การสื่อสารเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 หากเราสามารถสื่อสารกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานให้เห็นเป้าหมายและภาพเดียวกันได้แล้ว จะช่วยให้การดำเนินงานภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วันนี้ Starfish Labz นำ 7 เทคนิค เพื่อการสื่อสารอย่างประสิทธิภาพมากขึ้นมาแนะนำค่ะ
1. เลือกช่องทางการสื่อสาร กับประเด็นที่อยากสื่อสารอย่างเหมาะสม
การสื่อสารสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การสื่อสารแบบต่อหน้า การสื่อสารผ่านอีเมล หรือการสื่อสารผ่านเครื่องมือต่างๆ และหลายๆ ครั้งที่เราเลือกช่องทางการสื่อสารผิดช่องทาง และส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน เช่น การสื่อสารเรื่องสำคัญ หรือด่วนผ่านช่องทาง Line หรือ อีเมล แน่นอนว่าเวลาที่ทำงาน คนมักจะไม่เปิดอ่าน Line หรืออีเมล ดังนั้น หากมีเรื่องเร่งด่วน สิ่งที่ควรทำคือ การโทรหากันในทันที
2. สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในที่ทำงาน
ระหว่างการสร้างความสัมพันธ์และการสื่อสารเปรียบเสมือนวลีที่ว่า “ไข่ หรือไก่ สิ่งไหนเกิดก่อนกัน” เพราะทั้งการสื่อสาร และการสร้างสัมพันธ์ต่างผลต่อกันและกันอย่างแยกไม่ได้ หากเริ่มต้นการพัฒนาความสัมพันธ์ของทีมก่อน ผลลัพธ์ที่ได้คือ เราจะไม่มีอคติต่อกัน และจะช่วยให้การสื่อสารต่อกันดีขึ้น
3. เลือกใช้วิธีการคุยกันต่อหน้าให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
บางครั้งเรื่องที่สำคัญ อาจไม่ได้ถูกสื่อสารผ่านคำพูดเสมอไป ดังนั้นการพูดคุยแบบเจอหน้ากันจะช่วยให้เราเห็นทั้งสีหน้า ท่าทาง อารมณ์ความรู้สึกของผู้รับสารได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างความเชื่อใจและความไว้ใจให้แก่กันและกันได้อีกด้วย
4. ระมัดระวังการใช้น้ำเสียงและท่าทาง
บางครั้งน้ำเสียงและท่าทางของเราอาจจะไปปิดกั้นการสื่อสารของคู่สนทนาได้ เช่น ถ้าเราเป็นหัวหน้าแล้วมีลูกน้องขอคำปรึกษา แล้วเราแสดงสีหน้าและท่าทางเหมือนไม่อยากรับฟัง ถึงแม้เราอาจจะไม่ได้พูดออกไป แต่ลูกน้องสามารถรู้สึกถึงความไม่พอใจนั้นได้ ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือ การสูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างเราและลูกน้อง
5. ให้ความสำคัญกับการสื่อสารสองทาง
การรับฟัง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากของการสื่อสาร ซึ่งการรับฟังมี 2 ประเภท คือ การรับฟังเพื่อตอบกลับและการรับฟังเพื่อเข้าใจ เมื่อเรารับฟังเพื่อที่จะตอบกลับ เราจะนึกถึงแค่ว่าเราจะต้องการพูดอะไรมากกว่าฟังว่าผู้อื่นกำลังพูดอะไร การรับฟังลักษณะนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในประเด็นที่สำคัญ แต่หากว่าเราตั้งใจที่จะรับฟังเพื่อความเข้าใจโดยที่ไม่คิดรีบที่จะตอบกลับ เราจะเข้าใจสิ่งที่เขาพยายามจะบอกมากยิ่งขึ้น
6. ให้ความสำคัญกับ “ความจริง” มากกว่าเรื่องเล่า
การสื่อสาร “ความจริง” เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าเราเป็นผู้นำที่สื่อสารแต่เรื่องเล่าซึ่งหมายถึงอาจเป็นเรื่องราวที่ถูกตีความจากผู้อื่นและตัวเราแล้ว อาจส่งผลต่อการตัดสินใจและความน่าเชื่อถือได้ ทำให้ผู้นำเกิด “อคติ” ดังนั้น ผู้นำที่ดีควรใส่ใจกับความจริง หรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าฟังเรื่องเล่าเท่านั้น
7. สื่อสารให้ถูกคน
บ่อยครั้งที่การดำเนินงานมักไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้เพราะเราเลือกสื่อสารผิดคนหรือเลือกสื่อสารกับคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานนี้ ซึ่งทำให้สารไปไม่ถึงกับคนที่ควรเข้ามามีส่วนร่วมจริงๆ ได้ และทำให้การดำเนินงานล่าช้ากว่าปกติทั้ง 7 วิธีการนี้ เป็นวิธีการที่ผู้บริหารหรือคุณครูสามารถฝึกฝนและนำไปใช้ในการดำเนินงานที่โรงเรียนได้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการสื่อสารเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา หากเกิดความผิดพลาดไปบ้างก็ขอให้ทุกท่านให้อภัยซึ่งกันและกันและเริ่มปรับวิธีการกันใหม่เพื่อพัฒนาองค์กรหรือโรงเรียนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด
แปลและเรียบเรียง
Related Courses
วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล
ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ทั้งโซเชียลมีเดีย การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดการเวลาจึงเป็นทั ...



อยากเป็น Content creator ให้ดัง ต้องทำอย่างไร
หากใครกำลังฝันอยากเป็น Content Creator คอร์สนี้ตอบโจทย์ทุกคำถาม! เพราะคุณจะได้เรียนรู้เทคนิคการสร้างคอนเทนต์สุดปัง แ ...



อยากเป็น Content creator ให้ดัง ต้องทำอย่างไร
ต้องใช้ 100 เหรียญ
กลยุทธ์ในการโค้ชของผู้บริหาร เพื่อการพัฒนาตนเองของครู
ผู้บริหารสามารถพัฒนาทักษะครูผ่านกลยุทธ์การโค้ช เทคนิคบริหารงานบุคคล โดยใช้การโค้ชเชิงบวก กระตุ้น สนับสนุน ควบคู่ไปกับก ...



กลยุทธ์ในการโค้ชของผู้บริหาร เพื่อการพัฒนาตนเองของครู
ต้องใช้ 100 เหรียญ
สำนวนภาษาอังกฤษคูล ๆ ฉบับนำไปพูดได้เลย
อยากใช้ภาษาสวย สื่อสารเป็นธรรมชาติ เข้าใจวลีเด็ดสำนวนดังเพื่ออัพสกิลให้การสื่อสารภาษาอังกฤษของเราและสามารถสร้างความ ...



สำนวนภาษาอังกฤษคูล ๆ ฉบับนำไปพูดได้เลย
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Related Videos

คิดต่าง สร้างอนาคต: เทคนิคการบริหารยุคใหม่


Starfish Future Labz Celebration

