สังเกตสภาวะอารมณ์วัยรุ่น แบบไหนโอเคแบบไหนต้องดูแล

Starfish Academy
Starfish Academy 14694 views • 6 เดือนที่แล้ว
สังเกตสภาวะอารมณ์วัยรุ่น แบบไหนโอเคแบบไหนต้องดูแล

วัยรุ่นกับสภาพอารมณ์ที่แปรปรวนอาจเป็นสองสิ่งที่มาคู่กัน ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเกิดความสับสนและไม่อาจแยกแยะได้ว่าสภาพอารมณ์แบบใดเป็นเรื่องปกติตามวัย และสภาพอารมณ์แบบใดคือสัญญาณว่าลูกต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษการที่คนส่วนใหญ่มองว่าอารมณ์หงุดหงิดง่าย ขี้รำคาญ ชอบปลีกตัว เป็นเรื่องปกติของวัยรุ่นทำให้การสังเกตสภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติในวัยรุ่นทำได้ยากหากพ่อแม่ไม่ได้สนิทสนมใกล้ชิดลูกอย่างสม่ำเสมอ ก็อาจไม่ทันสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงข้อมูลจาก pinerest.org ระบุว่า 11% ของวัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้าแต่ในจำนวนนี้มีเพียง 5% ที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเมื่อเป็นเช่นนี้มีสัญญาณอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรรู้เพื่อช่วยประคับประคองสภาพจิตใจของลูกได้อย่างเหมาะสมบทความนี้ StarfishLabz มีคำแนะนำเรื่องสภาพอารมณ์ของวัยรุ่นมาให้เป็นแนวทางให้พ่อแม่ผู้ปกครองทำความเข้าใจเพื่อสังเกตความปกติทางอารมณ์ของลูก

วัยรุ่นขี้รำคาญเป็นกระบวนการหนึ่งของการแยกตัว

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ลูกจะค่อยๆ แยกตัวออกห่างจากพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในกระบวนการนี้พ่อแม่พบว่าลูกมักจะหงุดหงิด ขี้รำคาญ โดยเฉพาะหากพ่อแม่เข้าไปยุ่งกับชีวิตส่วนตัวของลูกมากเกินไป ซึ่งพ่อแม่อาจไม่สบายใจที่ลูกตีตัวออกห่างและอาจกังวลว่านี่เป็นสัญญาณของสภาวะทางอารมณ์ที่ต้องได้รับการแก้ไขในความเป็นจริงแล้ว อาการขี้รำคาญ หงุดหงิด โมโหง่ายเมื่อพ่อแม่เข้าเซ้าซี้ หรือให้ความสนใจเรื่องส่วนตัวลูกมากเกินไป เป็นพฤติกรรมปกติ ตราบเท่าที่ลูกยังคงใช้เวลาว่างกับครอบครัวพูดคุยหยอกล้อทำกิจกรรมร่วมกันและลูกยังคงสังสรรค์กับเพื่อนๆ มีสังคมไม่เก็บตัวอยู่ลำพังนานเกินไปอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าความหงุดหงิดนี้ควรได้รับการดูแลคือเมื่อระดับอารมณ์เปลี่ยนจากความรำคาญเป็นความโกรธ กราดเกรี้ยว หรือกระทั่งโศกเศร้าอย่างต่อเนื่อง ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้รวมทั้งปลีกตัวจากครอบครัวและเพื่อนฝูง 

วัยรุ่นชอบดราม่า

ดีใจสุดขั้นเสียใจสุดขีด คือ สภาพอารมณ์ที่พบได้ทั่วไปในวัยรุ่น เพราะเป็นวัยที่ฮอร์โมนกำลังเปลี่ยนแปลงผนวกกับเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกใดๆ ที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นจึงเหมือนว่าจะรุนแรงกว่าวัยอื่นๆ เสมอเรียกว่าเข้าขั้นดราม่าก็คงไม่ผิดนักหากอาการดีใจ เสียใจของวัยรุ่น เกี่ยวข้องกับสถานการณ์หนึ่งๆ เช่น เสียใจที่ทำคะแนนได้ไม่ดี จนซึมไป 2-3 วัน หรือ ได้รับของขวัญจากคนที่แอบชอบทำให้ดีใจเห่อของใหม่เป็นสัปดาห์อาการเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติ อาการที่เป็นสัญญาณว่าลูกอาจมีปัญหาสภาวะอารมณ์ คือ ความเสียใจ กังวล ไม่ลดน้อยลงแต่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เศร้า เหม่อลอยจนเรียนไม่รู้เรื่องใครพูดอะไรก็ไม่สนใจซึ่งพ่อแม่อาจใช้หลักเกณฑ์ประเมินอารมณ์ 3 ระดับดังนี้ 

Mild สภาพอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงแบบ “มาแล้วก็ไป” โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน 

