อาชีพในฝันและทักษะเฉพาะทางทำความรู้จัก Specailized Skills สำคัญอย่างไรต่อตำแหน่งในฝันของเรา?
ในตลอดทศวรรษที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในคำที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดก็คือ “ทักษะ” ไม่ว่าจะเป็นทักษะแห่งอนาคต ทักษะอาชีพในอนาคตแต่อีกหนึ่งการพูดถึงที่วันนี้ Starfish Labz อยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจกันก็คือเรื่องของทักษะเฉพาะทางหรือ Specialized Skills นั่นเองค่ะทักษะเฉพาะทางคืออะไร? ใช่สิ่งเดียวกับทักษะอาชีพไหม? สำคัญอย่างไรต่องานในฝันของเรา ตาม Starfish Labz มาดูกันในบทความนี้เลยค่ะ
ทักษะเฉพาะทางคืออะไร?
ทักษะเฉพาะทางหรือ Specialized Skills หมายถึงทักษะเฉพาะทางในด้านหนึ่งๆ หรือในตำแหน่งอาชีพหรืองานหนึ่งๆ ที่บุคลากรต้องมีเพื่อที่จะสามารถดำเนินงานได้อย่างดีมีประสิทธิภาพและลุล่วงทักษะเฉพาะทาง หรือ Specialized Skills ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นทักษะเชิงเทคนิค (Technical Skills) เช่น ทักษะการเขียนโค้ด (Coding) หรือเป็นทักษะใหม่ๆ ล้ำๆ หลายๆคนคิดว่าเมื่อพูดถึง Specialized Skills ในตำแหน่งหนึ่งๆเราต้องนึกไปถึงทักษะเชิงเทคนิคอย่างเดียวแต่ในความเป็นจริง Specialized Skills ในบริบทของการทำงานก็คือทักษะใดๆก็ตามที่บุคคลในตำแหน่งหรืองานดังกล่าวต้องมีหรือควรมีเพื่อให้การทำงานประสบความสำเร็จนั่นเองค่ะ ในแง่นี้ทักษะที่เราอาจจะคุ้นหูคุ้นตากันอย่างทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) ก็อาจเป็นทักษะเฉพาะทางได้ (Specialized Skills) สำหรับในงานหนึ่งๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารการเจรจาเป็นหลัก
ทักษะเฉพาะทางและงานในฝัน สำคัญอย่างไรกันต่อการงานในฝันของเรา?
เพราะเป็นทักษะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ในงานหนึ่งๆ หากเราไม่มีทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นต่องานนี้ๆ แล้วต่อให้เรามีทักษะอื่นๆที่โดดเด่นอย่างไรดีแค่ไหนเราก็คงไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ที่ดีในตำแหน่งนี้ได้จินตนาการว่านักเขียนที่มีทักษะการเขียนหรือทักษะเฉพาะทางที่ดีมากมายในขอบเขตงานของเขาต้องมารับบทเป็นเชฟอาหารจะออกมาดีแค่ไหนได้รสชาติได้คุณภาพหรือมาตรฐานไหมถ้านักเขียนคนดังกล่าวไม่เคยฝึกทักษะเฉพาะทางในด้านเชฟมาก่อนเลยหรือมาเริ่มฝึกใหม่ก็มีโอกาสน้อยมากที่เขาหรือเธอจะทำอาหารออกมาได้อย่างดีการพูดถึงเรื่องทักษะเฉพาะทางช่วยให้เด็กๆ หลายคนในวัยเรียนรวมถึงวัยเริ่มทำงานตลอดจนวัยทำงานแล้วแต่อยากลองเปลี่ยนงานมองเห็นแนวทางที่เราสามารถโยกย้าย เปลี่ยนแปลง พัฒนาในแบบเจาะจงได้เราอยากทำงานในตำแหน่งใดเราก็สามารถศึกษาทักษะต่างๆที่สำคัญในตำแหน่งดังกล่าวเพื่อเริ่มเส้นทางการมีโอกาสทำงานดังกล่าวของเราลดการพัฒนาหรือการฝึกทักษะต่างๆ ไปอย่างสุ่มๆ ช่วยจัดระเบียบในการฝึกฝนตัวเองและพัฒนาและแน่นอนว่าสามารถช่วยให้เรามีโอกาสสูงขึ้นในการทำงานที่เราปรารถนาและทำออกมาได้อย่างดีนั่นเอง
ทักษะเฉพาะทางพอไหม? มีทักษะอื่นๆ หรือเปล่าที่เราอาจต้องใช้ในการทำงาน?
