ย้อนไปในช่วงที่เราเป็นนักเรียน หลาย ๆ คนคงเคยทำบันทึกการอ่าน อาจจะมีอ่านจริงจังบ้าง หรืออ่านผ่าน ๆ บ้าง หรือบางครั้ง ก็ไม่อ่านเลย บ้างก็เป็นคะแนน บ้างก็เป็นเพียงกิจกรรมเล็ก ๆ ไม่ได้จริงจังอะไร
แต่ถ้าหากกลับมาที่ปัจจุบัน หลายๆ อย่างได้เปลี่ยนไป การให้นักเรียนจดจ่อ หรือมีทักษะการอ่านที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ยาก พวกเขามีทั้งมือถือ แท็บเล็ต ที่เป็นตัวเบนความสนใจให้กับหนังสือ การสั่งบันทึกการอ่านแบบปกติอาจไม่มีประสิทธิภาพ และ ไม่ช่วยอะไรพวกเขาเลยก็ได้
จากผลวิจัยในปี 2012 พบว่า การทำบันทึกการอ่านแบบที่เป็นการบังคับให้เด็กอ่าน กลับส่งผลให้นักเรียนไม่มีความกะตือรือร้น และ การสร้างเดดไลน์ การตรวจเช็ค หรือการทำประเมิณ ทำลายความต้องการที่อ่านของพวกเขา
ดังนั้นเราควรทำอย่างไร?
นี่คือ 3 เทคนิคท ี่จะทำให้การอ่านของเด็ก ๆ ไม่ตึงเครียด และผลักดันให้พวกเขารักการอ่านแบบไม่ส่งผลแบบเชิงลบ
1. ให้อิสระในการอ่าน
ให้เด็กๆ ได้เป็นคนเลือกหนังสือเองในบางครั้ง จะทำให้พวกเขามีความสนใจในการอ่านที่มากขึ้น หรือบางครั้งก็ปล่อยให้พวกเขาได้ใช้เวลากับมันแบบไม่ต้องรีบตาม (หากมีวินัยมากพอ)
2. จับคู่
ให้พวกเขาได้จับคู่และได้คุยกับสิ่งที่ได้อ่านไป สอนการเป็นคู่หูที่ดีต่อกัน และ แนะนำตัวอย่างการพูดคุย อย่างเช่น “รู้สึกว่าตัวเองเหมือนตัวละครไหนในหนังสือ?” หรือ “พออ่านแล้วรู้สึกอย่างไร” การทำแบบนี้ช่วยหลีกเลี่ยงความน่าเบื่อจากการให้คะแนนแบบจริงจัง ที่จะสร้างความตึงเครียดและลดความน่าสนใจในการอ่าน รวมถึงการจับคู่ จะช่วยให้พวกเขาผลักดันกันเอง และ เหมือนเป็นการสร้างความท้าทาย
3. กระดาน Graffiti
ลองหาที่ว่างในห้องเรียน หรือให้เขาลองหาคำคมที่ชื่นชอบจากหนังสือมาแบ่งปัน อาจจะเขียนบนกระดาน หรือเขียนใส่กระดาษแล้วตกแต่ง โดยเริ่มจากบอกนักเรียนว่าคำคมหรือคำพูดที่ดีที่น่าสนใจนั้นเป็นประมาณไหนให้เขาได้เข้าใจคร่าวๆ หลังจากนั้นเมื่อเด็กๆ ได้นำคำคม หรือ คำพูดที่สร้างแรงบันดาลใจจากหนังสือมาเขียนในกระดานแล้วคำพวกนี้ก็สามารถนำมาถกเถียง พูดคุยกันในห้องเรียนได้ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และ ทำให้ห้องเรียนไม่น่าเบื่ออีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
Related Courses
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...



เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี
เด็ก LD คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็ม ...



ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่
การสร้างการเรียนรู้สำหรับครูและผู้ปกครองในการพัฒนากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียนและบ้านเพื่อเพิ่มป ...



DIY หน้ากากอนามัยใช้เองกันเถอะ
การเรียนรู้เรื่องการทำหน้ากากผ้าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน้ากากผ้าเหมาะกับใครและผ้าสำหรับทำหน้ากากอนามัยควรใช้ผ้าแบบไหนดี ห ...



Related Videos


น้องลูกหว้า : สาวน้อยลูกครึ่งที่หลงใหลในวัฒนธรรมไทย


Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย


พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

