16 วิชาเอาตัวรอดที่ควรสอนเด็กๆ ตั้งสติระวังเหตุร้ายในทุกสถานการณ์

Starfish Academy
Starfish Academy 29713 views • 2 ปีที่แล้ว
16 วิชาเอาตัวรอดที่ควรสอนเด็กๆ ตั้งสติระวังเหตุร้ายในทุกสถานการณ์

16 เรื่องที่ต้องสอนเด็ก 

ฝึกทักษะชีวิตเอาตัวรอดได้ในทุกสถานการณ์ 

Starfish Labz รวบรวมเรื่องที่สำคัญและจำเป็นสำหรับชีวิตเด็ก ๆ เพื่อฝึกให้เด็ก ๆ 

#เอาตัวรอดให้เป็น หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นในชีวิตประจำวัน 

ซึ่งในแต่ละเรื่อง คุณครู หรือพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปรับใช้ในแต่ละช่วงวัยของเด็ก ๆ ได้ค่ะ 

อ้างอิงหัวข้อจาก ‘คู่มือประชาชนในการเตรียมตัวให้รอดปลอดภัยพิบัติ จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย’ 

-สามารถดาวน์โหลดคู่มือและอ่านละเอียดฉบับเต็มได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

เรื่องที่ 1: ภัยพิบัติต่าง ๆ 

สอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้สัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติก่อนภัยพิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่น

เรื่องอุทกภัย : เกิดจากฝนตกหนักและระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เรื่องดินถล่ม : น้ำเป็นสีขุ่นข้นและเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีดินภูเขา

เรื่องสึนามิ : น้ำทะเลลดระดับลงอย่างรวดเร็วหลังเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงใต้มหาสมุทร

เรื่องพายุฤดูร้อน : อากาศร้อนอบอ้าว และเมฆก่อตัวอย่างรวดเร็ว 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ เตรียมพร้อมรับมือภับพิบัติ ลดเสี่ยงอันตราย…ดำเนินชีวิตปลอดภัย น.1-4 

เรื่องที่ 2: การฝึกเตรียมถุงยังชีพฉุกเฉิน พร้อมไว้ที่บ้าน 

สอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมถุงยังชีพไว้ที่บ้าน หากเกิดเหตุกาณ์ที่ไม่คาดฝัน เด็ก ๆ จะได้รู้ว่าสิ่งที่ควรเตรียมไปเมื่อยามจำเป็นนั้นมีอะไรบ้าง และอะไรคือสิ่งที่ไม่ควรนำไป ยกตัวอย่างเช่น 

เครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง น้ำดื่ม ยารักษา เป็นต้น

ของใช้ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในระยะแรก เช่น ไฟฉายพร้อมถ่านแบบกันน้ำ วิทยุพร้อมถ่านสำรอง นกหวีด เทียนไข เชือก กระดาษชำระ เป็นต้น

เอกสารสำคัญต่าง ๆ ให้เก็บไว้ในถุงพลาสติกกันน้ำ ได้แก่ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตร สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 

นอกจากนี้ลองให้เด็ก ๆ หากระเป๋าที่น้ำหนักเบา ที่สามารถพกพาได้สะดวก หยิบใช้ได้ง่ายเมื่อเกิดยามฉุกเฉิน 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ ถุงยังชีพฉุกเฉิน พร้อมไว้เมื่อภัยมา น.5-6

เรื่องที่ 3: การเอาตัวรอดเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ 

สอนให้เด็ก ๆ ดูแลตัวเอง และทำตามข้อระเบียบต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายทางน้ำ หรือหากเกิดอันตรายทางน้ำ เด็ก ๆ จะต้องทำอย่างไร ตามหัวข้อย่อยที่ควรเรียนรู้ดังนี้ 

การขึ้นและลงเรือ: ต้องรอให้เทียบท่าสนิทเสียก่อน และไม่ลงเรือที่บรรทุกเกินอัตรา 

ไม่ยืนรอเรือบนโป๊ะ: ควรยืนรอเรือภายในเขตเส้นสีเหลืองที่กำหนดไว้ 

การกระจายการนั่งบนเรือให้สมดุล: ไม่ควรยืนบริเวรท้ายเรือ หรือกราบเรือ 

การทรงตัวให้นิ่ง ๆ เมื่อเรือมีอาการเอียงหรือไหว 

การสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งเมื่อลงเรือ 

การไม่หลอกล้อกันเมื่อขึ้นหรือลงเรือ 

การช่วยเหลือตัวเองเมื่อพลัดตกจากเรือ: ควรมีสติและพยุงตัวให้ลอยน้ำโดยใช้ขาสองข้างตีน้ำ พยายามหาที่ยึดเกาะ และรอการช่วยเหลือ

การช่วยเหลือตัวเองเมื่อเรือล่ม: พยายามว่ายน้ำให้ผละออกจากเรือโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการถูกดูดเข้าไปใต้ท้องเรือ ว่ายน้ำออกห่างจากใบพัดเรือ ถอดสิ่งของที่ถ่วงน้ำหนักออก และพยายามคว้าสิ่งของที่ลอยน้ำให้ได้ หรือพยุงตัวรอการช่วยเหลือ อย่าฝืนว่ายน้ำเข้าฝั่ง เพราะอาจหมดแรงและเป็นตะคริวได้ 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ อุบัติภัยทางน้ำ มหันตภัยสายน้ำคร่าชีวิต น.7-9

เรื่องที่ 4: การช่วยเหลือคนจมน้ำ 

สอนให้เด็ก ๆ รู้จักวิธีพื้นฐานของการช่วยเหลือคนอื่น ยกตัวอย่างเช่น  

เด็ก ๆ ต้องรู้จักการการประเมินศักยภาพตัวเองก่อนว่าเราช่วยได้ หรือ ไม่ได้อย่ารีบช่วยในทันที ยิ่งถ้าหากว่ายน้ำไม่เป็น ไม่ควรที่จะช่วยเหลือเพราะอาจทำให้จมน้ำทั้งคู่ 

การหาอุปกรณ์ช่วยเหลือที่ใกล้ตัวที่สุด : หากเด็ก ๆ ไม่สามารถช่วยได้ ให้ลองหาอุปกรณ์ใกล้ตัวที่สุด เช่น ไม้ ห่วงยาง เสื้อชูชีพ ถังแกลลอน เพื่อให้คนที่คนกำลังจมมีสิ่งยึดเกาะ

รีบแจ้งผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด 

หากว่ายน้ำเป็น ควรว่ายเข้าไปด้านหลังพร้อมจับตัวผู้ประสบเหตุให้ลอยตัวในท่านอนหงาย ให้ใบหน้าพ้นน้ำ จากนั้นให้ประคองตัวเข้าหาฝั่ง 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ การช่วยเหลือคนจมน้ำ น.9

เรื่องที่ 5: การเตรียมรับมือเมื่อน้ำท่วม 

สอนเด็ก ๆ ให้เตรียมตัว เตรียมรับมือเมื่อเกิดน้ำท่วม ในหัวข้อย่อยดังนี้ 

สิ่งที่ต้องทำก่อนเกิดน้ำท่วม

การติดตามพยากรณ์อากาศ

การเตรียมถุงยังชีพ

การเตรียมกระสอบทราย 

สิ่งที่ต้องทำขณะเกิดน้ำท่วม

การประเมินระดับน้ำ 

การขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง 

การตัดกระแสไฟฟ้าในบ้าน 

การอพยพขึ้นที่สูง 

การดูแลสมาชิกในบ้าน คนแก่ และเด็ก 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ แนะเตรียมรับมือ หนีภัยจากน้ำท่วม น.12-14 และรู้ทันอันตราย ช่วยป้องกันภัยในช่วงน้ำท่วม น.15-20

เรื่องที่ 6: การเตรียมรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว 

สอนเด็ก ๆ ให้เตรียมตัวรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ในหัวข้อย่อยดังนี้

การประเมินสถานการณ์รอบข้าง 

การเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหว สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ 

สิ่งที่ควรทำหลังเกิดเหตุ 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ แผ่นดินไหว…หายนะจากธรณีพิบัติภัย เรียนรู้ รับมือ ภัยแผ่นดินไหว น.24 - 27

เรื่องที่ 7: การเตรียมรับมือเมื่อเกิดสึนามิ

สอนเด็ก ๆ ให้เอาตัวรอด และเตรียมรับมือหากเกิดสึนามิ ได้ตามหัวข้อย่อยดังนี้ 

ทำความรู้จักกับสึนามิ ว่าสึนามิเกิดจากอะไร และผลประทบของสึนามิมีอะไรบ้าง 

การเอาตัวรอดเมื่อเกิดสึนามิในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณีอยู่ในเรือ กรณีอยู่ใกล้ริมชายหาด เป็นต้น 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ สึนามิ มหันตภัยคลื่นยักษ์ เรียนรู้ เตรียมพร้อมรับมือภัยสึนามิ น.28 - 30

เรื่องที่ 8: การป้องกันและหลบหลีกฟ้าผ่า 

สอนเด็ก ๆ รู้กันป้องกันและหลบหลีกการถูกฟ้าผ่า ตามหัวข้อย่อยดังนี้ 

วิธีป้องกันเมื่ออยู่กลางแจ้ง 

วิธีป้องกันเมื่ออยู่ในอาคาร 

วิธีหลบหลีกกรณีอยู่กลางแจ้ง เช่น อยู่ใต้ต้นไม้ อยู่ในรถยนต์ อยู่ในเพิงพักสังกะสี 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ แนะป้องกันฟ้าผ่า มหันตภัยร้ายช่วงต้น-ปลายฤดูฝน น.34 - 36 และแนะวิธีหลบหลีกฟ้าผ่า กรณีอยู่กลางแจ้ง น.37-39 

เรื่องที่ 9: วิธีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกวิธี 

สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักมีความระมัดระวังในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกวิธี เพื่อความปลอดภัย ตามหัวข้อย่อยดังนี้ 

การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และวัตถุประสงค์ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าไฟแรงสูง ควรเสียบกับปลั๊กที่มีกำลังไฟเท่าไหร่ เป็นต้น

การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เด็ก ๆ ควรมีทักษะสังเกตความผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น สายไฟแบบไหนที่เรียกว่าชำรุดแล้ว หรือการสังเกตกลิ่นไหม้ต่าง ๆ 

การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หากตัวเปียก ไม่ควรเสียบปลั๊กไฟ หรือห้ามซ่อมแซ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเอง 

การช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด เช่น การห้ามใช้มือเปล่าหรือส่วนใดส่วนหนึ่งถูกตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูด ให้ยืนอยู่บนพื้นหรือวัสดุที่แห้ง และสวมร้องเท้าพื้นยาง เพื่อป้องกันการถูกกระแสไฟฟ้าดูด 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ รู้หลักใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าถูกวิธี ช่วยชีวิตรอดปลอดภัย น.40 - 43

เรื่องที่ 10: การเตรียมรับมือกับไฟไหม้ 

สอนเด็ก ๆ ให้เตรียมมือเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ ตามหัวข้อย่อยดังนี้ 

การป้องกันเพลิงไหม้ 

สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดเพลิงไหม้ในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณีไหม้นอกห้องเรียน กรณีติดอยู่ในวงล้อมของกองเพลิง หากไฟลุกลามติดเสื้อผ้า 

การหนีออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ เพลิงไหม้ หายนะ เรียนรู้ ป้องกัน รู้ทันเพลิงไหม้ น.50 - 53

เรื่องที่ 11: การช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากสารเคมี

สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักรักษาตัวเอง เมื่อได้รับอันตรายจากสารเคมีที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ตามหัวย่อยดังนี้ 

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากได้รับอันตรายทางผิวหนัง

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากได้รับอันตรายทางดวงตา

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากได้รับอันตรายทางการสูดดม

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากได้รับอันตรายทางการรับประทาน

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ หลักการช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อได้รับอันตรายจากสารเคมี น.61-63

เรื่องที่ 12: การใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี เพื่อลดการเสี่ยงระเบิด

สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี หัวข้อนี้อาจจะเหมาะกับเด็ก ๆที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และโตพอที่จะใช้ก๊าซหุงต้มได้ ซึ่งเราควรสอนเด็ก ๆ ตามหัวข้อดังนี้ 

การใช้ก๊าซหุงต้ม เช่น การเปิดวาล์วที่เตาแก๊ส กรณีเปิดไม่ติด อย่าเพิ่งเปิดซ้ำ ต้องทิ้งสักระยะ เพื่อไม่ให้เกิดประกายไฟ 

การตรวจสอบรอยรั่วบริเวณถังก๊าซ

การปฏิบัติตัวกรณีก๊าซรั่วไหล 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ ใช้ก๊าซหุงต้มถูกวิธี ลดเสี่ยงระเบิดเพลิงไหม้ น.64-67

เรื่องที่ 13: การใช้อุปกรณ์นิรภัยให้ถูกวิธี

สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักใช้อุปกรณ์นิรภัยให้ถูกวิธี ตามหัวข้อย่อยดังนี้ 

การใช้เข็มขัดนิรภัยอย่างถูกต้อง และข้อควรระวังในการใช้เข็มขัดนิรภัย 

การสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกต้อง และการเลือกใช้หมวกนิรภัย

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

หัวข้อ ใช้อุปกรณ์นิรภัยถูกวิธี ลดอันตราย ลดเสี่ยงตายจากอุบัติเหตุ น.80-84

เรื่องที่ 14: การเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถ

สอนเด็ก ๆ ให้เอาตัวรอดหากติดอยู่ในรถ โดยโรงเรียนบ้านปลาดาว www.facebook.com/SCHSF ได้มีการสาธิตการสอนให้เด็กเอาตัวรอดเมื่อต้องติดอยู่ในรถ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมาตามหัวข้อต่อไปนี้

รู้จักระบบการทำงานของรถยนต์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อเอาตัวรอด ประกอบด้วย แนะนำเกี่ยวกับระบบเซ็ลทรัลล็อคของรถยนต์ แนะนำเกี่ยวกับระบบป้องกันการเปิดจากด้านใน การลดกระจกประตูรถ การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน การใช้แตร และแนะนำให้เด็กมาเปิดประตูจากฝั่งคนขับ

ดูภาพประกอบเพิ่มเติม : www.facebook.com/223036511059587/posts/5365315993498254/?d=n

เรื่องที่ 15: การรู้จักโรคระบาดต่าง ๆ 

สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักวิธีการป้องกัน สังเกตอาการ และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามหัวข้อย่อยดังนี้ 

เชื้อไวรัสโควิด 19 

เชื้อไวรัสซิกา โรคจากยุงลาย

โรคมือ เท้า ปาก 

โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 

โรคไข้หวัดนก 

คุณครูสามารถสอดแทรกเรื่องโรคระบาดอื่น ๆ ได้ หากในช่วงเวลานั้นเกิดโรคระบาดใหม่ 

(ชื่อโรคระบาดข้างต้น เป็นหัวข้อที่ยกตัวอย่างเท่านั้น) 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

 น.115-133

เรื่องที่ 16: รู้จักเบอร์โทรฉุกเฉินของหน่วยงานต่าง ๆ 

สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักเบอร์โทรฉุกเฉินของหน่วยงานต่าง ๆ ในกรณีที่ฉุกเฉิน 

👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf

 หัวข้อ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน น.134-137

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1406 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1803 ผู้เรียน
ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1200 ผู้เรียน

Related Videos

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
8966 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
435 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
43:23
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย

Starfish Academy
390 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร
31:53
Starfish Academy

ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

Starfish Academy
878 views • 1 ปีที่แล้ว
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร