น้อง ๆ เคยเป็นไหมรู้สึกอะไรบางอย่างในใจ อึดอัด ไม่รู้จะอธิบายออกมาเป็นคำพูดแบบไหนดี สุดท้ายคิดวนไปมาก็หาคำตอบไม่เจออีกพี่แนะนำแบบนี้ลองหาที่สงบ และเอนลงบนเก้าอี้หรือโซฟานุ่ม ๆ หลับตา สำรวจดูสิเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้าง ส่วนไหนเกร็งตึง ถ้ามีอาการเหล่านี้ ห้ส่งลมหายใจเข้าออก จินตนาการถึงกล้ามเนื้อส่วนนั้นกำลังผ่อนคลาย อันนี้เป็นเทคนิคที่พี่ ๆ ได้มาจากคุณครูสอนโยคะ และมันใช้ได้ผล ตอนที่เรากำลังสับสนวุ่นวายใจซึ่งพี่อยากให้น้องนึกถึงเทคนิคนี้ทุกครั้งที่มีอาการและนอกจากเทคนิคด้านบน พี่ ๆ Starfish Labz ยังมีวิธีอื่นมานำเสนอ เพราะไม่ว่าน้องจะรู้สึกแบบไหนพี่ก็พร้อมจะอยู่ด้วยเสมอ มีอะไรบ้างมาอ่านไปพร้อมกัน
1.บันทึกความรู้สึกผ่านตัวอักษร
การเขียนเป็นสิ่งที่น้อง ๆ หลายคนต้องไม่ชอบ และเมื่อก่อนตัวพี่เองก็พยายามหนีมันมาตลอดแต่หลังจากได้ลองจดบันทึก (Journal) พี่กลับรู้สึกรักการเขียนเพราะทุกครั้งที่จับปากกาตวัดตัวอักษรลงผ่านแผ่นกระดาษเป็นความรู้สึกที่มหัศจรรย์เหมือนได้ปลดปล่อยทุกอย่างออกมาโดยที่ไม่ต้องสนใจใคร อธิบายจัดเต็มทุกความรู้สึกเว็บไซต์ Psychology Today ได้พูดถึงข้อดีของการจดบันทึกช่วยลดการเกิดโรคซึมเศร้าโรควิตกกังวล เนื่องจากการเขียนช่วยระบายสิ่งที่เราแบกเอาไว้ให้มันเบาลงรวมถึงปลดปล่อยความเครียดและช่วยให้จัดลำดับความคิดได้ดีขึ้นน้อง ๆ จะจดบันทึกผ่านกระดาษไอแพดคอมพิวเตอร์เลือกอุปกรณ์ตามที่เราสะดวกได้เลยทำทุกวันยิ่งดีหรือจะรวบยอดอาทิตย์ละครั้งก็ได้
2.เปิดแอปพลิเคชัน how we feel
เพราะพี่รู้น้อง ๆ เป็นเด็กรุ่นใหม่ หลงใหลในเทคโนโลยี สมาร์ตโฟน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้คล่องพี่เลยไปตามหาแอปพลิเคชันที่ช่วยจัดการอารมณ์คอยดูแลเราได้ 24 ชั่วโมงมาให้ ซึ่งพี่ ๆ ก็ได้ลองใช้เป็นเวลาเกือบ 2 อาทิตย์ รู้สึกว่ามันดีมากเขาจะช่วยเราบันทึกตอนนี้กำลังรู้สึกอะไร กังวล เครียด โกรธ โมโห สับสนและอื่น ๆ รวมถึงขณะที่รู้สึกทำอะไรอยู่ อยู่ที่ไหนนอนวันละกี่ชั่วโมงสภาพอากาศเป็นอย่างไรออกกำลังกายกี่นาทีเขาเป็นเหมือนเพื่อนที่ช่วยปฐมพยาบาลเรื่องสุขภาพจิตวารสารจากเว็บไซต์ National Library of Medicine สรุปถึงการยอมรับความรู้สึกลบ
ความคิดต่าง ๆ เมื่อเกิดการยอมรับไม่หลีกหนีจะส่งผลดีกับสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายของเราโดยรวม
3.แชร์สตอรี่ให้คนใกล้ชิด