Moderate สภาพอารมณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันบางส่วน เช่น ทำให้ขาดสมาธิเรียนหนังสือ, เก็บตัวไม่พูดคุยกับใครหรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในเชิงลบ อาจเป็นสัญญาณที่ต้องเฝ้าระวัง

Serious สภาพอารมณ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ถึงขั้นไม่ยอมลุกออกจากเตียงไม่ออกจากห้องร้องไห้โดยไม่มีเหตุผลอยากทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายผู้อื่นพ่อแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน 

ทั้งนี้ ระยะเวลาที่ลูกมีพฤติกรรมเชิงลบหรือปลีกตัวหากต่อเนื่องเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปถือเป็นสัญญาณว่าลูกควรได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ 

อาการอื่นๆ ที่อาจเป็นสัญญาณของสภาวะอารมณ์ผิดปกติ

ความกังวล โศกเศร้า ของวัยรุ่นบางครั้งก็ไม่ได้แสดงออกด้วยการร้องไห้เสียน้ำตาแต่อาจมีอาการ อื่นๆ ที่พ่อแม่สังเกตได้ ดังนี้

  • อาการหงุดหงิดหรือโกรธที่แสดงออกในรูปแบบพฤติกรรมท้าทาย
  • เมื่อมีอารมณ์เชิงลบไม่สามารถปรับอารมณ์ตัวเองให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้
  • ปลีกตัวจากเพื่อนและครอบครัว
  • กินมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับ นอนไม่พอ
  • บ่นหรือแสดงอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนเท่าไรก็ไม่หายเพลีย
  • ปวดหัว ปวดท้อง โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ
  • ไม่มีสมาธิ หลงๆ ลืมๆ 
  • ไม่ดูแลตนเอง ไม่สนใจภาพลักษณ์ 

คุยกับวัยรุ่นเรื่องสภาพอารมณ์

สาเหตุของพฤติกรรมหรืออาการต่างๆ ข้างต้นอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยและบางครั้งก็อาจไม่ได้บ่งบอกถึงปัญหาทางอารมณ์ของวัยรุ่นเสมอไปอย่างไรก็ตามหากพบว่าลูกมีอาการหลายข้อร่วมกันและกินระยะเวลาเกินกว่า 2 สัปดาห์ยังไม่ดีขึ้น พ่อแม่ควรชวนลูกพูดคุยซึ่งในการคุยเรื่องสภาพอารมณ์กับวัยรุ่น สิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญ คือ

  • ควบคุมอารมณ์ตนเองสื่อสารอย่างสงบ และเตรียมพร้อมเปิดใจรับฟัง
  • อย่ายึดมั่นว่าคำตอบของพ่อแม่คือคำตอบที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “ไม่เคย” และ “เสมอ” เช่น “พ่อไม่เคยเข้าใจลูก” หรือ
  • “ลูกเถียงแม่เสมอๆ” 
  • หลีกเลี่ยงการประชดประชัน, การขู่ และการตะโกน ตะคอกใส่กัน
  • อย่าโจมตีที่ตัวบุคคล เช่น “เพราะลูกไม่เคยฟัง” หรือ “ลูกโกรธง่ายเสมอเลย” 
  • ใช้ I Message ขึ้นต้นประโยคด้วยคำแทนตัวเอง เช่น แทนการบอกว่าลูกไม่เคยฟัง เปลี่ยนเป็น “แม่คิดว่าลูกไม่ค่อยฟังแม่” หรือ แทนการบอกว่าลูกโกรธง่าย เปลี่ยนเป็น
  • “พ่อรู้สึกว่าลูกโกรธง่าย พ่ออยากรู้ว่าเพราะอะไรและพ่อช่วยอะไรได้บ้าง” 
  • ร่วมมือกับลูก ช่วยกันหาทางออกที่หลากหลาย โดยไม่ต้องคาดหวังผลลัพธ์ที่เจาะจง 
  • ย้ำเตือนและแสดงให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่พร้อมสนับสนุนช่วยเหลือ และลูกไม่ได้อยู่เพียงลำพัง 

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะในฐานะพ่อแม่หรือลูกก็อาจรู้สึกว่าช่วง “วัยรุ่น” เป็นเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านที่ยากลำบากเพราะความเปลี่ยนแปลงหลายด้านก็เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทำให้ยากที่จะชี้ชัดได้ว่าพฤติกรรมแบบใดปกติและแบบใดที่ต้องดูแล สำหรับพ่อแม่แล้วการเชื่อสัญชาตญาณตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะคุณรู้จักลูกดีที่สุดหากรู้สึกไม่ชอบมาพากลการถามคำถามชวนลูกพูดคุยรับฟังก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการช่วยลูกรับมือความเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาต้องเผชิญในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้

แหล่งอ้างอิง (Sources) :

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1587 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1639 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1086 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
3:00 ชั่วโมง

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
204 views • 1 ปีที่แล้ว
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
6083 views • 2 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
999 views • 1 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร
31:53
Starfish Academy

ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

Starfish Academy
514 views • 1 ปีที่แล้ว
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร