แนวทางการนำผล RT และ NT มาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการจัดการเรียนรู้

แนวทางการนำผล RT และ NT มาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการจัดการเรียนรู้

พื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ประชากรของประเทศชาติสามารถพัฒนาทักษะรวมทั้งความคิด จนเติบโตเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ คือ “การศึกษา” แน่นอนว่าหากประชากรได้รับการศึกษาที่ดีก็จะกลายเป็นกำลังของชาติที่เข้มแข็ง ส่งเสริมให้ประเทศชาติมีความพร้อม เจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน ซึ่งในประเทศที่มีความเจริญแล้วต่างให้ความสำคัญกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบความรู้ให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อสร้างประชากรที่มีคุณภาพมาขับเคลื่อนประเทศ

ประเทศไทยเองก็เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา คนไทยทุกคนจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องเริ่มเรียนรู้อยู่ในสังคมโรงเรียน ถูกอบรมสั่งสอนให้เข้าใจความเป็นมนุษย์ เข้าใจการอยู่ร่วมกันในสังคม รู้จักวิธีการสื่อสารกับผู้อื่น รวมถึงรู้จักวิธีการพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นด้วย การปูพื้นฐานให้กับเด็ก ๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจึงสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เด็กทุกคนควรมีความรู้และความสามารถที่ช่วยให้พวกเขาดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการจัดสอบวัดผลสำหรับชั้นประถมศึกษา เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพของนักเรียนว่ามีความสามารถตามเกณฑ์ที่กำหนดหลังจบการศึกษาหรือไม่ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ การประเมินความสามารถด้านของอ่านของผู้เรียน (RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ทั้งนี้ การสอบทั้ง 2 รูปแบบ จะนำมาซึ่งประโยชน์ในการวินิจฉัยและตรวจสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน และช่วยให้การจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ เพราะเมื่อครูผู้สอนรู้ผลการประเมินของนักเรียนรายบุคคลก็จะสามารถรู้ได้ว่า แต่ละคนมีความสามารถระดับไหน และต้องปรับปรุงพัฒนาในด้านใดเพิ่มขึ้นอีกบ้าง บทความนี้เราจึงจะมาแนะนำ แนวทางในการปรับใช้ผลการประเมินจากแบบทดสอบ RT และ NT ให้ทั้งครูผู้สอนและนักวิชาการการศึกษานำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของตนเองต่อไป

ความแตกต่างของการสอบวัดผล RT และ NT

การสอบ RT เป็นการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีการสอบย่อย คือ การอ่านออกเสียง และการอ่านรู้เรื่อง การอ่านออกเสียงจะเน้นว่านักเรียนต้องสามารถอ่านออกเสียงคำ ประโยค หรือข้อความง่าย ๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา ส่วนการอ่านรู้เรื่องหมายถึงว่านักเรียนจะต้องอ่านแล้วสามารถจับใจความ ตอบคำถามหลังอ่านจบ บอกเล่าหรือบอกความหมายของสิ่งที่อ่านแล้วได้ ซึ่งทั้งการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่องเน้นการประเมินภาคความรู้ และแบบประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)

การสอบ NT เป็นการทดสอบเพื่อประเมินคุณภาพผู้เรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ความสามารถด้านภาษาไทยโดยทักษะด้านภาษาไทย เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งต้องการให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เข้าใจภาษาอย่างถ่องแท้ เข้าใจเหตุและผล รวมทั้งสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองออกมาได้ผ่านการใช้ภาษา และ ด้านที่ 2 ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เป็นทักษะด้านคณิตศาสตร์พื้นฐานที่เน้นให้นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาโดยแสดงคำตอบออกมาได้อย่างเป็นระบบ

แนวทางการนำผลการประเมินจากแบบทดสอบ RT และ NT ไปใช้ประโยชน์

เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการจัดการศึกษา

ในภาพองค์กรอย่างเช่นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สามารถนำผลการประเมินไปตรวจสอบ เพื่อวางแผนการพัฒนาการเรียนการสอนของบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ อีกทั้งควรส่งเสริมและสนับสนุนสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาการสอนให้ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น การจัดหาสื่อการสอน การจัดอบรมเทคนิคการสอนแบบใหม่ที่ทันสมัย การหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละชั้นเรียน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนทุกหลักสูตร

สำหรับครูผู้สอนและนักวิชาการการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ผลการประเมินได้ ดังนี้

1) ใช้ผลการประเมินมาวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของนักเรียนรายบุคคล หาจุดที่ควรปรับปรุงและพัฒนาตามมาตรฐานและตัวชี้วัด เช่น บางคนสามารถอ่านได้ แต่ยังจับใจความประโยคหรือเนื้อเรื่องไม่ได้ ครูผู้สอนก็ต้องช่วยหาวิธีพัฒนาต่อไป

2) นำไปปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น จับคู่คนที่ได้คะแนนของผลการทดสอบน้อยให้คู่กับคนที่ได้คะแนนมาก เพื่อให้นักเรียนช่วยเพื่อนทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน

3) ใช้สื่อการเรียนรู้มาช่วยเสริมให้การเรียนในห้องเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น นอกจากการอ่านแค่ข้อความ สามารถให้นักเรียนฟังเสียง ภาพ หรือดูวิดีโอ เพื่อให้อ่านตามได้พร้อมทั้งเห็นภาพที่ชัดเจนด้วย

4) นำเทคนิคการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ มาใช้ เช่น การสร้างสถานการณ์สมมติ (Role Play) เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการใช้คำต่าง ๆ มากขึ้น พร้อมทั้งเข้าใจวิธีการในการหาคำตอบได้ดีขึ้น

5) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนได้เพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น พาไปเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยแสดงให้เห็นการใช้งานจริงของทักษะในแต่ละด้าน

บทสรุป

อย่างไรก็ดี ช่วงก่อนการสอบครูผู้สอนควรเตรียมตัวให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนความสามารถพื้นฐานตามกรอบโครงการการประเมิน NT RT เพื่อให้เด็ก ๆ คุ้นชินกับรูปแบบการประเมิน เช่น การประเมินอิงสถานการณ์ การเขียนตอบอิสระ ส่งผลต่อความพร้อมรับมือกับการสอบได้ดีขึ้น และเมื่อครูผู้สอนได้รับผลการประเมินของนักเรียนรายบุคคลแล้ว ก็ควรจะจัดการสอบแยกย่อยในชั้นเรียนของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นระยะ เพราะศักยภาพของเด็กแต่ละคนอาจสามารถพัฒนาได้คนละช่วงวัย หรือความกดดันของการสอบครั้งแรกอาจทำให้เด็ก ๆ ไม่สามารถทำข้อสอบได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการประเมินอยู่เป็นประจำจึงช่วยให้ครูผู้สอนเข้าใจถึงพัฒนาการของผู้เรียนที่แตกต่างกัน

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
0:30 ชั่วโมง

โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว

โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...

โรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว

โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว

โรงเรียนปลาดาว
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
0:30 ชั่วโมง

โรงเรียนปลาดาว ต้นแบบนวัตกรรมการเรียนรู้สู่อนาคต

โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...

โรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว ต้นแบบนวัตกรรมการเรียนรู้สู่อนาคต
โรงเรียนปลาดาว

โรงเรียนปลาดาว ต้นแบบนวัตกรรมการเรียนรู้สู่อนาคต

โรงเรียนปลาดาว
การศึกษาในอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

How to วิธีการหาทุนสำหรับมือใหม่

ทุกคนมีความฝัน แต่หลายคนกลับไปไม่ถึงฝันเพราะต้นทุนชีวิตน้อย การมองหาทุนการศึกษาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีส่วนช่วยสนับสนุนก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to วิธีการหาทุนสำหรับมือใหม่
Starfish Academy

How to วิธีการหาทุนสำหรับมือใหม่

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:30 ชั่วโมง

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...

นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

การพัฒนาประเด็นท้าทายสู่ผลลัพธ์ที่ดีของผู้เรียน  ข้อตกลงในการพัฒนางาน PA ที่โรงเรียน
01:04:21

การพัฒนาประเด็นท้าทายสู่ผลลัพธ์ที่ดีของผู้เรียน ข้อตกลงในการพัฒนางาน PA ที่โรงเรียน

184 views • 1 เดือนที่แล้ว
การพัฒนาประเด็นท้าทายสู่ผลลัพธ์ที่ดีของผู้เรียน ข้อตกลงในการพัฒนางาน PA ที่โรงเรียน
เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day
06:05
Starfish Academy

เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day

Starfish Academy
237 views • 2 ปีที่แล้ว
เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day
ผู้นำการศึกษายุคใหม่: สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่ความเป็นเลิศที่แตกต่าง
01:13:04

ผู้นำการศึกษายุคใหม่: สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่ความเป็นเลิศที่แตกต่าง

85 views • 1 เดือนที่แล้ว
ผู้นำการศึกษายุคใหม่: สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่ความเป็นเลิศที่แตกต่าง
เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ร่วมกัน
50:30

เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ร่วมกัน

84 views • 3 เดือนที่แล้ว
เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ร่วมกัน