สร้างลูกให้รู้จักตัวเอง เริ่มต้นได้ที่ความเข้าใจตั้งแต่ในบ้าน

สร้างลูกให้รู้จักตัวเอง เริ่มต้นได้ที่ความเข้าใจตั้งแต่ในบ้าน

สร้างลูกให้รู้จักตัวเอง เริ่มต้นได้ที่ความเข้าใจตั้งแต่ในบ้าน โดยดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร 

คุณแม่ผู้นำด้าน Edtech ดำเนินรายการโดย ศรศักดิ์ หลาบนอก ครูวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญลักษณ์ ในรายการ DESchooling ห้องเรียนข้ามเส้น จัดโดย Thai PBS

จุดประสงค์ของรายการ คือการแลกเปลี่ยนและให้องค์ความรู้ เทคนิควิธีการต่างๆ กับคุณพ่อคุณแม่นำไปสู่การเลี้ยงลูกเชิงบวกอย่างมีคุณภาพ ภายใต้ความเข้าใจซึ่งกันและกันในครอบครัว โดยใช้ต้นทุนที่มีอยู่ในครอบครัวเป็นฐาน เพื่อทำให้เกิดความหลากหลาย 

เริ่มต้น Starfish Trends Talk คืออะไร และมีประโยชน์ต่อคุณพ่อคุณแม่อย่างไร ? 

Starfish Trends Talk คือรายการที่ทำให้การศึกษา หรือการเลี้ยงดูเด็กให้กลายเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน หรือเป็นไลฟ์สไตล์ที่ทุกคนสามารถพูดได้ เราจึงจำเป็นต้องสื่อสารอีกแบบหนึ่ง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ปกครอง และครูที่เราทำงานด้วย โดยมีสไตล์การพูดคุยแบบสบายๆ ไม่ต้องอ้างอิงงานวิชาการ แต่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสามารถเข้าไปรับชมได้ที่ Youtube Starfish Labz channel 

จุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจในการสร้างแพลตฟอร์ม Starfish Labz คืออะไร ? 

เราทำงานการศึกษาและเน้นนวัตกรรมสมัยใหม่ รวมถึงมีโรงเรียน มีคนมาเยี่ยมโรงเรียน และ มี Academy เอง ที่ทำงานร่วมกับหลายสังกัดในประเด็นการพัฒนาครู และผอ. ที่มาจากหลากหลายพื้นที่ ซึ่งทำให้เรามาเจอกันยาก ครูที่เราทำงานอยู่ด้วย อยู่ไกล เราก็เลยสร้าง Starfish Labz เพื่อให้คุณครูเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้บวกกับสถานการณ์ที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด ให้เราเข้าใจว่าการจัดการศึกษาแบบนี้สามารถทำได้ และไปได้ไกล หลังจากนั้น เราก็สามารถพัฒนาตนเองโดยที่ไม่ต้องลำบากมาก และเราเองก็มีประสบการณ์เชี่ยวชาญการทำกิจกรรมแบบออนไลน์ จนเกิดเป็นโมเดลในการพัฒนาครู และผู้ปกครอง ซึ่งตอนนี้เรามีผู้ใช้งานประมาณ 300,000 กว่าคน 70% เป็นครูและเป็นคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น ชุมชนแบบนี้มันเกิดประโยชน์และเราต้องการเสนอแง่มุมใหม่ๆ ในการเลี้ยงดูและการจัดการศึกษา 

น้องๆ แต่ละคนกำลังเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย หรือเลือกเส้นทางการเรียนต่อในระดับม.ปลาย ในบทบาทของคุณแม่ มีส่วนในการบ่มเพาะให้ลูกรู้จักตัวเองหรือไม่ อย่างไร ? 

