ตั้งกฎก่อนเกมอย่าให้การเล่นเกมทำร้ายลูก

Starfish Academy
Starfish Academy 14666 views • 5 เดือนที่แล้ว
ตั้งกฎก่อนเกมอย่าให้การเล่นเกมทำร้ายลูก

“ติดเกมหรือเปล่า” คือคำถามที่เรามักได้ยิน เมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับพฤติกรรมรุนแรงของเด็กและเยาวชน แน่นอนว่าการหาสาเหตุหรือต้นตอของปัญหาเป็นเรื่องดี แต่การชี้นิ้วว่า “เกม” คือสาเหตุหลักของพฤติกรรมความรุนแรง อาจไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น หนำซ้ำยังอาจเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพราะพฤติกรรมความรุนแรงที่พบเห็นเป็นข่าวสะเทือนใจนั้น มักไม่ได้มีสาเหตุหลักสาเหตุเดียว แต่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยประกอบกัน และบางครั้งเรื่องราวเบื้องหลังพฤติกรรมรุนแรงเหล่านั้นก็อาจซับซ้อนเกินกว่าที่คนภายนอกจะเข้าใจได้อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าพ่อแม่ในฐานะผู้ปกครองย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตลูกและการเล่นเกมก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อแม่เช่นกัน

ปัจจุบันนี้รูปแบบการเล่นเกมพัฒนาไปมากมีทั้งการเล่นเกมออนไลน์ที่ผู้เล่นสามารถสนทนากับคนแปลกหน้าผ่านเกม หรือภาพและเสียงต่างๆ ที่พัฒนาให้มีความสมจริงยิ่งขึ้นพ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นเกมโดยปราศจากการดูแล แม้ว่าลูกจะเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว แต่ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรรู้ว่าลูกกำลังเล่นเกมอะไร อย่างไรและกับใคร 

กฎกับเกมสองสิ่งที่ต้องมาคู่กัน

สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันเมื่อ พ่อแม่หยิบยื่นหน้าจอโทรศัพท์ให้กับเด็กเล็กเป็นครั้งแรก หรือซื้อวีดีโอเกมเครื่องแรกให้เป็นของขวัญลูกวัยรุ่น ก็คือ ทั้งสองสิ่งนี้หากลูกเสพติดแล้ว ย่อมยากที่จะทำให้พวกเขาลดละเลิกได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะหน้าจอมือถือ หรือการเล่นเกม ก่อนที่พ่อแม่จะหยิบยื่นหรืออนุญาตให้ลูกเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ ควรตั้งกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน และคิดล่วงหน้าว่ามีวิธีใดบ้างที่จะทำให้ลูกไม่ใช่เวลาอยู่กับสิ่งเหล่านี้มากเกินไป

สำหรับวัยรุ่นการเล่นเกมอาจเป็นวิธีเดียวที่พวกเขาจะได้ใช้เวลากับเพื่อนๆ ผ่านเกมออนไลน์ เพราะใครๆ ก็เล่นกันแต่นั่นไม่ใช่ข้ออ้างที่ลูกจะสามารถอยู่กับเกมได้ทั้งวัน หากเป็นไปได้ก่อนอนุญาตให้ลูกเล่นเกม “ครั้งแรก” พ่อแม่ควรนั่งลงพูดคุยกับลูกอย่างเป็นกิจลักษณะกำหนดขอบเขตและระยะเวลาการเล่น กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกสร้างข้อตกลงที่ชัดเจนในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 

  • ความโปร่งใส: พ่อแม่มีสิทธิ์ที่จะรู้ว่าลูกเล่นเกมอะไร เหมาะสมกับวัยหรือไม่ เนื้อหาและเรตของเกมเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ลูกจำเป็นต้องบอกพ่อแม่ก่อนเล่นเกมใหม่ทุกครั้ง 
  • เวลา: ควรกำหนดกรอบเวลาให้ชัดว่าเล่นเกมได้สัปดาห์ละกี่วัน วันไหนบ้าง และเล่นเกมแต่ละครั้งระยะเวลากี่ชั่วโมง 
  • หน้าที่อื่น: ควรตั้งกฎว่าเพื่อแลกกับการเล่นเกม ลูกควรมีหน้าที่อื่นๆ ในบ้านที่ต้องรับผิดชอบด้วย เช่น ล้างจานให้เสร็จจึงเล่นเกมได้ หรือ ทำความสะอาดห้องนอนตนเองทุกวันเสาร์ รวมทั้งต้องทำการบ้าน อ่านหนังสือให้เสร็จก่อน หากทำไม่ได้ตามนี้ สัปดาห์นั้นๆ ก็จะต้องงดเล่นเกม เป็นต้น
  • การใช้เวลาร่วมกัน: เมื่อพ่อแม่อนุญาตให้เล่นเกมได้ ลูกก็ควรจัดสรรเวลาที่จะใช้เวลาร่วมกับครอบครัวด้วย อาจกำหนดว่าทุกบ่ายวันอาทิตย์ เป็นเวลาของครอบครัวที่ทุกคนจะปิดหน้าจอและใช้เวลาร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกมทำลายสายสัมพันธ์อันดีที่ควรมีภายในครอบครัว

อย่างไรก็ตาม ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งกฏเกณฑ์ไว้ตั้งแต่ครั้งแรก กว่าจะรู้ตัว ลูกก็เล่นเกมมากกว่าพูดคุยกับพ่อแม่เสียแล้ว หากเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรทำคือ 

  1. สร้างคุณค่าให้เกม: ชวนลูกพูดคุยถามความคิดเห็นว่าการเล่นเกมมีประโยชน์กับลูกอย่างไร เด็กๆ อาจตอบว่าทำให้เขาได้ใช้เวลากับเพื่อน, ฝึกภาษาอังกฤษ หรือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าคำตอบของลูกคืออะไรควรรับฟังและยอมรับพ่อแม่อาจแบ่งปันความคิดว่าตนเองเห็นว่าเกมที่ลูกเล่นมีประโยชน์อย่างไร เช่น ทำให้ลูกอยู่บ้านมากขึ้นหรือทำให้ลูกอ่านภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ฯลฯ วิธีนี้ไม่เพียงทำให้วัยรุ่นมองเห็นข้อดีของเกม แต่ยังทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เปิดใจและยอมรับการเล่นเกมของเขา ซึ่งสร้างความใกล้ชิดและความรู้สึกว่าพ่อแม่เป็น “พวกเดียวกัน” มากขึ้น 
  2. คุยเรื่องบริหารเวลา: เปิดใจคุยกับลูกอย่างสงบและรักษาน้ำเสียงให้จริงจังแต่อ่อนโยน (Kind but Firm) ว่าการใช้เวลาว่างส่วนใหญ่หมดไปกับการเล่นเกมอาจทำให้ลูกพลาดโอกาสสร้างประสบการณ์ในชีวิตจริง ลองเสนอให้ลูกหากิจกรรมที่อยากทำนอกเหนือจากเล่นเกม และสนับสนุนกิจกรรมเหล่านั้น เช่น เรียนวาดรูปกับเพื่อน, เรียนทำอาหารกับแม่, วางแผนโปรเจกต์ทาสีรั้วบ้านใหม่กับพ่อ หรืออาจจะเป็นกิจกรรมที่ลูกอยากทำคนเดียว เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง, ปลูกแคคตัสขาย หรือต่อโมเดลตัวละครในเกม ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน 
  3. ให้กำลังใจ: เมื่อเห็นลูกพยายามปรับตัว ใช้เวลากับครอบครัวและทำกิจกรรมอื่นๆ มากขึ้นควรกล่าวชมและให้กำลังใจ ในวันหยุดที่อยู่พร้อมหน้ากันพ่อแม่ควรสร้างโอกาสที่จะทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมกันทั้งครอบครัว เช่น ชวนกันไปดูหนัง, ชวนกันเก็บบ้านเอาของไปบริจาค ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้พ่อแม่ควรทำอย่างมีความสุข ไม่คาดคั้น คาดหวังให้ลูกต้องทำกิจกรรมอย่างสมบูรณ์แบบผู้ใหญ่ต้องเข้าใจว่าเป้าหมายของกิจกรรมเหล่านี้คือการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดี ให้ลูกรู้สึกว่าการใช้เวลากับพ่อแม่ก็มีสนุกไม่น้อยไปกว่าการเล่นเกมเมื่อโฟกัสที่เป้าหมายนี้อย่างชัดเจน วิธีการและแนวทางจะค่อยๆ ชัดขึ้นในที่สุด