น้องทุกคนเก่งและทำดีที่สุด ถึงแม้บางครั้งเราอยากผ่านทุกปัญหาด้วยตัวเองแต่การขอความช่วยเหลือจาก social support (แหล่งสนับสนุนทางสังคม) ครอบครัว เพื่อนคนใกล้ตัว หรือแม้แต่นักจิตวิทยาก็จะช่วยเป็นกำลังใจให้น้องอีกแรงมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพูดถึงการมีแหล่งสนับสนุนทางสังคม สิ่งเหล่านี้จะสร้างความยืนหยัดให้เราในสถานการณ์ที่ยากลำบาก รู้หรือเปล่า? ทุก ๆ วันความเครียด สามารถเกิดขึ้นได้ แต่มันจะมาเยี่ยมเราสักครู่และก็หายตัวไปอย่าลืมหันไปหา social support ของตัวเองบ้างแชร์ความรู้สึกคอยเป็นกำลังใจและอยู่เคียงข้างกันทุกครั้งที่เจออุปสรรค ทำแบบนี้ก็จะลดโอกาสการเกิดความเครียดสะสมซึ่งนำไปสู่โรคทั้งทางกายและใจ
4.ใช้เสียงเพลงผ่อนคลาย
มีการศึกษาให้คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัด ฟังเพลงสบาย ๆ ผลลัพธ์ที่ได้พวกเขาความดันลดต่ำลงและต้องการยาแก้ปวดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ฟังเพลงเสียงเพลงนี่เป็นเหมือนเวทมนตร์จริงกล่อมให้หลับก็ได้สร้างความสนุกก็ได้ทำให้ผ่อนคลายก็ยังได้เวลาพี่รู้สึกอารมณ์ดิ่ง เศร้า ไม่ค่อยมีความสุขก็จะเปิด favourite playlist เป็นท่าไม้ตายใช้บรรเทาอาการต่าง ๆ ทันทีหรือถ้าตอนนั้นไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ฟังเพลง นึกทำนองในหัวเองเลย และร้องตาม ต้องขอบคุณเทคนิคนี้จากแอปพลิเคชัน how we feel
5.เข้าใจอารมณ์ล่องหน
น้อง ๆ เคยสังเกตอารมณ์ตัวเองไหมตอนเช้าเป็นแบบไหนตอนกลางวันมันเปลี่ยนไปไหมและตอนเย็น รวมถึงก่อนนอนเหมือนหรือต่างกันสิ่งที่พี่ ๆ ต้องการจะสื่อคืออารมณ์จะเกิดขึ้นและสักพักจะหายไป หลังจากนั้นอาจเกิดขึ้นอีกตามสิ่งกระตุ้นเมื่อรู้แบบนี้แล้วการรับมือกับเจ้าปีศาจและนางฟ้าในตัวน้องก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เราเป็นมนุษย์มีอารมณ์ เกิดความรู้สึกได้เป็นธรรมดาและอย่าตีกรอบสิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นเชิงบวกหรือลบแค่เข้าใจและยอมรับความรู้สึกขณะนั้นมาลองทดสอบกันดีกว่า ระหว่างที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ น้อง ๆ กำลังรู้สึกอะไร ลองตอบในใจดูซิ
6. ระบายสะบัดปล่อยอารมณ์
ในแต่ละวันกิจกรรมวัยรุ่น ใส่เต็ม max ทุกอย่าง ทั้งเพื่อนครอบครัวการเรียน กีฬาแต่มีอีกอย่างที่น้อง ๆ หลายคนมักหลงลืมเวลาที่ให้กับตัวเองมีเพียงเราและกิจกรรมที่ชอบเท่านั้นพี่แนะนำระบายสีจะวาดรูปและระบายสีเองหรือซื้อสมุดระบายสี Mandala ก็ได้การระบายสีช่วยผ่อนคลายสมอง ทำให้น้องโฟกัสแค่สิ่งที่กำลังทำตรงหน้ารวมถึงช่วยลดอาการวิตกกังวลความเครียดและคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งตึงระหว่างวัน การระบายสียังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้รักษาผู้ป่วยทางใจ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ศิลปะบำบัดนั่นเอง
7. จริงใจกับความรู้สึกตัวเอง
คุ้น ๆ กับสถานการณ์นี้ไหม เพื่อนถามว่า โกรธหรอน้องตอบกลับไปเปล่าเพื่อนถาม โอเคไหมน้องรีบพูดสวนทันทีโอเคไม่เป็นไรแต่ในใจแตกสลายเป็นชิ้น ๆ พี่ก็เคยเป็นแบบนี้บางทีไม่อยากให้คนใกล้ตัวรู้สึกไม่สบายใจกับเราแต่ยิ่งเราสะสมอารมณ์พวกนี้ไว้มากเท่าไหร่เหมือนกับการอัดแก๊สเข้าลูกโป่งทีละนิดพอมันเต็มที่และแน่น สุดท้ายจะระเบิดออกมาดังนั้นลองฝึกตอบให้ตรงกับความรู้สึกของเรา เช่น ตอนนี้ฉันกำลังโกรธ ฉันขอเวลา 5 นาทีและเดี๋ยวเราค่อยมาคุยเรื่องรายงานวิชา Starfish กันต่อได้ไหมระบุให้คนใกล้ตัวรู้เลยตอนนี้เราเป็นอะไรฝ่ายตรงข้ามจะได้หาวิธีรับมือที่เหมาะสม และถนอมน้ำใจกันเพื่อความสัมพันธ์ระยะยาว
เรื่องของอารมณ์ความรู้สึกเราห้ามเขาไม่ได้แต่เราสามารถจัดการได้แค่เข้าใจว่ามันเกิดขึ้น หายไปวนลูปอยู่แบบนี้พร้อมใช้เทคนิคที่พี่ ๆ Starfish Labz เอามาฝากรับรองเลยน้องจะโอบกอดทุกโมเมนต์ดูแลความรู้สึกของเราอย่างอ่อนโยนเหมือนกับมือที่ลูบเกาบนพุงน้อย ๆ ของเจ้าหมา เจ้าแมวแสนซน
Sources:
- The Psychological Health Benefits of Accepting Negative Emotions and Thoughts: Laboratory, Diary, and Longitudinal Evidence - PMC | ncbi
- 10 Good Reasons to Keep a Journal | psychologytoday
- Journaling for Emotional Wellness - Health Encyclopedia | University of Rochester Medical Center
- Manage stress: Strengthen your support network | APA
- Adult Coloring Books: 7 Benefits of Coloring | WebMD
- 7 Ways Music Can Help Reduce Stress and Anxiety | Ascap
Related Courses
How to เรียนรู้ รักให้เป็น
คอร์สเรียน How to เรียนรู้ รักให้เป็นนี้ จะเป็นคู่มือความรักสำหรับคนที่มีหัวใจ ให้ทุกคนได้เข้าใจความหมายของการรักที่ใช้ 'หัว' ...



How to เรียนรู้ รักให้เป็น
ต้องใช้ 100 เหรียญ
วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล
ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ทั้งโซเชียลมีเดีย การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดการเวลาจึงเป็นทั ...



ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรทำอย่างไร
วัยรุ่น คือ วัยที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพัฒนาการของร่างกาย ความคิด สุขภาวะจิตที่แตกต่างไปจากเด็ก ในขณะที่ ...



วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
การควบคุมอารมณ์เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่น เป็นทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรได้รับการส่งเสริม เพื่อสามารถใช้ ...



วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
Related Videos


แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต


108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น


ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