ในบทบาทของคุณแม่ คือลูกกำลังจะสอบจบมัธยม และจะเข้ามหาวิทยาลัยเดือนกันยายน ซึ่งในระบบการศึกษาของเราบอกว่าเมื่ออายุ 18 เราจะต้องตัดสินใจเลือกเส้นทางเดิน ซึ่งเป็นระบบการศึกษาแบบเดิม มันเป็นสิ่งที่ส่งสัญญาณบอกเราว่าต้องเลือกได้แล้ว ซึ่งมันกดดันมากว่าเราต้องรู้ว่าอยากเรียนอะไร ต้องเลือกสิ่งที่ชอบที่สุด และถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่ชอบที่สุด เราจะต้องทำยังไง แต่ในบทบาทของแม่ ที่ยังอยู่ในระบบแบบนี้ก็ต้องบอกลูกว่า เขาต้องเลือกให้ได้ แต่มันจะไม่ใช่ทางเลือกเดียวที่จะต้องเลือก ถ้าเรียนแล้วยังไม่ใช่ จะต้องทำยังไง ชีวิตพังเลยหรือเปล่า ก็ไม่ใช่แบบนั้น เพราะฉะนั้น เราอาจจะต้องมองอีกมุมหนึ่ง ที่เป็นเรื่องของทักษะ ที่เป็นซอฟต์สกิล (Soft Skill) อย่างตอนนี้บริษัทไม่ได้มองตัวปริญญาเป็นตัวตั้ง แต่เขามองทักษะ โดยเพราะ ซอฟต์สกิล การต้องเลือกอาจทำให้ลูกกดดัน แต่ว่าเราจะต้องคอยเตือนตัวเองและลูกว่ามันไม่ใช่สิ่งสุดท้ายในชีวิต หรือกำหนดเขาได้ทุกอย่าง แต่ต้องทำให้เขารู้สึกว่าเขาสามารถทำได้ทุกอย่าง โดยที่เขาจะไม่กลับมารู้สึกเสียใจ หรือเสียดาย ความคาดหวังของแม่ไม่ได้คาดหวังว่าลูกจะต้องเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก แต่เราคาดหวังว่าเขาควรจะต้องได้ทำในสิ่งที่เขาจะไม่กลับมาแล้วบอกว่า เขาน่าจะทำได้ดีกว่านี้ เพราะเราไม่อยากให้เขาเสียใจทีหลัง

อยากให้ฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ที่อาจจะไม่ได้รับฟังลูก และเผลอไปบังคับลูก เราควรจะต้องทำอย่างไรดี ? 

การที่มีชุมชนพ่อแม่เป็นสิ่งที่ดีมากที่ให้เขามาแลกเปลี่ยนกัน เพราะความเครียดของพ่อแม่ก็มีมากเช่นเดียวกัน บทบาทของเราก็เปลี่ยนไปเวลาลูกเข้ามหาวิทยาลัย หรือโตขึ้น เพราะฉะนั้น เรื่องอาชีพของลูกเราต้องทบทวนตัวเองเยอะมาก อาชีพที่เรารู้จักมันจะไม่มีแล้ว มันจะมีแต่อาชีพที่เราไม่รู้จัก ลูกไม่รู้จัก และอะไรที่เราควรจะให้ลูกติดตัวไป เพื่อที่จะมีอนาคตที่ดีได้ ดังนั้น เราจะต้องเน้นที่ทักษะและสมรรถนะของลูก เช่น เขาจะต้องเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของเขาเอง โดยที่ไม่ต้องให้ใครมาบอก แต่พ่อแม่ต้องให้โอกาสและจัดสภาพแวดล้อมให้เขาได้เรียนรู้ แต่ต้องไม่คาดหวัง เช่น ถ้าเขาขอเรียนดนตรี เราจะต้องไม่คาดหวังว่าเขาจะต้องเป็นนักดนตรีที่เก่งมาก เพราะทักษะเหล่านี้มันคือทักษะพื้นฐาน เราต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ลงมือทำ มันเป็นการเปิดประสบการณ์ ทำให้เขาได้ทักษะที่สามารถนำไปใช้ในหลายๆ ศาสตร์ หรือในหลายๆ สถานการณ์ได้ เพราะฉะนั้น มันอาจสำคัญมากกว่าคำถามว่าอยากเป็นอะไร หรือถ้าเขาอยากเป็นหมอ แพทย์ ที่ต้องใช้ technical skill แต่ถ้าเขาไม่อยากเป็นแต่เราจะผลักดัน ก็อาจจะไปได้ไม่สุด เขาจะไม่มีความสุข ดังนั้น คำถามสำคัญคือ เราอยากให้ลูกทำเพื่อตัวเอง หรืออยากให้ลูกทำเพื่อเรา 

น้องๆ วัย 14-15 ที่กำลังถึงจุดเปลี่ยน เช่น จะไปสายอาชีพ หรือสายสามัญ ก็เป็นอีกช่วงอายุหนึ่งที่เขาจะต้องค้นหาตัวเอง ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ หลายๆ อย่าง 