ตรวจจับสัญญาณอาการติดเกม

แม้ว่าการเล่นเกม จะเป็นวิธีผ่อนคลายความเครียดจากการเรียน ทั้งยังได้สังสรรค์กับเพื่อนผ่านเกมออนไลน์แต่หากนานวันไปพ่อแม่เริ่มรู้สึกว่าลูกเล่นเกมแข่งขันเพื่อเอาชนะคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก นี่อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นว่าวัยรุ่นกำลังก้าวเข้าสู่วังวนของการติดเกมหนังสือเรื่อง Playstation Nation แนะนำเช็คลิสต์ที่พ่อแม่สามารถใช้ตรวจสอบสัญญาณการติดเกมของลูกได้ ดังนี้

  • เล่นเกมเกือบทุกวันหรือไม่?
  • เล่นเกมแต่ละครั้งนานกว่า 3-4 ชั่วโมง?
  • เล่นเกมเพื่อความตื่นเต้น?
  • รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสียเมื่อไม่ได้เล่นเกม?
  • สละเวลาเข้าสังคม เล่นกีฬา หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เคยชอบเพื่อเล่นเกม?
  • เล่นเกมแทนที่จะอ่านหนังสือหรือทำการบ้าน?
  • แม้จะจำกัดเวลาการเล่นแล้วแต่ก็ยังไม่เป็นผล?
  • ขาดความสนใจกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตจริง? 

หากคำตอบส่วนใหญ่คือใช่ก็ถึงเวลาที่พ่อแม่ควรลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อช่วยลูกให้หลุดออกจากวงจรนี้ เช่น ลดจำนวนชั่วโมงในการเล่นถอดปลั๊กไปเก็บไว้เมื่อหมดเวลาอย่าลืมว่าเด็กๆ เล่นเกมผ่านคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนได้ ไม่จำเป็นต้องเล่นผ่านเครื่องเกมเท่านั้นเพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรจำกัดเวลาการเล่นเกมบนเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของลูกด้วย 

ติดเกมแล้ว ทำอย่างไรดี

คำกล่าวที่ว่า ป้องกันไว้ดีกว่าตามแก้ไขใช้ได้ดีกับกรณีเด็กติดเกมดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การตั้งกฎเกณฑ์ก่อนอนุญาตให้ลูกเล่นเกมครั้งแรก ย่อมทำให้การควบคุมทำได้ง่ายกว่าแต่หากรู้เมื่อสาย ลูกติดเกมไปแล้ว การแก้ไขแม้จะทำได้ยากกว่า แต่ก็ทำได้หากพ่อแม่เข้าใจและจริงจังก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า เด็กติดเกมมักไม่มองกว่าพฤติกรรมของเขามีปัญหาแต่มองว่าพ่อแม่ผู้ปกครองเองที่จู้จี้จุกจิกเมื่อเป็นเช่นนี้พ่อแม่จึงไม่ควรให้ลูกหยุดเล่นเกมโดยสิ้นเชิงเพราะจะยิ่งทำให้ลูกต่อต้าน สิ่งที่พ่อแม่ควรทำในกรณีนี้คือ

