“สิทธิเด็ก” เรื่องของเด็กที่ผู้ใหญ่ไม่ควรมองข้าม
เด็กๆ ทุกคนได้รับการคุ้มครองสิทธินับแต่เกิดมา คือเมื่อถือกำเนิดมาจะอยู่ภายใต้ข้อตกลงสากลที่รู้จักว่า อนุสัญญา (อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ได้รับการรับรองมากที่สุดในโลก กว่า 196 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ลงนามและให้การรับรองสิทธิดังกล่าว โดยได้ลงนามตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2535) ว่าด้วยสิทธิของเด็ก เป็นข้อตกลงที่ให้การยอมรับมีผลบังคับใช้ หรือให้ถือเป็นกฏหมายที่จะต้องคุ้มครองเด็ก เพราะสิทธิเด็กนับเป็นสิทธิติดตัว เป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ที่ไม่อาจถูกละเมิดได้ เพื่อให้การช่วยเหลือ คุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาเด็กสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การสร้างระบบคุ้มครอง ช่วยเหลือเด็กในโรงเรียน (Child Safeguard) จึงเป็นความสำคัญที่จะช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากการถูกกระทำและถูกละเมิดในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นสิทธิเด็กนั้นเป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด จึงไม่มีผู้ใดสามารถไปตัดทอนหรือจำกัดการใช้สิทธิอันชอบธรรมของเด็กหรือละเมิดสิทธิของเด็กได้ ดังนั้น ในฐานะ "ครู" จึงควรตระหนักถึง "สิทธิเด็ก" เป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมาย เพื่อที่จะส่งเสริมและคุ้มครองเด็กทุกคน
สิทธิเด็กมุ่งให้การคุ้มครองเด็ก 4 ประการ (“เด็ก”หมายถึงมนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะตามที่กฏหมายบังคับ)
1. สิทธิในการอยู่รอด คือสิทธิในการอยู่รอดปลอดภัยตั้งแต่เมื่อคลอด มีปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเกิดมาปกติ หรือเกิดมาพร้อมกับความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจก็ตาม รวมถึงสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม ทั้งด้านการสาธารณสุข โภชนาการ และความเป็นอยู่ที่ได้มาตรฐาน
2. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง คือสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการล่วงละเมิดและการทารุณกรรมทุกรูปแบบ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ การใช้สารเสพติด และการค้ามนุษย์ เด็กต้องได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย
3. สิทธิในการการพัฒนา คือสิทธิที่จะได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาตามมาตรฐานทุกรูปแบบ การส่งเสริมเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงโอกาสในการเติบโตอย่างสามารถพึ่งพาตนเองได้
4. สิทธิในการมีส่วนร่วม คือสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี การได้รับข้อมูลข่าวสาร การแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำ รวมถึงการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่ออนาคตของตนเอง
มุมมองของอนุสัญญา “สิทธิเด็ก” เพื่อให้การดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวกับเด็กต้องคิดถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ มี 4 ข้อดังนี้
- เด็กเป็นมนุษย์
- เด็กมิได้เป็นสมบัติของพ่อแม่
- เด็กมีสิทธิเป็นของตนเอง
- เด็กมิได้เป็นวัตถุทางการกุศล
ประเภทของการละเมิดสิทธิเด็ก แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
- การละเมิดทางด้านร่างกาย (Physical Abuse) หมายถึง การทำร้ายร่างกายทุกกรณีกับเด็ก
- การละเมิดทางเพศ (Sexual Abuse) หมายถึง การกระทำที่ไม่เหมาะสมทางเพศกับเด็ก
- การละเมิดทางด้านวาจาและอารมณ์ (Verbal and Emotional Abuse) หมายถึง การใช้คำพูดถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยาม
- การละเมิดปล่อยปละละเลย / เพิกเฉย (Neglect) หมายถึง การที่ผู้ปกครองของเด็กหรือผู้ดูแลเด็กไม่สนใจหรือไม่กระทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่จัดหาและสนับสนุนสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก
ปัจจุบันสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็ก มีเด็ก 1,700 ล้านคนเคยตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง และเด็กไทยกว่า 56 % เคยถูกทำโทษด้วยการทำร้ายร่างกายและการล่วงละเมิดทางเพศ พื้นที่ที่มีการทำความรุนแรงของเด็กส่วนใหญ่ 68% อยู่ในภาคเหนือ และ 64% อยู่ในภาคใต้ ดังนั้นอัตราเฉลี่ยของประเทศ 58%อบรมสั่งสอนบุตรหลานของตนเองโดยใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตรงตามสุภาษิตไทยที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” และประเทศไทยมีสถิติเด็กหาย พบว่าในแต่ละวันจะมีคนหายมากกว่า 3 คน ซึ่ง 2 คนนั้นจะเป็นเด็ก โดยในแต่ละปีจะมีเด็กหายประมาณ 300-500 คน ซึ่งพื้นที่เกิดเหตุการณ์เด็กหายมากที่สุดคือ กรุงเทพ/นครราชสีมา/ชลบุรี ตามลำดับ
ดังนั้นครูต้องสอนให้เด็กรู้จักเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ เพราะการเอาตัวรอดเก่ง คือทักษะที่เด็กยุคใหม่ควรมี เพราะสังคมที่เปลี่ยนไป อันตรายใกล้ตัวเด็กมีหลากหลาย ฉะนั้นจึงต้องมีความจำเป็นต้องเสริมเกราะป้องกันภัยของเด็กด้วยทักษะความฉลาดในการแก้ปัญหาให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น ประเมินสถานการณ์ และเอาตัวรอดจากสิ่งอันตรายรอบตัวได้ เพราะความฉลาดในการเอาตัวรอดจะเป็นส่วนที่สำคัญที่ผลักดันให้เด็กไม่ตกอยู่ในอันตราย ส่งผล เมื่อเด็กโตขึ้นจะสามารถควบคุมสถานการณ์และแก้ไขทุกปัญหาในชีวิตด้วยตัวเอง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เห็นได้ว่า การรับรู้และเข้าใจเรื่องสิทธิเด็ก จึงไม่ใช่เรื่องที่ควรนิ่งเฉย แต่ผู้ใหญ่ทุกคนควรหันมาตระหนัก และให้ความสำคัญอย่างจริงจังโดยเฉพาะครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อพัฒนาให้เด็ก ๆ มีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และได้รับความปลอดภัยในชีวิตนั่นเอง สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/groups/541874742829976
Related Courses
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