แม้ทักษะเฉพาะทางจะถือว่าเป็นกลุ่มทักษะที่มีความสำคัญที่สุดในงานหนึ่งๆ เป็นรายการทักษะที่เราจะมองเห็นได้ในประกาศรับสมัครงานในรายการคุณสมบัติงานหนึ่งๆ แต่นอกเหนือจากทักษะเฉพาะทางแล้ว อีกหนึ่งทักษะที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ Soft Skills หรือทักษะเชิงอารมณ์และสังคม เช่น ทักษะความเข้าอกเข้าใจ (Empathy), ทักษะการเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย (Perspective-Taking) หรือทักษะเล็กๆ น้อยๆ ในด้านความสัมพันธ์ที่ล้วนมีผลต่อการทำงานของเรา จนไปถึงทักษะที่ช่วยซัพพอร์ตการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวของเราอย่าง Self-Care (การดูแลตัวเอง) ก็ถือเป็นหนึ่งใน Soft Skills ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันนอกเหนือจาก Soft Skills อีกหนึ่งแนวคิดกลุ่มทักษะที่หลายๆ คนอาจอยากเริ่มให้ความสนใจหรือลองนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเองก็คือ Transferrable Skills หรือการมองว่านอกเหนือจากทักษะเฉพาะทางแล้ว การพัฒนาทักษะอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานอื่นๆ ต่อไปได้ทั้งในแง่ของการทำงานกับแผนกอื่นๆ ในสโคปหรือเขตอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นจนไปถึงการโยกย้าย เปลี่ยนงาน เปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนเพื่อนร่วมงานใหม่มีวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ๆ นั่นเองค่ะ
3 เคล็ดลับช่วยสำรวจ Specialized Skills ในงานของเรา
1.สำรวจจากการค้นคว้า บทความ และดูจากหลากหลายบริษัท
หนึ่งในวิธีการง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้ในการสำรวจทักษะเฉพาะทางในงานที่เราอยากทำก็คือการลองเข้าไปดูที่ประกาศรับสมัครงาน ดูคุณสมบัติที่บริษัทดังกล่าวต้องการ ดูหลายๆ บริษัทเพื่อให้พอมองเห็นรูปแบบ (Pattern) รวมถึงผ่านการค้นคว้า อ่านจากบทความที่น่าเชื่อถือต่างๆ
2.สำรวจจากคนรู้จัก ผู้เชี่ยวชาญ บุคคลในสายงานนั้นๆ หรือคนที่เราสามารถเชื่อใจ
นอกเหนือจากการค้นคว้าจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ อีกหนึ่งแหล่งสำรวจที่มีคุณค่าไม่แพ้กันก็คือจากบุคคลจริงๆ โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลในสายงานที่เท่ารู้จักแต่ถ้าเราไม่รู้จักใครเลยในสายงานที่เราอยากทำล่ะ ควรทำอย่างไร? ในกรณีนี้ ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ จริงๆ มีบุคลากรมากมายที่พร้อมจะให้คำแนะนำแม้กระทั่งต่อคนที่เขาอาจจะไม่เคยรู้จักหากเรามีความพร้อม มีความกล้าจริงๆแล้วเราก็สามารถทำได้แค่อาจต้องอาศัยการสื่อสารการให้ความเคารพต่ออีกฝ่ายการติดต่อไปในช่องทางที่เหมาะสมซึ่งช่องทางเหล่านี้ก็มีตั้งแต่ใน LinkedIn รวมไปถึงในกลุ่มการทำงานมากมายในแต่ละสายหนึ่งๆบน Social Media ตลอดจนการลองฟังประสบการณ์การทำงานจริงๆของคนอื่นในรูป Podcast หรือ YouTube นั่นเอง
3.ฝึกจากการทำจริงการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการฝึกงาน
รู้จากคนอื่นอาจไม่พอถ้ามีเวลาล่ะก็อีกหนึ่งเคล็ดลับคือการลองเข้าร่วมกิจกรรมในสายงานนั้นๆ อาทิ การฝึกงาน, Workshop, การสัมมนาและการพูดคุยแลกเปลี่ยนในกิจกรรมมากมายต่างๆ บริษัทหลายๆ แห่งรวมถึงกลุ่มงานหนึ่งๆ มักมีกิจกรรมในรูปแบบนี้อยู่แล้วที่เหลือก็คือความกล้าหาญของเราในการลองไปมีส่วนร่วมดูนั่นเองและนี่ก็คือทั้งหมดเกี่ยวกับทักษะเฉพาะทาง (Specialized Skills) ที่วันนี้ Starfish Labz ได้นำมาฝากทุกคนกันค่ะในบทความหน้าจะมีเรื่องราว ข้อมูล หรือความรู้อะไรดีๆเกี่ยวกับการทำงานงานในฝันและการพัฒนาทักษะที่ดีต่างๆ กันบ้างอย่าลืมติดตามกันนะคะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
Related Courses
ไม่ได้จบครูแต่อยากเป็นครูต้องทำอย่างไร
อาชีพครูถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ผู้มีใจรักการสอนหรือต้องการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญให้กับผู้เรียนแต่คุณครูบางท่านอาจเข้าไปทำงานใน ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
ไอเดียออกแบบ และจัดงานเลี้ยงอย่างมืออาชีพ
สร้างสรรค์ไอเดียการออกแบบงานเลี้ยงอย่างมืออาชีพ ด้วยการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงทั้งในชีวิตการทำงานแล ...
ไอเดียออกแบบ และจัดงานเลี้ยงอย่างมืออาชีพ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