พ่อแม่หมดไฟในการเลี้ยงลูก ต้องทำยังไง ?

Starfish Academy
Starfish Academy 11491 views • 4 ปีที่แล้ว
พ่อแม่หมดไฟในการเลี้ยงลูก ต้องทำยังไง ?

เรื่องของ “การหมดไฟ” หลายคนอาจจะคิดว่าเรื่องแบบนี้คงเกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่ทำงานอยู่เท่านั้น อารมณ์เหมือนว่าไม่มีแรงจะทำอะไร เหนื่อย ท้อแท้ หมดหวัง แต่ความจริงคุณพ่อคุณแม่อย่างเราๆ ก็สามารถหมดไฟได้นะคะ

 

ยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนพบกับความผิดหวังหรือเจอปัญหาเข้ามาบ่อยๆ ก็ยิ่งรู้สึกท้อแท้ โดยเฉพาะเรื่องการเลี้ยงลูกที่บางคนเรียกได้ว่า “หมดไฟในการเลี้ยงลูก” ไปแล้ว

 

แล้วอะไรล่ะที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่หมดไฟได้ ซึ่งบอกก่อนเลยว่าแต่ละคนนั้นก็มีเรื่องที่ต้องหมดไฟแตกต่างกัน พ่อแม่บางคนนั้นคาดหวังกับการเลี้ยงลูกมาก หมกหมุ่นในความสำเร็จของการเลี้ยง จนในบางครั้งความจริงจังนั้นไม่ได้อยู่ความพอดี และไม่รู้จักที่จะผ่อนคลายหรือคลายเครียดในการเลี้ยงดู ทำให้ความเครียดเหล่านั้นถูกสะสมมาเรื่องๆ และเก็บไว้ข้างในใจ จนทำให้เกิดความเครียด ยิ่งเลี้ยงลูกก็ยิ่งเครียด จนในที่สุดทั้งตัวเองและคนรอบข้างก็เกิดผลกระทบตามไปด้วย

 

ที่สำคัญเลยก็คือส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกอีก แล้วทีนี้เราจะทำยังไงให้เรา “ไม่หมดไฟในการเลี้ยงลูกล่ะ?” แน่นอนค่ะว่าทางผู้เขียน ก็ได้รวบรวมวิธีที่จะทำให้คุณแม่กลับมามีไฟอีกครั้งกัน ซึ่งได้แก่

 

1. หยุดพักเพื่อผ่อนคลาย

เพราะความเครียดที่มากเกินไปแบบไม่ยืดหยุ่น ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกหมดไฟ ทางที่ดีหากรู้สึกเหนื่อยล้ามากๆ เพียงแค่นั่งนิ่งๆ ก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้แล้วนะคะ อย่าไปกังวลว่างานบ้านจะทำไม่ทัน ซักผ้าก็ยังไม่ได้ซัก ไหนจะลูกอีก ลองนั่งบนโซฟานิ่มๆ แล้วแจกจ่ายงานที่เหลือให้คุณพ่อๆ ช่วยบ้าง ก็ทำให้หายเหนื่อยได้ มีแรงค่อยกลับไปเลี้ยงลูกต่อนะคะ

 

2. มีอะไรอย่าเก็บไว้ในใจคนเดียว

จริงๆ ก็เข้าใจคุณพ่อคุณแม่นะคะที่บางครั้ง เราก็ไม่อยากจะรบกวนหรือทำให้คนอื่นต้องเป็นกังวลกับเรื่องของเรา แต่หากเราเลือกที่ะจะเก็บไว้คนเดียว ไม่ได้พูดไม่ได้คุยกับใคร ก็ยิ่งทำให้เราเหนื่อย จนไม่อยากจะทำอะไรเลย ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่หากเลี้ยงลูกแล้วเหนื่อย หรือไม่สบายใจ หรือมีปัญหาอะไรอยู่ก็ตาม ขอแค่เรามองไปยังรอบๆ กายของเรา เชื่อเถอะค่ะว่า เราไม่ได้อยู่คนเดียว กับมีสามี ยังมีคุณภรรยา พ่อตา แม่ยาย หรือเพื่อนๆ อยากที่จะให้เรามาระบาย หรือพูดคุย อาจจะคุยไม่เป็นจริงเป็นจังก็ได้นะคะ ขอเพียงแค่เราระบายก็ทำให้รู้สึกดีได้เหมือนกันค่ะ

 

3. แอบไปฝากลูกไว้กับคุณย่าคุณยายสักวัน

หากรู้สึกเหนื่อยจนไม่ไหว หรือท้อแท้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเอาเจ้าตัวเล็กไปฝากไว้สักพัก ฝากไว้กับคุณย่า คุณยา หรือคนในครอบครัว เพื่อที่เราจะได้มีเวลาอยู่กับตัวเอง ได้ทำธุระของตัวเองบ้าง พอหายเหนื่อยก็ไปรับเขากลับมาก็ไม่เห็นจะเป็นไร ให้เราไปฟื้นฟูสภาพจิตใจ และสภาพกายก่อน จะได้มีแรงมีไฟเลี้ยงลูกต่อนั่นเองค่ะ

 

4. จัดมุมให้ลูก เพื่อปล่อยให้เขาเล่นได้อย่างไม่ต้องกังวล

ซึ่งการจัดมุมให้ลูก เหมือนการที่เราสร้างสิ่งที่เราสามารถปล่อยให้เขาอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างที่เราไม่ต้องกังวล อาจจะเป็นคอกเด็กที่มีเบาะนิ่มๆ ล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน แต่ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักนะคะ โดยอาจจะต้องห้ามมีของมีคม ปลั๊กไฟ หรือสิ่งที่เด็กๆ สามารถปีนป่ายออกมาได้ หากเราหาพื้นที่ที่ปลอดภัยได้ก็จะทำให้เราสามารถปล่อยให้เขาได้อยู่ในนั้น โดยที่เราพอจะมีเวลาไปทำอย่างอื่นที่คล่องตัวขึ้นมาบ้าง มีเวลาไปทำสิ่งที่จำเป็นต้องทำ หรือนั่งพักสักสิบนาที ผ่อนคลายตัวเองสักหน่อย แต่ก็อย่างปล่อยให้เขาอยู่เพียงลำพังนานเกินนะคะ เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้

 

5. หาแรงบันดาลใจให้รู้สึกมีพลัง

หากรู้สึกว่าเห้ออออ ท้อแท้จัง อยากแนะนำวิธีนี้เพื่อเพิ่มพลังให้กับคุณพ่อคุณแม่นะคะ นั้นก็คือการหาแรงบันดาลใจหรือต้นแบบ อาจจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มีแนวคิดในการเลี้ยงลูกที่ดี หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความรู้ ซึ่งเดี๋ยวนี้ในเฟสบุ๊กก็มีผู้เชี่ยวชาญหรือคุณหมอให้เราได้เลือกแนวทางเพื่อสร้างแรงบันดาลใจมากมาย ลองหาใครก็ได้ที่รู้ว่า เอาหน่าเราต้องฮึ้บสู้อีกสักหน่อย เดี๋ยวทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี ก็จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้มีกำลังใจและมีไฟอีกครั้งในการเลี้ยงลูกเลยนะคะ

 

6. ดูแลคนอื่นแล้วก็อย่าลืมหันมาดูแลตัวเองบ้าง

เมื่อมีลูกแล้ว หลายคนมักจะให้ความสนใจกับลูกจนบางครั้งก็ลืมดูแลตัวเอง เพราะด้วยความเป็นพ่อเป็นแม่ก็อยากที่จะเลี้ยงลูกให้ดีที่สุด ทำทุกอย่างดูแลทุกอย่าง แต่ดันลืมดูแลตัวเอง จนบางทีข้าวก็ยังไม่ได้ทาน น้ำก็ยังไม่ได้อาบ จากแต่ก่อนที่เคยแต่งตัวสวยๆ ก็กลับไม่ได้มีเวลาที่จะหยิบจับเลย ดังนั้นเลยอยากที่จะให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเลี้ยงลูกในช่วงนี้ลองหันกลับมาดูแลตัวเองกันบ้างนะคะ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายยามว่าง ก็จะทำให้สุขภาพของคุณพ่อคุณแม่ดีขึ้นมาได้ หากไม่ดูแลตัวเองระวังเจ้าตัวเล็กจะไม่มีคนคอยดูแลนะคะ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1379 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
2165 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6501 ผู้เรียน
เครื่องมือผู้ปกครอง
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

การจะเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ลูกๆ ต้องการแค่แบบอย่างที่ดี เพราะพ่อแม่คือต้นแบบในการดำเนินชี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ
Starfish Academy

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

Starfish Academy

Related Videos

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
352 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน
02:36
Starfish Academy

เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน

Starfish Academy
139 views • 4 ปีที่แล้ว
เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน
การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)
07:15
Starfish Academy

การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)

Starfish Academy
342 views • 5 ปีที่แล้ว
การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
588 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