จริงๆ สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่เด็กๆ เลย ตั้งแต่เกิดมาเลย การที่เด็กรู้จักตัวเองได้ คือ ทักษะด้านสังคมและอารมณ์ เราต้องบ่มเพาะตั้งแต่เด็กๆ ว่ามนุษย์สามารถรู้จักตัวเองได้อย่างไร มนุษย์สามารถที่จะมีเวลา หรือพื้นที่ให้ได้ตัดสินใจว่าชอบ หรือไม่ชอบอะไร รู้จักจุดแข็ง จุดอ่อนยังไง ต้องใช้เวลาในการรู้จักตัวเอง ดังนั้น เวลาเราจัดการศึกษา เราจะเปิดพื้นที่ให้เด็กทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ แต่อยู่ในบริบทที่เราจัดไว้ให้ เช่น มีบริบททั้งหมด 6 อย่าง เด็กคนนี้เลือกทำอะไรมากที่สุด บ่อยแค่ไหน ระหว่างที่เขาทำเขามีพฤติกรรมอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่ปล่อยให้เขาได้ลงมือทำ ได้ตัดสินใจเอง เพราะถ้าเขาไม่ได้ตัดสินใจเองตั้งแต่เล็กๆ เขาจะไม่กล้าตัดสินใจ Self-Esteem เขาจะไม่มี เช่น การให้ลูกเลือกใส่เสื้อผ้าเอง เลือกอาหารเอง โดยเลือกจากสิ่งที่เราวางกรอบไว้ให้ แต่พอเขาโตขึ้น เราจะเอากรอบออก เขาจะรู้ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไรมากขึ้น และที่สำคัญคือการมีเวลาในการพูดคุยสะท้อนกับเขาบ่อยๆ ว่าตอนนี้เขารู้สึกยังไง ซึ่งเป็นคำถามที่ต้องถามบ่อยๆ และเป็นอีกหนึ่งวิธีในการให้เด็กค้นหาตัวเองเจอ 

ความเครียดก็เป็นประเด็นสำคัญมาก หลังโควิด เราเลิกคุยเรื่องนี้ไปเลย แต่จริงๆ ช่วงโควิด ความเครียดส่งผลกับชีวิตของเขาเยอะมาก เช่น ถ้าเด็กอายุ 6 ขวบ 2-3 ปีที่ผ่านมา หรือครึ่งชีวิตของเขาอยู่ในช่วงโควิด มันกระทบกับพัฒนาการของเขามาก ตอนนี้เด็กมีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น เรายิ่งไปกดดัน มันจะยิ่งเครียด ซึ่งความเครียดเดิมมันมีอยู่แล้ว ใดๆ ก็ตามต้องกลับมาดูแลจิตใจลูกให้ดี ว่าพร้อมที่จะพัฒนาและเรียนรู้หรือไม่ เด็กหลายคนไม่ได้อยู่ในสภาวะที่พร้อม แต่อยู่ในภาวะเอาตัวรอด ทำยังไงก็ได้ไม่ให้จม หรือพังไปมากกว่านี้ ดังนั้น การสร้างความกดดันบนความไม่พร้อมของเขา ผลสุดท้ายมันจะอาจจะพังไปมากกว่าที่เราคิดไว้ได้

หลายๆ บ้านยังไม่มีความรู้ หรือเทคนิคมากพอในการให้ลูกรู้จักตัวเอง มีเทคนิคอะไรแนะนำบ้าง ? 

เรามีความเชื่อว่ารากฐานที่ดีที่สุด คือการให้ความอบอุ่นในช่วงเริ่มต้นของเด็ก การให้เขามีพื้นที่ปลอดภัย การให้เขารู้สึกว่าเขาสามารถแบ่งปันเรื่องดีหรือเรื่องร้ายในชีวิตของเขาได้ ถ้ารากฐานมั่นคง จะทำให้เมื่อเขาโตขึ้น เขาสามารถที่จะสื่อสารกับเราได้ดี แต่ว่าในขณะเดียวกัน การสื่อสารของแต่ละคน ก็มีความแตกต่างกัน ถ้าไม่ได้เริ่มตั้งแต่ตอนเด็ก เราทำตอนนี้ก็ยังทัน มันอาจจะมีความเขินอายเล็กน้อย เช่น การบอกความรู้สึกต่อกัน ถึงแม้จะอาย แต่เราก็จะแนะนำว่าทำเถอะ มันเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการความรัก และการรับฟัง ต้องลองเติมตรงนี้ อะไรที่รู้สึกอยู่มันจะดีขึ้น แต่บางครั้งเราก็มีอีโก้ในฐานะความเป็นแม่ พอเราวางอารมณ์และเอาเหตุผลมา ทุกอย่างก็จบ ทุกอย่างก็จะดีขึ้น 

เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ลูกเล็กๆ อะไรที่เราสามารถทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แข็งแรงมากขึ้น เราก็ควรทำ ส่วนพ่อแม่วัยรุ่น วิธีการแสดงออกจะเปลี่ยนไป เขาจะมาคลอเคลียกับเราน้อยลง ในความเป็นแม่ เราต้องปรับตัวเยอะมาก ความคาดหวังว่าการสื่อสารจะต้องเป็นรูปแบบเดิมตลอด อาจจะไม่ใช่ เราจะต้องปรับความคิดใหม่ เพราะพัฒนาการเขาเปลี่ยนตลอด แต่ความเป็นแม่ไม่เคยเปลี่ยน เพราะฉะนั้น เป็นความท้าทายมากที่เราจะต้องปรับวิธีการสื่อสาร วิธีการคุยกับลูกว่าจะคุยยังไง เราต้องคอยปรับตัวกับเขาตั้งแต่เขาอายุ 3 - 17 ขวบ ในแต่ละวัยต้องรู้ว่าจะต้องสื่อสารแบบไหน เรื่องหลักการความสัมพันธ์ไม่เปลี่ยน แต่วิธีการต้องเปลี่ยนตามอายุลูก 

การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่ทำให้เราเข้าใจกันและกัน ใช่ไหม ? 

