Key to the Little Minds ❤
วันก่อนนั่งคุยกับลูกชาย เด็กชายใจเด่น เล่นๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ลูกชอบและได้เรียนที่โรงเรียน คุยกันไปมาลูกพูดขึ้นมาว่า “My mind holds what’s most interesting to me”. หรือแปลเป็นไทยคือ “ผมจำได้แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผม” ประโยคนี้ทำให้เรา หยุดคิดและอึ้งไปเหมือนกัน ทำให้เรานึกถึงตอนที่คนจะพยายามอธิบายเรื่องของรุ่น มอเตอร์ไซค์ต่างๆให้เราฟัง ซึ่งแม้คนเล่าจะเล่าด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้นขนาดไหน เรากลับ ไม่รู้สึกสนใจและงงอยู่พักใหญ่ ที่สำคัญคือวันนี้จำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเค้าพูดว่าอะไรบ้าง
ในฐานะคนที่เชื่อทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Constructivism เรามีความเชื่อว่าความรู้ สามารถเกิดขึ้นได้โดยตนเองเป็นผู้สร้างขึ้นเท่านั้น เราเรียนรู้โดยการเชื่อมต่อ ประสบการณ์เดิมเข้ากับประสบการณ์ใหม่
Interest หรือความสนใจในที่นี้เป็นหนึ่งในรูปแบบของประสบการณ์เดิมที่ใจเด่นมี และ พร้อมที่จะเชื่อมต่อกับการเรียนรู้ใหม่ ในฐานะนักการศึกษาหรือครูเราจะทำอย่างไรเพื่อ คว้าความสนใจนั้นเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ บ่อยครั้งที่เรามักจะจดจ่อกับสิ่งที่เรา อยากสอนมากกว่าสิ่งที่นักเรียนสนใจหรืออยากเรียน ไม่ว่าเราจะพยายามถ่ายทอด ความรู้นั้นไปให้นักเรียนสักเท่าไหร่ แต่มันกลับกลายเป็นว่าความรู้นั้นไม่ได้ ”เข้าหัว” นักเรียนเลย
ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครองก็เช่นกัน เราต้องพยายามเสาะหาความสนใจของลูก และใช้ ความสนใจนั้น เป็นกุญแจเข้าสู่การเรียนรู้ ความคิด และจิตใจ วิธีนี้จะทำให้สิ่งใหม่ที่ลูก เรียนรู้อยู่กับเขาไปอย่างยั่งยืนค่ะ
บทความใกล้เคียง
ทำไมพ่อแม่ถึงอยากสอนลูกให้รู้จักเอาตัวรอดมากกว่าการเรียนเก่ง

เป็นเรื่องธรรมดานะคะที่พ่อแม่ทุกคนล้วนอยากที่จะให้ลูกของเรานั้นเรียนเก่ง เราก็จะเห็นได้ว่านอกจากการเรียนในห้องเรียนที่เยอะซะจนเด็กๆ เครียดแล้ว ก็ยังต้องไปเรียนพิเศษกันต่ออีก เพื่อเสริมความฉลาดของลูก เพื่อให้เขาประสบความสำเร็จ และเป็นหน้าเป็นตาแก่ ...
สร้างความมั่นใจให้ลูกผ่าน “การฝึกพูดกับตัวเอง”

เมื่อเด็ก ๆ ต้องพูดหน้าชั้นเรียน เตรียมตัวเข้าห้องสอบ หรือลองทำอะไรใหม่ ๆ อาจจะเกิดอาการตื่นเต้นหรือไม่มั่นใจขึ้นมาได้ ซึ่งนอกจากการให้กำลังใจเด็ก ๆ แล้ว อีกวิธีหนึ่งที่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกได้ คือการฝึกให้เขารู้จักพูดกับตัวเอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง ...
พัฒนาทักษะการคิดของลูกด้วย “วินัยเชิงบวก”

หากกล่าวถึง “การสร้างวินัยให้กับลูก” หลายคนคงนึกถึงการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด มีบทลงโทษเพื่อให้จดจำ เช่น การดุ การตีด้วยมือหรือไม้เรียว เพราะเชื่อว่าเมื่อเด็กรู้สึกเจ็บปวด พวกเขาจะไม่ทำพฤติกรรมเดิมอีก เหมือน “คำสั่ง” ที่พ่อแม่ผู้หวังดีเลือกใช้กับลูกของตัวเ ...