7 ข้อผิดพลาด ที่นักเรียนมักมองข้าม ตอนสมัครเรียนต่อในรอบ Portfolio

Starfish Academy
Starfish Academy 1784 views • 1 ปีที่แล้ว
7 ข้อผิดพลาด ที่นักเรียนมักมองข้าม ตอนสมัครเรียนต่อในรอบ Portfolio

แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio ใช้รวบรวมข้อมูลส่วนตัว ผลงานความสำเร็จ กิจกรรมที่เคยร่วม และโชว์ความสามารถที่หลากหลายด้าน เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับน้อง ๆ ทุกคน นอกจากใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย และสมัครงานในบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ ปกติแล้ว Portfolio จะประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานดังต่อนี้ ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ผลงานที่ผ่านมา กิจกรรมที่น่าสนใจ งานอดิเรกที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา เกียรติบัตร 

เด็ก ๆ ยุคปัจจุบันเรียกว่ามีของในตัวเยอะมาก เก่ง ฉลาดแทบทุกด้าน ทำให้เวลาทำ Portfolio บางครั้งจับต้นชนปลายไม่ถูก อันนี้ก็อยากโชว์ อันนั้นคณะกรรมการน่าจะชอบ สุดท้ายเอกสารเยอะมากและเกิดข้อผิดพลาด เช่น ใส่ผลงานที่ไม่เกี่ยวข้อง สะกดคำผิด ตัวอักษรไม่เท่ากัน ปัญหาเหล่านี้อาจดูเล็กน้อย

แต่ถ้าเราทำทุกอย่างเรียบร้อย เวลาที่คณะกรรมการตรวจเขาเห็นถึงความใส่ใจของเรา ที่สำคัญยังมีอีกหลาย Portfolio ที่รอรับการคัดเลือก เมื่อพอร์ตของน้อง ๆ ดูเป็นระเบียบและง่ายต่อการตรวจก็เพิ่มความประทับใจได้แล้ว 

น้องบางคนอาจยังไม่มั่นใจ จะเริ่มตรวจ Portfolio อย่างไรดี พี่ ๆ Starfish Labz ขอเสนอ 5 ข้อผิดพลาดที่น้อง ๆ หลงลืมตอนทำพอร์ต อ่านจบแล้วรีบเปิด Portfolio เช็คด่วน    

1. ยังหาตัวตนไม่เจอ

ให้เวลากับตนเองสักพักหนึ่งและตัดสินใจว่าอยากเรียนคณะอะไร จบไปจะทำอะไรต่อ เพราะ Portfolio สำหรับบางคณะ เช่น คณะนิเทศศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จำเป็นต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ในพอร์ต และใช้เวลาพอสมควรในการออกแบบ บางมหาวิทยาลัยเขามีโจทย์ให้เราทำผลงานเพิ่มเติมอีกด้วย เพราะฉะนั้นเริ่มจากตัดสินใจก่อนเลยว่าจะเข้าคณะไหน 

2. ข้อมูลไม่สอดคล้องกับคณะ 

สำหรับเด็กยุคใหม่ความสามารถที่ครอบคลุมทุกด้าน จะมีผลงานที่หลากหลายคงไม่แปลก แต่น้อง ๆ อย่าลืมเลือกเฉพาะชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับคณะที่เราสมัคร เกียรติบัตร และกิจกรรมต้องไปในทิศทางเดียวกัน เช่น น้องๆ สมัครคณะศิลปกรรมศาสตร์  ควรใส่ผลงานวาดรูป กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ หรือรูปภาพเข้าชมนิทรรศการ และพี่ ๆ ขอแนะนำเพิ่มเติม ถ้ามีผลสอบภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะสมัครเข้าคณะอะไร ใส่เข้าไปด้วยก็น่าสนใจดีนะ 

3. ดีไซน์ยังไม่ลงตัว

เพราะยังจับคู่สีไม่ถูก Portfolio เลยยังดูไม่สมบูรณ์แบบ พี่ ๆ แนะนำใช้เว็บไซต์จับคู่สีสำเร็จรูป เช่น Adobe color , Color Hunt และใช้เฉพาะ 3 สี เพื่อง่ายต่อการควบคุม เลือกสีได้ตามใจชอบหรือจะใช้สีของมหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ สมัครก็ได้ นอกจากนั้นฟอนต์ที่ใช้ไม่ควรเกิน 1-2 ฟอนต์ ช่วยให้คณะกรรมการอ่านง่ายและไม่เพ่งสายตามากเกินไป 

4. ข้อความไม่เป็นระเบียบ

ไม่มีย่อหน้าหรือลำดับกำกับบอกให้รู้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของเนื้อหา ทำให้กรรมการต้องใช้เวลาพิจารณา Portfolio ของน้อง ๆ นานกว่าปกติ และสร้างความสับสนให้กับพวกเขาได้ พี่ ๆ แนะนำให้จัดย่อหน้า เรียงให้เป็นระเบียบ เยื้องซ้าย เยื้องขวา และทำตัวหนาสำหรับหัวข้อใหญ่ นอกจากนี้ขนาดของข้อความสำหรับหัวข้อใหญ่ ควรปรับให้ใหญ่กว่าเนื้อหาเพื่อแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน

5. ไม่ตรวจเช็คข้อมูล 

Portfolio สวยก็เป็นส่วนช่วยให้กรรมการชื่นชม แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เนื้อหาในพอร์ต แบ่งเวลาออกแบบและตรวจสอบเนื้อหาให้ดี เพื่อน้อง ๆ จะได้ไม่พลาดจุดนี้ หรือถ้าข้อมูลมันเยอะเกินไป ลองสรุปและจัดเรียงใหม่ ทำให้ทุกอย่างกระชับ อ่านง่าย และอย่าลืมตรวจทานคำผิด ให้เพื่อนหรือคนใกล้ตัวช่วยอ่าน หรือจะใช้โปรแกรมตรวจในอินเทอร์เน็ตก็ได้ เมื่อเนื้อหาที่สมบูรณ์และการออกแบบที่ทำด้วยความตั้งใจ น้องก็สามารถพิชิตใจคณะกรรมการได้แล้ว  

6. ลืมอ่านกฎระเบียบของคณะ 

ข้อมูลพื้นฐานทุกอย่างครบ แต่ลืมใส่เอกสารที่คณะระบุไว้ในกฎระเบียบ น้อง ๆ ต้องเช็คก่อนเสมอว่าคณะใดบ้าง ขอเอกสารเพิ่มเติม ทำเช็คลิสต์ส่วนตัวให้เรียบร้อยเมื่ออ่านกฎระเบียบเข้าใจแล้ว พอถึงเวลาส่งก็นำมาเช็คทีละข้อว่ามีอะไรบ้างแล้วใน Portfolio ของเรา  เพื่อป้องกันการตกหล่นของเอกสาร 

7. ยื่นพอร์ตฯ เดียวพอร์ตฯ เดิม

ทุกสาขาคุณสมบัติและความต้องการต่างกัน พี่ ๆ ไม่อยากให้น้องพลาดโอกาส ทุกครั้งที่ยื่นสาขาใหม่น้อง ๆ อย่าลืมปรับปรุง Portfolio ให้สอดคล้องกับคณะที่เราสมัคร บางข้อมูลเราสามารถคงไว้ได้ เช่น ประวัติการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ส่วนผลงาน เกียรติบัตร กิจกรรม ต้องเช็คอีกรอบให้สอดคล้องกับสาขาใหม่ที่กำลังจะยื่น 

ทั้งหมดนี้เป็นข้อผิดพลาดที่น้อง ๆ หลายคนหลงลืมตอนทำ Portfolio และหลายคนอาจมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป พี่ ๆ Starfish Labz เลยเอามาย้ำเตือนอีกครั้ง หวังว่าน้อง ๆ จะนำไปตรวจสอบกับ Portfolio ของตนเองและได้เข้าคณะที่ต้องการ

Sources: 

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะการทํางานแบบมืออาชีพ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะการเขียน Resume ให้ปัง

สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาหรือผู้ที่กำลังมองหางานใหม่ เมื่อพูดถึงการเขียน Resume นั้น หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า ประสบก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะการเขียน Resume ให้ปัง
Starfish Academy

ทักษะการเขียน Resume ให้ปัง

Starfish Academy
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
3:00 ชั่วโมง

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

สร้าง Portfolio ให้โดนใจใช่เลย

เครื่องมือช่วยในการออกแบบทำ Portfolio จะต้องจัดวางอย่างไรให้สวย ต้องมีหัวข้ออะไรบ้าง จะแนบรูปภาพ ผลงาน กิจกรรมแล ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
สร้าง Portfolio ให้โดนใจใช่เลย
Starfish Future Labz

สร้าง Portfolio ให้โดนใจใช่เลย

Starfish Future Labz
8201 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

Applications เพื่อสร้างงานกราฟิกอย่างง่าย

ตัวช่วยดี ๆ สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังสนใจในการทำอาชีพบนโลกออนไลน์ และต้องการสร้างความโดดเด่นให้กับผลงานของตัวเอง เพื่อเพิ่ม ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
Applications เพื่อสร้างงานกราฟิกอย่างง่าย
Starfish Future Labz

Applications เพื่อสร้างงานกราฟิกอย่างง่าย

Starfish Future Labz
3727 ผู้เรียน

Related Videos

เด็กจบใหม่เผชิญโลกอย่างไร? ในยุคโควิด
06:01
Starfish Academy

เด็กจบใหม่เผชิญโลกอย่างไร? ในยุคโควิด

Starfish Academy
144 views • 2 ปีที่แล้ว
เด็กจบใหม่เผชิญโลกอย่างไร? ในยุคโควิด
ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "
05:51
Starfish Academy

ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "

Starfish Academy
271 views • 1 ปีที่แล้ว
ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
987 views • 1 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
203 views • 1 ปีที่แล้ว
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น