การสื่อสารที่ดีมาจากรากฐานความสัมพันธ์ที่ดี ถ้าความสัมพันธ์ไม่ดี พูดอะไรก็อาจจะผิดหมด แต่ถ้าความสัมพันธ์ดี ถึงพูดผิดเราจะไม่ถือสา เพราะเราจะเข้าใจกันว่าไม่ได้มาจากความคิดที่ไม่ดี ถ้าจะทำงานเรื่องการสื่อสาร ต้องทำงานกับความสัมพันธ์ด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าสื่อสารไม่ดี ก็จะทำให้ความสัมพันธ์ไม่ดีไปตลอด เพราะฉะนั้น เทคนิคที่ทำได้คือ การไม่รีบพูด แต่รับฟังก่อน หรือบางทีการสื่อสารไม่ได้มีแค่การพูดเท่านั้น บางครั้งลูกไม่พร้อมคุย ก็ยังไม่ต้องคุย แต่เราจะต้องสื่อสารให้เขารู้ว่า เมื่อไหร่ที่เขาพร้อมคุย เราอยู่ตรงนี้นะ เช่น การนัดกันว่าเราจะคุยกันเรื่องนี้เมื่อไหร่ดี แล้วให้ทุกคนบริหารจัดการตัวเอง 

เราเองก็ไม่มีประสบการณ์ในการเป็นแม่วัยรุ่น เช่น ลูกไม่ได้เล่าทุกอย่างให้เราฟัง ไม่ได้หมายถึงเขารักเราน้อยลง หรือมีความลับกับเราหรือเปล่า คือ ถ้าฟังแบบนี้ เราก็จะรู้สึกปกติ เพราะเขามีพัฒนาการที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้น วิธีการสื่อสารความคาดหวัง และความสำคัญเป็นรากฐานที่สำคัญที่ทำให้เราเชื่อใจกันมากพอว่า ความสัมพันธ์มันโอเคนะ และจะบอกลูกเสมอว่า เราทำสิ่งนี้เพราะรักเขา และหวังดีกับเขา แต่การกระทำของเรามันอาจจะไม่ถูกใจเขา แต่อยากให้ลูกรู้ว่ามันมาจากความรักและความหวังดี ฉะนั้น ต้องระวังคำพูด ในเวลาที่ตัวเองอารมณ์ไม่ดี 

ความคาดหวังของคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่ดังเท่านั้น คิดอย่างไรบ้าง ?

ถ้ามองปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น มันก็เกิดขึ้นมาตลอดนะ จริงๆ อาจจะไม่ใช่แค่ความคาดหวังของพ่อแม่ส่วนเดียว แต่ถ้าคุยกันในมุมการศึกษา มันมีปัญหาในเรื่องของระบบ และบางครั้งเด็กบางคนเลือกที่จะทำเอง และคุณพ่อคุณแม่ต้องทำตาม เพราะบางครั้งถ้าลูกอยากเข้ามาก พ่อแม่อาจจะหาหนทางการสนับสนุนเพราะเป็นสิ่งที่ลูกเลือก หาตัวเองเจอแล้ว ส่วนอีกมุมหนึ่งลูกไม่อยากไป แต่สอบได้ แสดงว่าเด็กต้องเรียนเก่ง หรือเป็นเด็กที่วางความต้องการของตัวเองไว้และโฟกัสไปที่ความต้องการของพ่อแม่ เราอยากให้ลูกเป็นแบบนั้นไหม คิดว่ามุมมองของการมีลูกอาจจะเปลี่ยนไป และอาจจะคุยกันได้ ในประเด็นความคาดหวังที่ว่า เราเลี้ยงลูกและลูกต้องเลี้ยงเรา หรือความกตัญญูที่ลูกต้องมี ก็เป็นสิ่งที่สังคมกำลังพูดถึงกันอยู่ แต่เราต้องกลับมาถามว่าเรามีความเชื่อแบบไหน เรามีความต้องการที่จะให้ลูกที่เกิดมาเพื่อทำตามสิ่งที่เราให้ทำ และกลับมาดูแลเรา และเราเองในฐานะลูกเราทำแบบนั้นไหม มีความสุขไหม และเราอยากส่งต่อให้กับลูก และลูกอยากรับไหม เรื่องแบบนี้มันอาจจะเป็นแนวคิดด้วยว่าเราคาดหวังไปถึงไหน ถ้าความรู้สึกตัวเอง ถ้าเราคาดหวังทั้งชีวิต เราอาจจะเจอกับความผิดหวัง เราถึงพยายามไม่คาดหวัง และพยายามจัดการตัวเอง แต่โอเค ในฐานะแม่ เราต้องคิดว่าถ้าแก่ๆ มา ให้ลูกมาหาเราบ้างก็คงดี แต่ถ้าจะต้องมาเลี้ยงไปตลอด มันจะยิ่งทำให้เขาอยากไปอยู่ที่อื่นหรือเปล่า อยากชวนให้เอาความคาดหวังที่ลูกมาไว้ที่ตัวเอง เพราะสุดท้ายแล้วเรามีบทบาทอื่นๆ อีกหลายอย่างในตัวของเรา เช่น เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อน เราไม่ได้เป็นแม่ทั้งชีวิต ไม่ได้บอกว่า เราจะต้องเป็นแม่ทั้งชีวิตและจะคาดหวังแบบนี้ไปตลอด เราจะต้องมาดูแลความคาดหวังของเราเองเพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น และในขณะเดียวกัน ลูกเองก็จะไม่รู้สึกกดดันมากกับความคาดหวังต่างๆ ที่เรามี หรืออยากให้เขาเป็น 

การเรียนต่อในมัธยมเรียนต้องเรียนกว้าง มหาวิทยาลัยเรียนแบบเฉพาะเจาะจง ตรงนี้มีความหลากหลาย และมีความผันผวน เด็กบางคนมีอาชีพแล้ว ตั้งแต่เรียนไม่จบ หรือบางคนอาจจะประกอบอาชีพตามที่เรียนมา หรือบางคนมีมากกว่า 1 อาชีพ และบางอาชีพมันหายไปแล้ว เด็กๆ กลุ่มนี้จะต้องทำยังไงดี 

ด้วยระบบการศึกษามันจะต้องเลือกอะไรบางอย่าง แต่เราต้องมองว่าชีวิตประจำวัน หรืองานที่เราทำ ไม่ได้มีแค่ศาสตร์เดียว มันใช้หลายอย่างมากเลย เช่น อาชีพหมอ เป็นวิชาชีพ แต่เราอาจจะคิดว่าหมอหลายคนมาทำธุรกิจเพิ่ม ทำธุรกิจเกี่ยวกับการแพทย์ เพราะฉะนั้น อยากให้มองว่า การเรียนมหาวิทยาลัย หรือการเลือกสายมันเป็นแค่หนึ่งอย่างที่เราเรียน แต่ไม่ใช่ทุกอย่าง มันมีความยืดหยุ่นได้มากกว่านี้ การได้เรียนที่มหาวิทยาลัย พอทำงานจริงเราอาจจะมีต้องสกิลอีกแบบ เราต้องเรียนรู้ใหม่อยู่ดี อย่าไปโฟกัสแค่ว่าเราเรียนอะไรได้บ้าง แต่เราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต มันดีกับเราตอนนี้ และมีการเรียนอีกมากมาย เช่น คอร์สสั้น ทันใช้ ไม่หมดอายุ อย่าโฟกัสแค่ปริญญาตรี แต่เราจะทำยังไงให้ลูกเราเป็นคนที่เรียนรู้ตลอดชีวิตได้ โดยที่ไม่มีใครบังคับ ให้ลูกเขาอยู่ได้ อยู่ดี อยู่ทนในอนาคตที่เขาสามารถขับเคลื่อนการเรียนรู้ได้เอง 

เด็กในปัจจุบัน ไม่ควรที่จะประกอบอาชีพเดียว หรือ 2-3 อาชีพ คิดอย่างไร 

อาจจะไม่ได้มีคำตอบเดียว แต่ถ้ามองในแง่ของการใช้ชีวิต ทุกคนจะบอกว่าเราควรมีรายได้หลากหลายช่องทาง มันอยู่ที่ว่าเราจะทำอะไร แต่ในการทำงานจริง 1 งานอาจจะไม่ไหวแล้ว เพราะฉะนั้น เราอาจจะต้องคิดทางอื่นในการมีรายได้เสริม โดยที่ไม่ได้กระทบกับงานหลักของเรา ส่วนตัวมีความเชื่อในการใช้ชีวิตสมดุล เพราะเราเชื่อว่า เราทำงานได้แค่ระยะเดียว และอาจจะทำไม่ไหว จะ burn out มันเหมือนเป็นการค้นหาตัวเอง ว่าเราสามารถดูแลตัวเอง ดูแลครอบครัวได้อย่างไร เพราะบางทีการทำงานหลายๆ งาน ถ้าพูดตามความเป็นจริง การเป็น full-time ทำได้ยากมาก แต่ Freelance ก็จะเห็นมีเยอะหน่อย แต่เราต้องรับความเสี่ยงให้ได้ มันมีทั้งข้อดี-ข้อเสีย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การพัฒนาด้านอื่นๆ นอกเหนือจากทักษะของงานที่เราทำอยู่อันนี้ก็สำคัญ เพราะความจริงแล้วเราสามารถเรียนรู้อย่างอื่นได้ด้วย ทำให้เราไปเปิดโลกกว้างกับตัวเอง เราอาจจะชอบมันก็ได้ในอนาคต 

