เฟคนิวส์จะเยอะแค่ไหน ก็ทำอะไรลูกไม่ได้ เพราะรู้เท่าทันสื่อ

โลกอินเทอร์เน็ตที่เต็มไปด้วยข้อมูลที่หลากหลาย ทุกคนเข้าถึงได้ จะเป็นผู้เขียน หรือผู้อ่าน ก็มีสิทธิ์ทั้งนั้น ทำให้มีช่องว่างระหว่างความจริง กับความเท็จ บ่อยครั้งสร้างความสับสนให้กับลูกว่าข้อมูลที่เขาเจอนั้น ต้องการจะสื่ออะไร หมายความแบบไหนกันแน่ ดังนั้นการสอนเด็กๆ ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ จะทำให้เขาแยกแยะเกี่ยวกับข้อมูลที่มีอยู่แพร่หลาย เสพสื่อได้อย่างมีสติ และมีไหวพริบตามทันมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์
Media Literacy Skill คืออะไร ?
Media Literacy หรือทักษะการรู้เท่าทันสื่อ คือ ทักษะการกลั่นกรอง คิดให้รอบคอบถึงข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ก่อนจะเชื่อหรือแชร์ต่อ เรียกง่าย ๆ ว่ารู้ทันสื่อในฐานะผู้รับสาร ผู้ส่งต่อ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ คนที่ผลิตเนื้อหา สร้างสรรค์คอนเทนต์ให้ผู้คนเสพ เพราะสมัยนี้เด็ก ๆ ก็หันมาทำสิ่งนี้ และส่งต่อข้อมูล ในฐานะผู้มีอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ ได้ด้วยตัวเอง
ลูกเท่าทันสื่อ เท่าทันภัยอันตราย
ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ หรือ Media Literacy ในยุคดิจิทัล เป็นเหมือนเกราะป้องกัน ให้ลูก ไม่เชื่อข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตแบบง่าย ๆ ยกตัวอย่าง ลูกไปเจอเว็บไซต์แจกของฟรีโดยต้องโอนเงินจำนวนหนึ่ง ให้ผู้ส่งก่อน แต่เขาหยุดคิด และเช็กความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ เสิร์ชข้อมูล สรุปเป็นเว็บหลอก ทำให้เขาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ มองสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุและผล กล้าแก้ปัญหาด้วยตัวเอง อีกทั้งยังสอนให้ลูก เข้าใจว่าโลกใบนี้ มีทั้งข้อมูลที่เป็นจริง และเท็จ ปะปนกันเต็มไปหมด เป็นเหมือนสนามรบแห่งการตัดสินใจ อยู่ที่ตัวลูกแล้วจะเก็บข้อมูลแบบไหน หรือสิ่งไหนควรมองข้ามไป เมื่อเห็นด้านที่หลากหลายของข้อมูล สุดท้ายแล้วการรู้เท่าทันสื่อ จะทำให้ลูกอยู่ร่วมกับโลกแห่งดิจิทัล ได้อย่างสบายใจเพราะคุณพ่อคุณแม่ เตรียมอาวุธฝึกปรือให้พวกเขาแล้ว
เสริมเกราะป้องกัน แยกแยะถูกผิด
คุณพ่อคุณแม่ทางบ้าน สามารถเติมทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ให้ลูก ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยทำตามไอเดีย ด้านล่างนี้
- เพราะการออกสื่อคือเพอร์เฟค บนอินเทอร์เน็ต จะเสกอะไรขึ้นมาก็ได้ทั้งตัดต่อรูปภาพ ปลอมแปลงเสียง ทำให้บางทีลูกอาจสับสน และเข้าใจผิด การซื้อของออนไลน์ก็เหมือนกัน ควรบอกเขา อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน บางทีสินค้าที่เจอตามแอดโฆษณา พอกดสั่งจริง ๆ ราคาเปลี่ยนแปลงไป เพราะเขาใส่ข้อกำหนดไว้ ซึ่งบางทีขนาดเล็กมาก ทำให้มองข้าม หรือบางทีอาจได้สินค้าไม่ตรงปกเลย
- ถามไถ่เวลาที่ลูกใช้โซเชียลมีเดีย เด็กเล็กลองคุยกับเขาก่อนที่จะจำกัดเวลาใช้งานโซเชียลมีเดีย อธิบายด้วยเหตุและผล ที่ส่งผลกับตัวเด็กเอง ส่วนเด็กโต แนะนำ ให้เขาใช้แอปพลิเคชัน ควบคุมตัวเอง และแบ่งเวลาทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น Forest stay focused ใช้ได้ทั้ง IOS และ Android
- สอนให้รู้จักข้อเท็จจริงและความคิดเห็น ในแต่ละวัน ข้อมูลหลายชิ้น ต้องผ่านตาลูกไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ โดยเฉพาะกับเด็กยุคนี้ ที่เก่งกาจเรื่องเทคโนโลยี ดังนั้น สอนให้เขาเข้าใจข้อเท็จจริง (Fact) และความคิดเห็น (Opinion) ลองใช้ข้อความจากโซเชียลมีเดียเป็นตัวอย่าง และให้เขาอธิบายว่ามันคืออะไร ตอนแรกลูก ๆ อาจยังแยกไม่ออก แต่เชื่อว่า สักวันเขาจะทำได้ เพราะมีคุณพ่อคุณแม่ คอยชี้แนะ
5 เช็กลิสต์ สแกนจริงเท็จ ก่อนลูกปักใจเชื่อ
1. ใครเขียนบทความนี้
2. อยากสื่อสารอะไร เช่น ให้ความรู้ โน้มน้าว เตือน
3. ถูกแชร์ผ่านช่องทางไหน
4. ใช้อะไรดึงความสนใจของคนอ่าน เช่น การเล่นคำ รูปภาพ วิดีโอ
5. คิดอย่างไร กับน้ำเสียงของคนเขียน มุมมอง และทัศนคติ
ถึงแม้ลูกจะใช้เทคโนโลยีคล่อง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า เขาเข้าใจทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ควรเสริมทักษะนี้ให้กับลูก ๆ จะสอนให้เขาตั้งคำถาม หมั่นสังเกต แสดงตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง บนอินเทอร์เน็ตก็ได้ หรือจะนำ 5 เช็กลิสต์จากข้อด้านบนเป็นไกด์ไลน์ บอกให้ลูกเรียนรู้ไปพร้อมกัน วิเคราะห์ข้อมูลที่เห็น เพื่อให้มั่นใจก่อนจะเชื่อ หรือแชร์ต่อกับผู้อื่น
Sources:
- Media literacy for kids and teenagers | Kidslox |
- What is media literacy, and why is it important? | Common Sense Media
- The Importance of Media Literacy Education for Kids | Learning Liftoff
บทความใกล้เคียง
‘ใส่สุด และ ใส่ใจ’ แนวคิดเลี้ยงลูกเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกสร้างความหมายของชีวิตตัวเองสไตล์ พ่อบอล แม่ปุ้ม

ไม่ต้องเป๊ะแค่ใช้เวลาให้เป็น ทักษะการพัฒนาตนเองที่สำคัญสำหรับ Gen Alpha

เมื่อโลกโซเชียลกระตุ้นความอิจฉา พ่อแม่เยียวยาลูกอย่างไรดี

Related Courses
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...



How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...



ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...



How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...



How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Related Videos


108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น


สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต


EP:1 Chef’s Table Eat & EDUCATE How to พ่อแม่ยุคใหม่ ทำงานเก่ง เลี้ยงลูกเป็นเลิศ

