Starfish Future Labz แนะแนวทักษะชีวิต 5 เคล็ดลับ ช่วยลูกพัฒนาสมาธิ พร้อมจดจ่อในทุกสถานการณ์

เมื่อคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองเริ่มมีบุตรหลานตัวน้อยอยู่ในความดูแล ทุกคนย่อมเกิดความสงสัยว่าเราจะเลี้ยงดูพวกเขาอย่างไรให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ โดยปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าพัฒนาการของเด็ก ๆ ควรมาพร้อมกับ ทักษะชีวิต ที่หลากหลายเพราะทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ในยุคที่เทคโนโลยีขับเคลื่อนโลกไปอย่างรวดเร็วเช่นทุกวันนี้ การมีสมาธิดีย่อมเป็นทักษะที่สำคัญไม่น้อยไปกว่า ทักษะชีวิตอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กและเยาวชน เพราะเป็น การพัฒนาความตั้งใจจดจ่อ ต่อหน้าที่หรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ช่วยให้สมองปลอดโปร่งพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองทุกคนสามารถ เลี้ยงลูก ให้เป็นผู้มีสมาธิดีได้ โดยวันนี้ Starfish Future Labz ขอแนะนำ 5 วิธีการฝึกให้ลูกมีสมาธิ เพื่อสนับสนุนบทบาทการดูแลเด็ก ๆ ให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ ดังนี้
1. มั่นใจ เชื่อใจในตัวลูก
ในขณะที่ลูกกำลังเล่นสนุกหรือทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามประสาเด็ก แม้ผู้ใหญ่อย่างเราอาจรู้สึกอยากมีส่วนร่วม เพื่อคอยดูแลสนับสนุนลูก ๆ อย่างใกล้ชิด แต่หากกิจกรรมนั้น ไม่เป็นอันตราย ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ตั้งใจทำกิจกรรมนั้นด้วยตนเองจนสำเร็จ โดยไม่เข้าไปช่วยหรือรบกวน เพราะการดูแลแบบห่าง ๆ (อย่างห่วง ๆ) นอกจากจะเป็นการส่งเสริม ทักษะชีวิต ด้านความจดจ่อให้เด็กทำกิจกรรมต่อจนสำเร็จแล้ว ยังเป็นการสร้างเสริมความมั่นใจส่วนตัวของพวกเขา ในยามที่ต้องเผชิญกับความท้าทายภายในกิจกรรมอีกด้วย
2. อยู่เคียงข้าง พร้อมยื่นมือเข้าประคองทุกเมื่อที่ลูกต้องการ
การที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองดูแลเด็ก ๆ แบบห่าง ๆ ในขณะทำกิจกรรมนั้น ไม่ได้เท่ากับการหันเหความสนใจจากตัวลูกน้อยไปเสียทีเดียว เพราะบางครั้งเด็ก ๆ ยังต้องการ คำปรึกษาและกำลังใจเมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายในกิจกรรม การแสดงออกให้พวกเขารับรู้ว่า ยังมีผู้ใหญ่ที่พร้อมให้คำแนะนำและส่งแรงใจยังทำให้เด็กมีพลังในการแก้ไขปัญหา อันจะนำไปสู่การพัฒนาความตั้งใจจดจ่อในการก้าวข้ามอุปสรรคตรงหน้าจนประสบความสำเร็จ
3. ชวนทำกิจกรรมสร้างเสริมสมาธิ ภายในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
อีกหนึ่งวิธีการฝึกให้ลูกมีสมาธิโดยตรงคือการจัดให้เด็ก ๆ ทำกิจกรรมแสนสนุกที่มีการจดจ่อเป็นส่วนสำคัญ กิจกรรมดังกล่าว เช่น งานศิลปะ งานประดิดประดอย บทบาทสมมติ และการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ เป็นต้น ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง ควรจัดหาของเล่นหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นิทานภาพสี่สี ของเล่นมีเสียง ภาพจิ๊กซอว์ และไม้บล็อก กับจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับกิจกรรม และหากสะดวกเข้าร่วมกิจกรรมกับลูก ๆ ด้วย จะยิ่งเป็นการดี เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างสมาธิให้แก่เด็กแล้วยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัวผ่านการเลี้ยงลูกอีกด้วย
4. กำหนดเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมและตารางชีวิต
ในขณะที่ลูกยังอยู่ในวัยอนุบาลหรือประถมศึกษาตอนต้น คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง ควรร่วมกับเด็ก ๆ กำหนดตารางชีวิตแบบคร่าว ๆ ว่าในแต่ละวันพวกเขามีกิจวัตรหน้าที่อย่างไรบ้าง จุดประสงค์ของการกำหนดตารางนี้คือ เพื่อให้เด็ก ๆ คุ้นเคยกับชีวิตในโรงเรียนซึ่งมีการจัดตารางเวลาให้ เมื่อลูก ๆ คุ้นเคยกับการมีตารางชีวิตแล้วพวกเขาจะเริ่มเข้าใจว่า กิจกรรมแต่ละอย่าง มีเป้าหมายที่ควรจะบรรลุ ซึ่งก่อนที่พวกเขาจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายของกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง เมื่อโตขึ้น ผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจกำหนดเป้าหมายดังกล่าวร่วมกับเด็ก ๆ เพื่อให้พวกเขาเห็นสิ่งที่เปรียบเสมือนเส้นชัยของแต่ละกิจกรรม อันจะนำไปสู่การจดจ่อกับสิ่งที่ควรทำ เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งเป็นการสร้างเสริมสมาธิในเด็กนั่นเอง
5. หากลูก ๆ ไม่มีสมาธิอยู่เสมอ ควรรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก
เมื่อคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองสังเกตว่าลูก ๆ หรือเด็ก ๆ ที่อยู่ในความดูแล ไม่อยู่นิ่งเลยแม้จะจัดให้ทำกิจกรรมเสริมสร้างสมาธิหลากหลายรูปแบบ และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจดจ่อในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นระยะเวลาพอสมควร อาจเป็นสัญญาณเตือนให้พาเด็กไปพบกุมารแพทย์ (หมอเด็ก) หรือนักจิตวิทยาเด็ก เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการดังกล่าวและหาทางพัฒนาสมาธิ ทั้งนี้ การไม่อยู่นิ่งของเด็ก อาจไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงกับโรคสมาธิสั้นเสมอไป แต่การรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก นอกจากจะทำให้สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้แต่เนิ่น ๆ แล้ว ยังก่อให้เกิดความสบายใจหากพฤติกรรมความไม่นิ่งของลูก ๆ เหล่านั้นเป็นพฤติกรรมปกติของเด็กในวัยเดียวกันอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าการมีสมาธิดีในเด็กนั้นเป็น ทักษะชีวิต ที่มีประโยชน์หลายประการ ทั้งความตั้งใจ จดจ่อทำกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประสบผลสำเร็จ การพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ ในการเลี้ยงลูก คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองอาจนำ วิธีการฝึกให้ลูกมีสมาธิ ทั้ง 5 วิธี ที่ Starfish Labz นำมาฝากข้างต้นไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของเด็ก ๆ ให้สามารถจดจ่อกับสิ่งดี ๆ หรือสิ่งที่ควรทำตรงหน้าได้อย่างมีความสุข ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วพวกเขาจะเป็นผู้มีวินัยในตนเอง และประสบความสำเร็จในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียนต่อไป
อ้างอิง
Related Courses
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...



How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...



ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...



เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...



เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Related Videos


พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21


Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย


10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