  1. กำหนดเวลา: เวลาเป็นเรื่องสำคัญเสมอ เพราะทุก 1 ชั่วโมงที่ลูกเล่นเกม เท่ากับว่าเขาเสียเวลา 1 ชั่วโมงในการออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิต เพราะฉะนั้น พ่อแม่ควรกำหนดเวลาว่าเล่นได้วันละกี่ชั่วโมง ข้อมูลจาก Common Sense Media สหรัฐฯ ระบุว่า 56% ของเด็กอายุ 13-17 ปี เล่นเกมเฉลี่ย 2.5 ชั่วโมงต่อวัน หากพ่อแม่กำหนดให้ลูกเล่นเกมวันละ 2 ชั่วโมง โดยตั้งเวลาไว้ ก็จะช่วยให้ลูกจัดการตัวเองได้ง่ายขึ้น 
  2. ให้ความรู้: พ่อแม่ควรให้ความรู้เด็กๆ ว่าแม้เกมจะมีประโยชน์หลายด้าน แต่อะไรที่มากเกินไปย่อมมีผลเสีย ยกตัวอย่างให้ลูกเข้าใจ เช่น ด้านร่างกายเสียสายตา ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ด้านการเรียน ทำให้ไม่ได้อ่านหนังสือ ทำการบ้านไม่เสร็จ ด้านสังคม ทำให้พลาดโอกาสไปเที่ยวเล่นกับเพื่อน เป็นต้น ลองสนับสนุนให้ลูกเปลี่ยนจากผู้เล่น เป็นผู้สร้าง ด้วยการฝึกเขียนเกม เขียนโปรแกรม จุดประกายความคิดให้ลูก เช่น “เกมนี้เขาสร้างยังไงนะ แม่รู้มาว่ามี AI เขียนเกมได้ ลูกอยากลองทำไหม” เป็นจุดเริ่มต้นให้ลูกเปลี่ยนจากการเล่นเกม ไปทำอย่างอื่นแต่ก็ยังมีความเชื่อมโยงกับเกมอยู่บ้าง 
  3. ใช้เครื่องมือช่วย: หากการจับเวลาทั่วไปไม่ได้ผล อาจหาแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมที่ทำหน้าที่จับเวลา และจำกัดการเล่นเกมของลูก สำหรับเด็กที่เล่นเกมผ่านคอมพิวเตอร์ ลองดาวน์โหลดโปรแกรม Cold Turkey Blocker ที่จะบล็อกเกมหรือโซเชียล มีเดีย เมื่อถึงเวลาที่ตั้งไว้ 

แม้เกมจะทำให้เด็กๆ สนุก ผ่อนคลาย แต่เกม ก็ไม่อาจแทนที่ช่วงเวลาดีๆ ที่ลูกต้องการมีร่วมกับพ่อแม่ได้ แม้ว่าทุกวันนี้การหาเงินเลี้ยงปากท้องเป็นเรื่องสำคัญและเกมอาจทำให้ลูกคลายเหงาแทนพ่อแม่ได้แต่เชื่อเถอะว่า หากพ่อแม่ทุ่มเทสร้างเวลาคุณภาพให้ลูกอย่างแท้จริง เด็กๆ จะย่อมเลือกพ่อแม่มากกว่าเกม สุดท้ายแล้วสิ่งที่จะเอาชนะการติดเกมได้ จึงอาจไม่จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ใดๆ มีเพียงแต่ใจของพ่อแม่ที่พร้อมจะอยู่ตรงนั้นเพื่อรับฟังเข้าใจและให้เวลากับลูก…ก็เพียงพอ 

แหล่งอ้างอิง (Sources) :

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

คุณธรรมและจริยธรรม
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1310 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1637 ผู้เรียน
ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
203 views • 1 ปีที่แล้ว
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
74 views • 1 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
95 views • 1 ปีที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
169 views • 1 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก