การเมือง ไม่ใช่เรื่องของเด็กๆ จริงหรือ?

Starfish Academy
Starfish Academy 21195 views • 4 ปีที่แล้ว
การเมือง ไม่ใช่เรื่องของเด็กๆ จริงหรือ?

ช่วงเดือนที่ผ่านมา หลายคนอาจเห็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนที่ออกมาเสนอข้อเรียกร้องทางการเมืองต่อรัฐบาล โดยเฉพาะทางโซเชียล มีเดีย อย่าง ทวิตเตอร์ จะพบว่าจำนวนผู้ให้ความสนใจเหตุการณ์บ้านเมือง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และกลุ่มอายุของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะด้วยการแสดงความคิดเห็น หรือออกไปร่วมชุมนุมนั้น กว่าครึ่งเป็นเยาวชนที่บางคนยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าทุกคนที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี สามารถเลือกที่หาข้อมูลที่ตนเองสนใจได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้เกิดการพูดคุย แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น จนนำไปสู่การเรียกร้องและนัดหมายการชุมนุม ซึ่งในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง อาจพบว่านี่เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ลูกหลานของเรามีชุดข้อมูลความรู้ มีความคิด การแสดงออก และมีเหตุมีผลที่เป็นตัวของตัวเองอย่างมาก จนอาจทำให้ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ไม่สบายใจ ว่าแล้วเราลองมาทำความเข้าใจเด็ก ๆ ยุคนี้ และหาวิธีรับมืออย่างเป็นประชาธิปไตย ให้ถูกใจลูกวัยรุ่นกันดีกว่าค่ะ 

การเมือง เรื่องของใคร?

ก่อนจะบอกได้ว่าเด็ก ๆ ควรยุ่งเรื่องการเมืองหรือไม่ เราอาจต้องมาทำความเข้าใจคำว่าการเมืองกันก่อนค่ะ ซึ่งการเมืองที่เราพูดถึงอยู่ทุกวันนี้ น่าจะหมายถึงระบอบการปกครองอันเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง ซึ่งประเทศไทยที่เรียกตัวเองว่ามีการปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” นั้น คำว่าประชาธิปไตย มีความหมายว่าอย่างไร และใครควรมีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง มาหาคำตอบกันค่ะ

จากเอกสารวิชาการส่วนบุคคล เรื่อง ประชาธิปไตย หลักพื้นฐานสำหรับสามัญชน โดย ดร.แสงชัย อภิชาติธนพัฒน์ วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ประชาธิปไตย คือ การปกครองโดยประชาชน เมื่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นอำนาจ สูงสุดเป็นของประชาชน ประชาชนทุกคนจึงมีสิทธิและเสรีภาพซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและอยู่เหนือ อำนาจรัฐ รัฐจะก้าวล่วงเข้ามาจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ได้

จากความหมายดังกล่าว หากถามว่าการเมือง เป็นเรื่องของใคร ก็คงจะไม่ผิดหากจะกล่าวว่า การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยนั้น เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน มีสิทธิเรียกร้องแสดงความคิดเห็นได้ภายใต้กฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลซึ่งกันและกัน

บทบาทของพ่อแม่ เมื่อลูกแคร์เรื่องบ้านเมือง

มีคู่มือและบทความต่างๆ มากมายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก ไม่ว่าจะในแง่ร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา แต่เมื่อมาถึงเรื่องบทบาทของเด็ก ๆ ในฐานะพลเมือง พ่อแม่ผู้ปกครองอาจไม่คุ้นเคยนัก และอาจไม่รู้ว่าจะต้องรับมืออย่างไร โดยเฉพาะเมื่อจู่ ๆ เยาวชนภายในบ้านเกิดมีความตื่นตัวทางการเมือง มีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองสูง เริ่มแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ ในสังคมอย่างตรงไปตรงมา พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรให้คำแนะนำอย่างไรบ้าง ในฐานะที่เราต่างเป็นพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

