แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของผู้เรียนทุกช่วงวัย
แน่นอนว่าในปัจจุบัน “ความฉลาดทางดิจิทัล” เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะมันเป็นทักษะที่ผู้เรียนพึงมีและผู้สอนก็ควรสนับสนุนตัวผู้เรียนเป็นอย่างมาก แต่หลังจากที่ได้อ่านหัวข้อแล้ว หลายคนอาจมีคำถามว่าแล้ว “ความฉลาดทางดิจิทัล” คืออะไร? วันนี้ทาง Starfish Labz จะพาคุณครูผู้สอนหรือผู้เรียนที่สนใจในด้านนี้ทุกท่านไปทำความรู้จัก
ความฉลาดทางดิจิทัลคืออะไร ?
ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ที่จะทำให้บุคคลสามารถเผชิญกับความท้าทายทางด้านการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมดิจิทัลได้อย่างมีความสุข ซึ่งความฉลาดทางดิจิทัลจะครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตด้วย
สภาพการณ์สังคมดิจิทัลของไทยในปัจจุบัน
เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้ทั่วโลกต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ รวมถึงประเทศไทยของเราด้วยเช่นกัน ทางโรงเรียนหลายแห่งก็มีนโยบายเรียนออนไลน์ทำให้นักเรียนและผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องปรับตัวตาม จากผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ในปี พ.ศ. 2565 พบว่าเด็กไทยส่วนใหญ่มีสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นของตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่ภาวะการเสพติดอินเทอร์เน็ต หรือเสี่ยงภัยออนไลน์เพิ่มขึ้น อีกทั้งในด้านของการศึกษา เราพบว่าเด็กไทยบางกลุ่มปรับตัวได้เร็วแต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่ปรับตัวได้ช้า อีกทั้งยังมีเรื่องของฐานะผู้ปกครอง เพราะไม่ใช่ทุกครอบครัวจะมีกำลังเพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อการเรียนออนไลน์ได้ รวมถึงการที่เด็กบางกลุ่มยังต้องสูญเสียผู้ปกครองจากสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย
ดังนั้นหลายภาคส่วนในประเทศไทยจึงได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการเร่งส่งเสริมทักษะทางดิจิทัลให้แก่ประชาชน ซึ่งสิ่งนี้จะตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่สังคมดิจิทัลอีกด้วย เพราะในปัจจุบันดิจิทัลนั้นก้าวไปเร็วราวกับก้าวกระโดด จนมันเริ่มส่งผลกับการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตประจำวันของใครหลาย ๆ คน อีกทั้งองค์การสหประชาชาติ
ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากอีกด้วย เพราะความก้าวหน้าทางดิจิทัลจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน จากที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเลยว่าการพัฒนาทักษะทางดิจิทัล จะเกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายและประชาชน เพราะหากขาดความร่วมมือจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมันอาจกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไม่ได้ในทันที
เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของทุกช่วงวัย
หลังจากที่ได้อ่านบทความมาถึงตรงนี้ หลาย ๆ ท่านคงเริ่มเห็นภาพความจำเป็นของการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลแล้ว ดังนั้นจึงจะขอสรุปลำดับของเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของผู้เรียนในทุกช่วงวัยได้ ดังนี้
1. รัฐบาลและหน่วยงานที่ต้องร่วมมือกันเพื่อกำกับดูแล
ทางรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน กฎระเบียบในการชี้นำและกำกับ นอกจากนี้ยังควรสนับสนุน รวมถึงติดตามผลลัพธ์จากนโยบายที่ตนตั้งไว้อีกด้วย หากมีนโยบายหรือแผนการไหนที่รู้สึกไม่ได้ผล ควรรีบนำมาหาสาเหตุและปรับปรุงพัฒนาแผนโดยทันที
2. เครือข่ายความร่วมมือ ภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
บูรณาการและประสานพลังเพื่อเติมเต็มช่องว่างของแต่ละแผนการ เพื่อให้แผนที่ถูกวางขึ้นมามีความสมบูรณ์ที่สุด เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาแพลตฟอร์มและสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลให้ครอบคลุมและทั่วถึงมากขึ้น
3. ผู้จัดการเรียนรู้
ครูผู้สอนใช้แนวคิดระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อจัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับครอบครัวและชุมชนสร้างประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้วิถีดิจิทัล และที่สำคัญผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างเครือข่ายโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันด้วย
4. ชุมชนการเรียนรู้
ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย ผู้สร้างระบบและสร้างการเรียนรู้ผู้จัดการเรียนรู้เพื่อดูแลนักเรียน ผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังควรมีพื้นที่เพื่อให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความรู้กันและควร
ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้เป็นระบบ เพื่อง่ายต่อการเข้าใจและทำให้พื้นที่แห่งการเรียนรู้ มีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์พ่วงเข้าไปอีกด้วย
เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลนั้น เราไม่สามารถปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับหน้าที่เพื่อพัฒนามันให้เป็นไปตามเป้าหมายอยู่ฝ่ายเดียวได้ ยิ่งเห็นภาพลำดับการร่วมมือของแต่ละฝ่าย เราจะยิ่งรู้สึกว่าการร่วมมือกันนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก หากประเทศไทยของเราอยากมุ่งขึ้นสู่การพัฒนาอีกระดับขั้น ทุกภาคส่วนควรหันมาร่วมมือกันเพื่อทำให้แผนของเราเป็นจริง เพราะปัจจุบันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลมีการพัฒนาในตัวมันเองอยู่ทุกวัน หากเราไม่ไล่ตามมันให้ดี อาจเป็นตัวเราเองที่ตามมันไม่ทันและเสียผลประโยชน์
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนา รวมถึงการปกป้องประชาชนในประเทศไม่ให้เสียผลประโยชน์การเรื่องนี้ ทุกฝ่ายควรหันมาให้ความสนใจและให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง เพราะสุดท้ายการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของผู้เรียน จะไม่ได้ส่งผลแค่กับตัวผู้เรียนเองเท่านั้น แต่มันยังสามารถทำให้ผู้เรียนเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนรอบข้างอีกด้วย
ดาวน์โหลด หนังสือฉบับเต็ม
บทความใกล้เคียง
5 กลยุทธ์การบริหารการศึกษาสำหรับการพัฒนาทักษะของครูและนักเรียน
Active Teacher ตอน เก็บผลงานง่ายๆ ด้วย Portfolio
ครูคลับ (Kru Club)การประยุกต์ใช้ Google Site เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ และการประเมินวิทยฐานะ
Related Courses
การใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง Immersive Technology ในห้องเรียน
AR เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้นและยังช่วยสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มาก ...
การใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง Immersive Technology ในห้องเรียน
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เขียน Prompt ใน ChatGPT อย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
อยากได้ผู้ช่วยอัจฉริยะที่เข้าใจคุณทุกอย่างไหม? มาเรียนรู้วิธีสื่อสารกับ ChatGPT ผ่าน Prompt กันเถอะ! คอร์สนี้จะสอนเทคนิคกา ...
เขียน Prompt ใน ChatGPT อย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
6 ขั้นตอน สร้าง Presentation ให้ปัง และดึงดูดใจผู้ฟัง
อยาก Presentation เก่งแบบมืออาชีพไหม? คอร์สนี้ตอบโจทย์แน่นอน! เรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการสร้าง Presentation ที่ปัง ...
เทคนิคการสร้าง AR Content อย่างง่ายด้วย MywebAR
ผู้ที่สนใจในการสร้างเนื้อหาดิจิทัล และต้องการใช้ AR เพื่อเพิ่มมิติใหม่กับผลงานของตัวเอง โดยเฉพาะคุณครูอาจารย์ที่ต้องการสร้าง ...
เทคนิคการสร้าง AR Content อย่างง่ายด้วย MywebAR
ต้องใช้ 100 เหรียญ