“สาระต้องรู้เกี่ยวกับ วPA”
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) Inskru, Eduzone และ Starfish Labz ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วPA ของตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในหัวข้อ “ผู้อำนวยการสถานศึกษาผู้นำการเปลี่ยนแปลง” โดย Starfish Labz ขอนำความรู้จากงานเสวนาในหัวข้อย่อย “สาระต้องรู้เกี่ยวกับวPA” โดย ผู้บริหารสำนักงานก.ค.ศ. มาเผยแพร่ให้ทุกท่านดังรายละเอียดต่อไปนี้
ประเด็น 1 : การจัดทำข้อตกลงพัฒนางาน PA สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษาทั้งในฐานะผู้เป็นเจ้าของข้อตกลงพัฒนางานและผู้บังคับบัญชาของการทำข้อตกลงพัฒนางานจากคุณครูควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง
- บทบาทผู้บังคับบัญชา สิ่งที่จะต้องทำคือ 1. เข้าถึงห้องเรียน (หัวใจสำคัญ) 2. ไม่ใช่แค่เดินเยี่ยม แต่ต้องเข้าไปพร้อมกับองค์ความรู้เพื่อช่วยเหลือคุณครู 3. เติมเต็มข้อตกลงการพัฒนางานของคุณครู 4. นำปัญหามาเป็นทิศทางของการพัฒนาสถานศึกษาได้ต่อไป
- ตัวอย่างคำตอบของผู้เข้าร่วม “เริ่มจากสิ้นภาคเรียนเราจะพิจารณาเกรดและส่งกำลังใจให้คุณครู เข้าไปสังเกตห้องเรียนและเก็บข้อมูลครูรายบุคคล”
- ตัวอย่างคำตอบของผู้เข้าร่วม “การสร้างความเข้าใจ” เริ่มจาก ผอ.โรงเรียนทำผอ. เขต/ รองผอ. จะต้องทำ PA ให้สอดคล้องกับผอ.โรงเรียน/ ครูจะต้องทำ PA ให้สอดคล้องกับผอ. โรงเรียน โดยเริ่มแบ่งทีม แบ่งสายชั้น / วางแผนการทิศทางการทำงานร่วมกัน / เชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้ / ครูแต่ละชั้นมีการแบ่งประเด็นท้าทาย เช่น ระดับชั้นประถมต้นจะเป็นการออก-เขียนได้ / การทำบูรณาการให้แก่นักเรียน
- การตั้งข้อตกลงพัฒนางานของผู้อำนวยการสถานศึกษาจะต้องมี 3 เรื่อง 1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 2. การพัฒนาคุณครู 3. ผลลัพธ์การบริหารสถานศึกษาในทุกๆ มิติ
ประเด็น 2: หลักการคิดประเด็นท้าทายของผู้อำนวยการสถานศึกษา
- การจัดกระบวนการสอนด้วย Active Learning เพื่อสร้างอาชีพโดยการนำพหุวัฒนธรรม + เด็กเน้นอาศัยอยู่ที่ห่างไกล ชุมชนพึงพอใจประเมินโดยชุมชนจำนวนนักเรียนกลับมาเรียนมากขึ้น จาก 800 คน มาเป็น 1,000 คน และมีการทำ MOU กับวิทยาลัยส่งเสริมอาชีพ
ประเด็น 3: การประเมินเพื่อการพัฒนา PA และการตั้งคณะกรรมการประเมิน
- ศึกษานิเทศก์ มีหน้าที่เป็นโค้ชเพื่อให้แก้ปัญหาคุณครู
- ครูของสถานศึกษาอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อให้เห็นกระแสของการพัฒนา
- ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ครูที่เกษียณอายุเพื่อให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาซึ่งตอบโจทย์เรื่องการสร้างเครือข่าย
ประเด็น 4 : ความเชื่อมโยงผลการประเมิน PA กับการเลื่อนเงินเดือน
- PA เชื่อมโยง 2 จุด 1. ข้อตกลง PA เชื่อมโยงกับข้อตกลงประเมินผลการปฏิบัติงาน (ยกเว้นตำแหน่งครูผู้ช่วย) 2. ผลการประเมิน PA สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาการเลื่อนเงินเดือนถ้าเกิดว่าสิ้นปีงบประมาณแล้วผล PA ยังไม่ออกจะสามารถประเมินผลไปได้ไหมขึ้นอยู่กับอำนาจการตัดสินใจของผู้อำนวยการ แต่เนื่องจากเราใช้ผลการประเมินปฏิบัติงานเป็นข้อตกลงเดียวกันกับข้อตกลง PA ตัวชี้วัดเดียวกัน ดังนั้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนและลดระยะเวลาจึงสามารถใช้เป็นผลการปฏิบัติงานได้
ประเด็น 5 : แอดมินในสถานศึกษาในระบบ DPA
- กำหนดว่า 1 โรงเรียนมีแอดมิน 1 คน โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ “DPA เป็นเรื่องใหม่ และอาจส่งผลต่อวิทยฐานะของบุคลากรแต่ถ้าไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีพอสมควรเราจึงต้องศึกษาอย่างมากหลังจากศึกษาแล้วก็มีข้อสงสัยว่าเราควรทำตอนไหนและถ้ากรรมการที่เชิญมาแล้วมีช่องว่างไหมเราควรทำอย่างไรจึงปรึกษากับเขตแต่เขตให้คำตอบไม่ได้ แต่ได้รับคำตอบจาก ก.ค.ศ แล้ว และภูมิใจที่ครูได้รับการเลื่อนวิทยฐานะแล้ว”
- ให้ระวังการนำเข้าข้อมูลที่ซ้ำซ้อนที่ให้คุณครูดูแลหลายคนเพราะอาจเกิดผลเสียของต่อผู้ส่งประเมินวิทยาฐานะ
- เวลาอัปโหลดคำขอจะต้องให้ครูเจ้าของมานั่งดูไปด้วยกันเพื่อมีการเช็กความถูกต้อง
- ตรวจสอบหลักเกณฑ์ของการส่งงาน เช่น จำนวนหน้าของเอกสารต่างๆ
- ตรวจสอบสกุลของไฟล์วิดีโอที่จะต้องเป็นไฟล์ MP4
- ตรวจสอบใบประกอบวิชาชีพต่างๆ ไม่ใช่การหมดอายุ
ข้อคิดทิ้งท้าย
อยากให้กำลังใจทุกท่านในการใช้บทบาทผู้อำนวยการสถานศึกษาขับเคลื่อนสถานศึกษาส่งผลดีให้เกิดแก่ผู้เรียนและคุณครูมีสมรรถนะที่สูงขึ้นและจะเกิดความภาคภูมิใจและความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
กิจกรรมในช่วงเสวนา “สาระต้องรู้เกี่ยวกับ วPA” ได้ช่วยคลี่คลายและตอบคำถามให้แก่ผู้อำนวยการได้เข้าใจอย่างถ่องแท้มากยิ่งขึ้นอีกทั้ง ก.ค.ศ. ขอเป็นผู้ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนวPA ของผู้อำนวยการทุกท่านอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาโรงเรียนต่อไปอย่างยั่งยืน
บทความใกล้เคียง
Related Courses
Curriculum, Pedagogical Innovations
คอร์สเรียนนี้มุ่งเน้นพัฒนาหลักสูตร และวิธีการสอนที่ทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยผ่านกลยุทธ์ที่หลากหลาย ให้ความสำ ...
โอริกามิ สื่อการพับกระดาษญี่ปุ่น
การเรียนรู้เรื่องโอริกามิ การพับกระดาษแบบญี่ปุ่นจะได้เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมา ความหมาย เทคนิคการพับกระดาษ และแนวกา ...
Visionary Leadership, Building community and Technology
ในการจะก้าวสู่การเป็นผู้นำในอนาคต อาจจะต้องพัฒนา 3 ทักษะสำคัญ ได้แก่ Visionary Leadership ปลุกพลังวิสัยทัศน์ นำทางสู่คว ...
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ เป็นโมเดลในการบริหารจัดการโรงเรียน ที่ทา ...