วิธีการจัดการห้องเรียนอนุบาลโดยไม่ต้องทำโทษเด็ก

การให้การเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็กในวัยนี้มีความอยากรู้ อยากเห็น มักต้องการการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ประสบการณ์การเรียนรู้ ประสาทสัมผัส จากบุคคลใกล้ตัวเช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครู ซึ่งส่งผลให้เกิดพัฒนาการซึ่งเป็นรากฐานของบุคลิกภาพ อุปนิสัย การเติบโตของสมองที่มีผลต่อสติปัญญา จากกระแสที่ครูทำร้ายเด็กอนุบาลในโรงเรียนเป็นกระแสที่แรงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ครูมีความอดทนน้อยลง หรือเด็กมีความประพฤติที่ก้าวร้าวมากขึ้นประเด็นนี้ไม่มีใครสามารถตอบได้ แต่หน้าที่ของความเป็นครู และการที่เราเลือกที่จะมาเป็นครู โดยเฉพาะครูอนุบาลจะต้องมีความอดทน อดกลั้น มีเมตตากับเด็ก และมองถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และจัดการบริหารในห้องเรียนในเชิงบวก ซึ่งวิธีการในการดูแลเด็กโดยที่ไม่ต้องใช้ความรุนแรง หรือลงโทษเด็กแต่สามารถปรับพฤติกรรมในห้องเรียนได้ มีดังนี้
1. อธิบายข้อตกลงของการอยู่ร่วมกันในห้องเรียนให้กับเด็กทุกครั้งก่อนเข้าห้องเรียน
2. สร้างวินัยเชิงบวกซึ่งเป็นวิธีจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ใช้วิธีการลงโทษ มีจุดมุ่งหมายให้เด็กรู้จักควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตนเอง มากกว่าที่จะโดนบังคับ เพื่อให้เด็กเกิดการปรับพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้น และมีผลต่อเนื่อง
3. สร้างแรงจูงใจหล่อหลอมพฤติกรรม เช่น เมื่อเด็กลุกจากที่นั่ง ครูแสดงอาการไม่สนใจ แต่เมื่อเด็กนั่งเรียบร้อยครูจะชม เป็นต้น
4. ครูให้คำชมเชย เช่น เก่งมาก ดีมาก ยอดเยี่ยม หรือให้รางวัลเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เช่น ให้ดาว หรือให้สติ๊กเกอร์
5. เปิดโอกาสให้เด็กมีทางเลือกในเชิงบวกโดยไม่ใช้การสั่งหรือบังคับ เช่น เลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้งกิจกรรมเกมการศึกษา
6. ใช้กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แทนการทำโทษ เช่น กวาดห้อง เก็บขยะ เช็ดโต๊ะ เอาขยะในห้องไปทิ้ง ลบกระดาน
7. ให้ช่วยครูทำงาน เช่น เก็บหนังสือ แจกใบงาน เก็บอุปกรณ์การเรียนในห้อง
8. เวลาเด็กคุยกันในห้องเรียนครูจะจัดกิจกรรมที่สนุกสลับกับบทเรียน เช่น เกม ร้องเพลง บทบาทสมมติ ให้เด็กมีส่วนร่วม และแสดงออกในกิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิดความสนุก พัฒนาด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและสติปัญญา
9. หากเด็กคุยกันเวลาเรียนให้เด็กสลับเปลี่ยนที่นั่งกันชั่วคราวกับเพื่อนที่เรียบร้อย
10. ฝึกสมาธิสลับ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หรือหลังการสอน
11. ไม่ใช้คำพูดที่อาจเป็นการปิดกั้นพัฒนาการเด็ก เช่น ห้าม อย่า หยุด ไม่ กับเด็ก
12. เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ควรให้เด็กรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เช่น ทำน้ำหกให้เด็กเช็ดทำความสะอาดด้วยตนเอง ทำของในห้องตกหล่นก็รู้จักเก็บด้วยตนเอง
นอกจากเทคนิคดังกล่าวแล้ว คุณครูสามารถบริหารจัดการห้องเรียนอนุบาล ได้ด้วยการจัดกิจกรรมแบบ Active Learning คือการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และออกแบบสภาพแวดล้อม บรรยากาศในการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นและเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งก็คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำและเลือกเรียนรู้ตามสิ่งที่ตนเองสนใจ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน ก็จะทำให้เด็กเกิดความสุขและสนุกกับการเรียนในห้องเรียน รวมทั้งยังได้ส่งเสริมให้เกิดทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย
บทความใกล้เคียง
Related Courses
Creative Independent Study Classroom Design

ทำความรู้จักกับวิชา IS ในอีกมุมมองหนึ่ง สอนอย่างไรให้นักเรียนคิดเป็น วิธีการไหนที่ทำให้นักเรียนสนใจ ไม่น่าเบื่อ แถมยังสามารถนำ ...


Creative Independent Study Classroom Design

Play and Learn classroom design

Play and Learn classroom design ออกแบบห้องเรียนให้สนุกด้วยเล่นปนเรียน เรียนรู้ความหมายของการเล่นปนเรียน ประ ...
ทำไมการศึกษาไทยต้องเปลี่ยนแปลง

ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาคงไม่ใช่แค่หน้าที่ของ “ครู” แต่คือผู้ที่มีความเชื่อและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา เพื่อก ...
การประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง

การประเมินตามสภาพจริงเป็นการประเมินการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเน้นประเมินทักษะการคิด ความสามาร ...
Related Videos

บูรณาการข่าวสารกับการเรียนรู้ 3 ถ้ำหลวงโมเดล