  • รับฟัง คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับว่าเด็กน้อยที่เราเคยให้นม ป้อนข้าว บัดนี้พวกเขาโตพอที่จะมีความคิดเป็นของตัวเองแล้ว และเสียงของเราที่เด็กน้อยเคยรับฟัง กลับค่อย ๆ ถูกทำให้เบาลง ด้วยเสียงอื่น ๆ รอบกายลูก แม้ว่าเราพยายามเปล่งเสียงให้ดังเพียงใด ก็อาจเข้าไม่ถึงใจลูกเหมือนเดิม แทนที่จะน้อยใจ หรือรู้สึกเสีย ลองปรับมุมมองว่า ที่เราเลี้ยงดูเขามาเพื่อให้เติบโต มีความคิดและเป็นตัวของตัวเองนั้น วันนี้สิ่งที่เราเฝ้าทำมาเป็นสิบ ๆ ปี ประสบผลสำเร็จแล้ว การที่ลูกมีความคิดเห็นของตัวเอง แสดงว่าเราได้ให้โอกาสลูกได้เติบโตอย่างเสรี ดังนั้นลองเปิดใจรับฟังความคิดของลูก แม้คุณอาจยังไม่แน่ใจว่าความคิด ความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่อย่างน้อยลูกก็กล้าที่จะเลือกความเชื่อของตัวเอง ซึ่งถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการเติบโต หากต่อไปข้างหน้าสิ่งที่ลูกเลือกเชื่อในวันนี้เปลี่ยนแปลงไป พวกเขาก็จะได้ประสบการณ์ชีวิตล้ำค่าเป็นบทเรียน ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้เรามอบให้กันไม่ได้ แต่เรามอบโอกาสเพื่อให้เขามีประสบการณ์เหล่านี้ได้ ด้วยการยอมรับและรับฟังค่ะ
  • ชวนให้คิด บางครั้งการออกไปร่วมชุมนุม หรือแสดงความคิดเห็นอย่างดุเดือดในโลกออนไลน์ ก็เป็นดาบสองคม ดังนั้น เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มอินเรื่องบ้านเมืองหนัก ๆ อาจชวนลูกนั่งคุย ฟังความเห็นของพวกเขา ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม ควรฟังโดยไม่ตัดสิน ไม่ตำหนิ หรือวิจารณ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี และลองตั้งคำถามว่า สิ่งที่ลูกคิดว่าเป็นปัญหา ลูกจะทำอย่างไร แล้วสิ่งที่ลูกเลือกทำจะส่งผลอะไรต่อลูก และคนรอบตัวบ้าง หากเกิดผลกระทบต่อตัวลูก หรือคนใกล้ตัว ลูกเตรียมรับมือสิ่งเหล่านั้นอย่างไร อธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าทุก ๆ การกระทำย่อมมีผลตามมาเสมอ ก่อนทำอะไรจึงควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ และพร้อมยอมรับผลของการกระทำที่อาจเกิดขึ้นให้ได้ 
  • เปลี่ยน “ห้าม” เป็น “ห่วง” ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่กับความคิดของเด็ก ๆ แต่การปล่อยให้ลูกออกไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น ไปร่วมชุมนุม ก็ย่อมอดห่วงเรื่องความปลอดภัยไม่ได้ ดังนั้น แทนที่จะห้าม ซึ่งสำหรับวัยนี้อาจยิ่งเป็นการเติมเชื้อไฟ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ลองเปลี่ยนเป็นการบอกให้เด็ก ๆ รู้ว่าคุณเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของพวกเขา ไม่ใช่ว่าคุณไม่ไว้ใจว่าลูกจะดูแลตัวเองไม่ได้ แต่ตามธรรมชาติของการชุมนุม ที่มีผู้คนมากหน้าหลายตา และเราไม่อาจรู้ว่าใครหวังดีหรือคิดร้ายอย่างไร หากลูกขอไปร่วมชุมนุม อาจลองพูดคุยเพื่อพบกันครึ่งทาง เช่น ขอให้ลูกเปิดโทรศัพท์ แชร์โลเคชันให้พ่อแม่รับรู้ตลอดเวลา ชาร์ตโทรศัพท์ให้เต็ม และพกแบตสำรอง อาจนัดแนะสถานที่ที่พ่อแม่จะไปรับหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินไว้ล่วงหน้า รวมทั้ง ให้เด็ก ๆ ศึกษาเรื่องสิทธิของการชุมนุมต่าง ๆ ให้เข้าใจ ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ 

เมื่อคิดเห็นไม่ตรงกัน ทำอย่างไร

ในระบอบสังคมประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกความเชื่อ และแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีโดยที่ไม่ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกันค่ะ หากสมาชิกในครอบครัวมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ไม่ใช่เรื่องแปลก พ่อแม่อาจเชื่อแบบหนึ่ง ขณะที่ลูกเชื่ออีกแบบหนึ่ง จะว่าไปแล้วความเชื่อทางการเมือง ก็เหมือนความเชื่ออื่น ๆ ที่แม้แต่ละคนจะคิดไม่เหมือนกัน ก็อยู่ร่วมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน หากคุณพบว่าลูก ๆ มีความเชื่อทางการเมืองต่างจากพ่อแม่ผู้ปกครอง สิ่งที่ควรทำเพื่อรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว คือ

  • เข้าใจธรรมชาติของการเติบโต เด็ก ๆ โตขึ้นทุกวัน ไม่เพียงแค่ร่างกาย แต่ยังรวมถึงความคิดและสติปัญญาด้วย การที่เด็ก ๆ มีความคิดเป็นของตัวเอง อาจไม่ได้เกิดขึ้นเพราะพวกเขาต้องการแสดงการต่อต้านผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ แต่อาจเป็นเพราะพวกเขาเลือกที่จะเชื่อเช่นนั้นจริง ๆ ลองเปิดใจให้กว้าง และยอมรับว่าตอนนี้ลูกเติบโตมีความคิดเป็นของตัวเองแล้ว เพื่อที่จะได้เข้าใจกันมากขึ้นในฐานะที่ลูกเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งค่ะ
  • อย่าละเลยความเชื่อเพียงเพราะพวกเขาเป็นเด็ก สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ลูก ๆ หลาน ๆ ยังเป็นเด็กเสมอในสายตาของเรา บ่อยครั้งเราจึงทำเหมือนว่าความคิดเห็นและการกระทำของพวกเขาเป็นเรื่องเด็กเล่น ซึ่งการทำให้เด็ก ๆ รับรู้ว่าเราคิดกับพวกเขาเช่นนี้ ไม่เพียงทำลายสายสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ยังเป็นการไม่เคารพในความคิดของลูกด้วย เราอาจเห็นว่าเด็ก ๆ วัน ๆ ไม่ทำอะไร แต่ภายใต้โลกยุคดิจิตอลนั้น เด็ก ๆ อาจรู้มากกว่าที่เราคาดคิด การให้ความสำคัญ และยอมรับความคิดที่แตกต่างของลูก ขณะที่ลูกก็ยอมรับความเชื่อของพ่อแม่ เป็นหัวใจสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยค่ะ
  • ตั้งกฎเกณฑ์ เมื่อรู้ว่าคุณ และลูกมีความเชื่อทางการเมืองไม่ตรงกัน แทนที่จะต่างคนต่างอยู่ โกรธหรือตำหนิเด็ก ๆ ลองชวนพวกเขามานั่งคุย รับฟังความเชื่อของแต่ละฝ่าย และตั้งกฎเกณฑ์ภายในบ้านร่วมกันในเรื่องการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น เมื่อใช้เวลาร่วมกันในบ้าน จะไม่เปิดรับสื่อที่แสดงออกชัดเจนเรื่องการเมือง หรือ ไม่พูดคุยเรื่องการเมืองเวลากินข้าว เมื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต้องมีเหตุผลสนับสนุน ไม่ใช้อารมณ์ เป็นต้น 
  • เข้าอกเข้าใจ หัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย คือ การเข้าอกเข้าใจผู้ที่มีความคิดแตกต่างจากตน ไม่ว่าความคิดความเชื่อนั้นจะมาจากพื้นฐานสังคม เชื้อชาติ อายุ หรืออะไรก็ตาม การพยายามเข้าใจว่าทำไมอีกฝ่ายถึงเชื่อเช่นนั้น จะทำให้แต่ละคนเติบโตในฐานะพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองชวนลูกศึกษาสิ่งที่คุณเชื่อ ในขณะเดียวกันก็เปิดใจศึกษาสิ่งที่ลูกเชื่อ เพื่อแลกเปลี่ยน ไม่แน่ว่าต่างฝ่ายอาจค้นพบความเชื่อที่มาบรรจบกันครึ่งทางก็ได้

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1176 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6544 ผู้เรียน
ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

DIY กระถางต้นไม้ทำมือ

การปลูกต้นไม้ช่วยเพิ่มความร่มรื่น อีกทั้งยังใช้เป็นของตกแต่งบ้านได้อีกด้วย กระถางต้นไม้ก็เป็นส่วนสำคัญในการปลูกต้นไม้ มาฝึกทำกระ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
DIY กระถางต้นไม้ทำมือ
Starfish Academy

DIY กระถางต้นไม้ทำมือ

Starfish Academy

Related Videos

เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่
30:00
Starfish Academy

เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่

Starfish Academy
239 views • 1 ปีที่แล้ว
เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
175 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
359 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
77 views • 1 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”