ประเด็นคือ ลูกเรารู้จักตัวเอง เริ่มต้นได้จากในบ้าน แต่คำถามสำคัญ คือ บ้านเราเป็นสถานที่ที่ให้เขาได้รู้จักตัวเองหรือเปล่า บ้านของเรามีหน้าตาแบบไหน มีอารมณ์แบบไหน ถ้าบ้านของเราเป็นที่ที่ลูกไม่อยากอยู่เลยคงจะยากที่เขาจะเจอตัวเองได้ เพราะการรู้จักตัวเอง เขาจะต้องใช้เวลา ต้องมีความสัมพันธ์ มีการคิดทบทวน มีการเชียร์อัพกัน มีการปลอบใจกัน เพราะฉะนั้น บ้านที่ไม่มีความบาลานซ์ บ้านที่มีแต่ความเครียดและความกดดัน บ้านที่ทุกคนต่างทำงาน ลูกต้องอ่านแต่หนังสือ บ้านก็ไม่ใช่บ้านที่น่าอยู่ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ดี บ้านที่่ทุกคนเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการเข้ามีส่วนร่วมซึ่งกันและกันจะช่วยให้เด็กค้นหาตัวเองเจอ

สุดท้าย คือ บรรยากาศในบ้านทุกคนอยากให้เป็นแบบไหน เหมือนชุมชนนึงที่เราอยากจะเข้าร่วมเพราะมันน่าอยู่ และปลอดภัย 

ให้ลูกได้ลองล้มและลุก มันสำคัญหรือไม่ มองเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ?

คำว่าล้มแล้วลุก หรือ ทักษะ Resilience คือ การที่เกิดเหตุการณ์อะไรในชีวิตเขา และเขาเกิดพังทลาย และสามารถที่ลุกขึ้นมาใหม่ได้ แต่ไม่ใช่ลุกขึ้นมาใหม่ แล้วสู้ด้วยวิธีเดิม ต้องสู้ด้วยวิธีใหม่ เพราะได้เรียนรู้มาแล้ว มันอาจทำให้เขามีบาดแผล แต่มีพลังและแข็งแรงขึ้น ตรงนี้เป็นหนึ่งในทักษะสังคมและอารมณ์ ว่ามนุษย์มีช่วงเวลาที่ผิดหวัง ไม่ประสบความสำเร็จ เราคุยกับลูกได้ว่าเรื่องนี้ปกติ เขาจะได้รู้ว่ามันมาแน่ ถ้ามาแล้วจะต้องจัดการอย่างไร ในเวลาที่ลูกผิดหวัง หรือรู้สึกล้มเหลว ต้องให้เวลาเขา อย่าไปบอกว่า ไม่เป็นไร อย่าร้องไห้ ต้องให้เขาอยู่กับตัวเอง และรู้ว่ากำลังเจอความรู้สึกแบบไหน ให้เขาระบุความรู้สึกของเขาให้ได้ เช่น ตอนนี้ผิดหวัง เสียใจ อิจฉาเพื่อนนิดหน่อย ให้บอกสิ่งที่เขากำลังเจอ อาจจะเขียนเอาก็ได้ การที่เด็กระบุอารมณ์ได้ เป็นวิธีที่ทำให้เขามีความฉลาดทางอารมณ์ที่มากขึ้น 

เพราะฉะนั้น ความเสียใจเป็นสิ่งที่เราต้องเจออยู่แล้ว ให้ลูกเตรียมตัวว่าเป็นเรื่องปกติ และเขาสามารถแสดงออกแบบไหนได้บ้าง เมื่อเวลาผ่านไป ลองถามเขาว่า เขารู้สึกยังไง และคิดว่าจะทำยังไงต่อหลังจากนี้ ในขณะเดียวกันสอนลูกแล้ว เราต้องแสดงให้ลูกเห็นด้วย เราต้องแสดงความรู้สึกให้ลูกได้เห็นบ้าง บางทีถ้าเราทำให้เป็นเรื่องปกติ ลูกก็จะรู้ว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ว่าเราสามารถล้มแล้วลุกได้ และเรียนรู้อะไรบางอย่างจากมันได้ อีกอย่าง ลูกไม่ต้องคุยกับเราทุกเรื่องก็ได้ มันก็โอเค เขาสามารถคุยกับคนอื่นได้ เพราะไม่ได้หมายถึงความว่าเขาไม่รักเรา แต่เรื่องบางเรื่องก็ไม่ได้อยากจะคุยกับเรา มันไม่ได้ทำห้ความสัมพันธ์แย่ลง เราต้องตระหนักและรู้ทันตัวเอง 

คิดอย่างไร หากลูกสนิทกับคุณพ่อ หรือถ้าเป็นลูกสาวอาจจะสนิทกับคุณแม่มากกว่า 

ช่วงแรกๆ ก็รู้สึกยาก รู้สึกแย่มาก เราปรับตัวไม่ทันตามเขา รับไม่ได้ ตอนแรกเสียใจมาก แต่พอเราพยายามสลับหมวกเป็นนักการศึกษา และบอกว่ามันเป็นเรื่องปกติ ใช้เวลาหลายปี และปรับตัวมาเรื่อยๆ พยายามคุยกับคุณแม่รุ่นพี่ว่าเขาผ่านกันมาได้อย่างไร เราต้องให้เวลา เราต้องพยายามคุยกับลูกให้เยอะ ว่าเรากำลังรู้สึกแบบนี้อยู่ เขาก็ตกใจมาก และเขาก็เข้าใจมากขึ้น และพยายามปรับตัวกับเรามากขึ้น มันก็เป็นการเติบโตของแม่ที่ต้องเติบโตพร้อมกับลูกเช่นกัน มันเป็นเรื่องความชอบที่เปลี่ยนไปด้วย โตมาอาจจะชอบอะไรที่เราไม่ได้ชอบด้วย มันเรื่องเป็นความรู้สึกที่เราเห็นไม่เหมือนกัน เราให้ลูกรู้จักตัวเอง เราก็ต้องรู้ตัวเองไปพร้อมกับลูกเช่นเดียวกัน เพราะลูกเปลี่ยนตลอด เราก็ต้องทำความรู้จักกันใหม่ทุกวัน และให้เวลากันเยอะนิดนึง 

นอกจากเรียนรู้ คือ การที่พ่อแม่ต้องปรับตัวตัวเอง และที่ปรับยากคือปรับความรู้สึก อันนี้คือความท้าทายต่อการเลี้ยงดู เรามีความคาดหวังทุกอย่างให้ลูก ให้ลูกทุกอย่าง และอย่าลืมที่จะให้ตัวเองด้วย เพราะอย่าลืมว่าเรากำลังผ่านการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน เพราะบางทีเรารู้สึกว่าเราไม่อยากเปลี่ยน แต่ถ้าเราไม่เปลี่ยนเราจะผิดหวัง เราไม่ได้ดูแลตัวเอง บาลานซ์อาจจะเสีย เพราะฉะนั้น ปรับลูก เราต้องปรับตัวเองพอสมควร 

ถ้าเราละเลย ไม่ได้สื่อสารหรือคุยกันเลย มันจะส่งผลเสียต่อลูกอย่างไรบ้าง ? 

อย่างแม่ที่ลูกไม่ยอมกลับบ้าน เขาน่าจะมีโมเม้นท์ที่แบบไม่สนใจแล้ว แต่ในความคิดทำไม่ได้หรอก เพราะฉะนั้น เราจะถามตัวเองว่าเราจะอยู่ในโลกที่เราไม่มีความสัมพันธ์กับลูกได้ไหม คำตอบ คือ ไม่ได้ เพราะในใจลึกๆ เราอยากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก เราไม่อยากจะผิดใจกัน แต่มันมีอะไรมาเป็นอุปสรรค เช่น การพูดไม่เข้าหู ไม่กลับบ้าน เป็นต้น แต่ถ้าเรามองว่าเป้าหมายของเราคือการมีบ้านที่มีความสุข เราเรียกเขามาคุยกันได้นะ ว่าเราอยากให้บ้านเป็นอย่างไร ทุกคนอยากได้ไหม เรามีวิธีการไหนที่จะไปถึงเป้าหมายนี้บ้าง ถ้าทุกคนมีเป้าหมายด้วยกัน ดังนั้น วิธีการของเรา คือ การคุยกัน เราเอาเป้าหมายมาเป็นที่ตั้ง และลูกจะต้องสะท้อน เช่น แม่จะต้องบ่นน้อยลง และลูกจะทำหน้าที่ของตัวเองดีขึ้น มันอาจจะนำไปสู่การสนทนาเรื่องอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ทำไมลูกไม่อยากไปโรงเรียน เขาอาจจะบอกได้ว่า มันมีปัญหา และเราอาจจะแก้ปัญหานั้นด้วยความใจเย็น แต่ถ้าบ้านไหนที่ไม่เคยทำ อาจจะต้องมีการทำแบบมีขั้นตอน ถ้าปล่อยเป็นธรรมชาติ มันอาจจะยาวไป เพราะฉะนั้น เราสามารถจัดเวลาและหัวข้อในการพูดคุยได้ ทุกคนที่อยู่ในบ้านสามารถคุยกันได้หมด เพราะมันจะทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้ โดยที่ไม่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ แต่ถ้าอยากต้องการปรึกษา ก็สามารถทำได้เช่นกัน 

ทิ้งท้ายให้กับคุณพ่อคุณแม่ หรือคุณครู 

ขอขอบคุณทุกคนมาก เพราะรู้สึกว่าในเวทีนี้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ประเด็นสำคัญในหัวข้อนี้คือ การเปิดประสบการณ์ให้เขาได้รู้จักตัวเองตั้งแต่เล็กจนโต ไม่ได้เป็นอะไรที่ทำแค่ครั้งเดียว แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่มีเวลาไหนที่ดีกว่าตอนนี้ในการเริ่มต้น ใช้ทุกวันที่มีอยู่เป็นโอกาสให้เขาได้รู้จักตัวเอง เป็นผู้สนับสนุนหลักทั้งทางกาย ทางใจ และทางเงิน ทุกอย่างเท่าที่ทำได้ ถึงแม้ว่าความคาดหวังมันจะมาพร้อมกับสิ่งที่เราตั้งใจทำ เพราะฉะนั้น การบริหารความคาดหวังเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ได้ดีกับใครไปมากกว่าดีกับตัวเอง เพราะสุดท้ายลูกจะเติบโตในแบบที่เขาเป็น เขาอาจจะทำตามความคาดหวังของเราได้บ้าง ไม่ได้บ้าง การเอาความคาดหวังของเราไปผูกไว้กับคนอื่นจะทำให้เราทุกข์ และไม่มีความสุขในชีวิต ถึงแม้เราจะเป็นแม่ แต่เราก็ยังเป็นมนุษย์หนึ่งคนเหมือนกันที่ควรจะมีความสุขในชีวิต และพยายามมอบพลังมาทำให้บ้านเป็นบ้านที่มีความสุข เป็นบ้านที่ทุกคนอยากอยู่ และความสัมพันธ์จะเริ่มดีขึ้น อย่าลืมรักลูกมาก ก็ต้องรักตัวเองมากด้วยเช่นกัน 

Q&A ลูกเรียนชายล้วน มีแนวโน้มในการเบี่ยงเบนทางเพศไหมคะ

ตอบ อาจจะต้องมีการคุยไปมากกว่านั้น อาจจะต้องสังเกตว่ามันจะไม่ได้เกิดจากสภาพแวดล้อม อยากให้มองว่าเรื่องทางเพศของเขา ไม่มีผลอะไรกับการเป็นลูกของเรา เรามองว่าไม่ใช่เรื่องเรา มันเป็นเรื่องของเขา เราจะต้องดูแลเขาอย่างไรเพื่อให้เขารู้สึกว่าเราอยู่กับเขา ให้คุณค่าเขา คอยอยู่เคียงข้างเขา ทำให้เขารู้ว่าเราอยู่ตรงนั้น 

สามารถรับชมย้อนหลัง https://www.youtube.com/watch?v=A1Q2YDBFy5I

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ดูแลสุขภาพร่างกาย สำหรับเด็กวัยเรียน (ประถมศึกษา)

คอร์สนี้จะทำให้ได้เรียนรู้ถึงและเข้าใจการสร้างสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กประถมศึกษา เพราะสุขภาพกายมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ

Starfish Academy
Starfish Academy
ดูแลสุขภาพร่างกาย สำหรับเด็กวัยเรียน (ประถมศึกษา)
Starfish Academy

ดูแลสุขภาพร่างกาย สำหรับเด็กวัยเรียน (ประถมศึกษา)

Starfish Academy
3291 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

แนะนำหลักสูตร well being

คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...

แนะนำหลักสูตร well being

แนะนำหลักสูตร well being

Starfish Labz
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3000 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เสริมสร้างความสุข สำหรับเด็กวัยเรียน (ประถมศึกษา)

เรามักคิดว่าเด็กจะมีความสุข และไม่เครียดอะไร ใครจะรู้ เด็กก็มีช่วงที่ไม่มีความสุขและมีปัญหาเหมือนกัน คอร์สนี้จะทำให้ผู้ใหญ่ ได้หั ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เสริมสร้างความสุข สำหรับเด็กวัยเรียน (ประถมศึกษา)
Starfish Academy

เสริมสร้างความสุข สำหรับเด็กวัยเรียน (ประถมศึกษา)

Starfish Academy
2416 ผู้เรียน

Related Videos

เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่
30:00
Starfish Academy

เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่

Starfish Academy
201 views • 1 ปีที่แล้ว
เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
316 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
169 views • 1 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
74 views • 1 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”