เพิ่ม แม่จะพาไปพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ได้เห็นของจริงแทน สุดท้ายแล้วคุณอาจประหลาดใจว่าลูกสามารถค้นคว้าหาความรู้นอกเหนือจากสิ่งที่เราแนะนำได้มากมายเพียงใด
  • เรียนรู้แบบ Project-based learning พ่อแม่อาจพบว่าเด็กปัญญาเลิศ อ่านหนังสือและทำความเข้าใจบทเรียนทั้งบทจบภายในไม่กี่ชั่วโมง ทั้งที่เด็กทั่วไปใช้ระยะเวลาเรียนเป็นสัปดาห์ หากเป็นเช่นนี้ ลองใช้เวลาที่เหลือให้ลูก สร้างสรรค์ project งานเกี่ยวกับบทเรียนที่เพิ่งอ่านจบ โดยให้ลูกเลือกสิ่งที่สนใจในบทเรียน และทำการค้นคว้าเพิ่มเติม และหาวิธีการนำเสนอเอง วิธีนี้ทำให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนและมีความรู้ในหัวข้อที่ศึกษากว้างและลึกมากขึ้น 
  • หาผู้ช่วย บางหัวข้อที่ลูกมีความสนใจจริงจัง เด็กปัญญาเลิศอาจค้นคว้าจนมีความรู้นำหน้าพ่อแม่ไปหลายระดับ ดังนั้น อาจลองหาผู้ช่วย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ มาให้ความรู้แก่เด็กๆ เช่น หากลูกสนใจเรื่องการปลูกผักออร์แกนิค อาจพาลูกลงพื้นที่ไปคุยกับคนที่ทำฟาร์มผัก ขอความรู้และประสบการณ์จากเขา หากลูกสนใจเรื่องการเขียนโปรแกรม คุณพ่อคุณแม่อาจชวนเพื่อนที่เป็นโปรแกรมเมอร์ มาให้ความรู้แก่ลูก เป็นต้น
  • It’s ok to not be perfect ไม่ว่าจะเป็นเด็กปัญญาเลิศ หรือเด็กทั่วไป ทุกคนล้วนมีจุดอ่อนค่ะ คุณอาจพบว่าลูกอ่านหนังสือเร็ว จับใจความเก่ง ทักษะทางภาษาเป็นเลิศ แต่เมื่อถึงการคำนวณ แค่ลบเลขสองหลักยังผิด พ่อแม่ต้องยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา ถึงจะเป็นเด็กปัญญาเลิศก็ไม่ได้หมายความว่าจะเก่งทุกด้าน ในด้านที่ลูกอ่อน ควรให้เวลา หาวิธีสอนที่ลูกเรียนรู้ได้ดีที่สุด ไม่เปรียบเทียบและตำหนิลูก รวมทั้งบอกเด็กๆ ให้เข้าใจว่า เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ไม่มีใครที่จะเก่งหมดทุกด้านโดยไม่เคยผิดพลาด
  • ไม่คาดหวัง เมื่อค้นพบว่าลูกเป็นเด็กปัญญาเลิศ พ่อแม่บางคนอาจคาดหวังในตัวลูกมากขึ้น ซึ่งความรู้สึกนี้อาจส่งผลเสียทั้งต่อพ่อแม่และตัวเด็กเอง อย่าลืมว่าเด็กก็คือเด็ก และพวกเขาจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อมีความสุข พ่อแม่อาจต้องหมั่นตรวจสอบความรู้สึกตัวเองว่าเรากำลังคาดหวังและกดดันลูกหรือเปล่า และเตือนตัวเองบ่อยๆ ว่า เป้าหมายของการทำโฮมสคูล คือ ให้ลูกเรียนรู้อย่างมีความสุข ไม่ใช่เพื่อเป็นเลิศเหนือใคร ไม่อย่างนั้น คุณอาจเผลอสร้างแผลในในให้ลูกโดยไม่รู้ตัว

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
เกร็ดความรู้และเคล็ดลับเพื่อพ่อแม่
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
4705 ผู้เรียน
เกร็ดความรู้และเคล็ดลับเพื่อพ่อแม่
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

การจะเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ลูกๆ ต้องการแค่แบบอย่างที่ดี เพราะพ่อแม่คือต้นแบบในการดำเนินชี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ
Starfish Academy

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

Starfish Academy

Related Videos

Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
43:23
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย

Starfish Academy
219 views • 4 เดือนที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
2729 views • 1 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
04:09
Starfish Academy

3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19

Starfish Academy
53 views • 1 ปีที่แล้ว
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
79 views • 8 เดือนที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน