การสร้างเครือข่ายที่ดีเพื่อการมีส่วนร่วม

Starfish Academy
Starfish Academy 316 views • 5 เดือนที่แล้ว
การสร้างเครือข่ายที่ดีเพื่อการมีส่วนร่วม

การสร้างเครือข่ายที่ดี มีส่วนสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน หรือองค์กรภายนอกให้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือ สนับสนุนการศึกษาของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายที่ช่วยเหลือกันเพื่อพัฒนาความรู้ของผู้เรียนเป็นองค์รวมมากยิ่งขึ้น

บทความนี้ Starfish Labz มีข้อมูลเกี่ยวกับ Network การสร้างเครือข่ายที่ดีเพื่อการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์จากนักพัฒนาการศึกษามูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ จากประสบการณ์จริง จากโค้ชที่ได้แสดงมุมมองการสร้างเครือข่ายที่ดีของโรงเรียนมาฝากกันค่ะ 

เปรียบเทียบลักษณะของโรงเรียนที่มีเครือข่ายที่ดีกับโรงเรียนที่มีเครือข่ายไม่ดี 

มุมมองของโค้ชเอโรงเรียนที่มีการทำงานร่วมกับเครือข่ายที่ดีทั้งเครือข่ายภายในหรือภายนอก เราจะเห็นว่าครูมีความกระตือรือร้นในการทำงานตามนโยบายของโครงการมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่ชัดเจน ยิ่งโรงเรียนไหนมีเครือข่ายภายในที่เข้มแข็ง เช่น ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนเข้มแข็งก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน เห็นความต้องการและแนวทางในการพัฒนาเด็ก เครือข่ายเหล่านี้ก็จะให้ความร่วมมือในการช่วยเหลืออย่างดี และสนับสนุนโรงเรียนเพื่อมีส่วนในการพัฒนาโรงเรียน

ส่วนโรงเรียนที่มีเครือข่ายไม่ดีนั้นจะมองถึงเรื่องการดำเนินงาน การวางเป้าหมายที่ไม่มีความชัดเจน การทำงานที่ค่อนข้างไม่เต็มที่ โดยขาดการกระตุ้นหรือแรงเสริม พอไม่มี โครงการ หรือตัวกระตุ้นเข้ามาครูก็จะสอนตามปกติแต่ไม่มีความกระตือรือร้น ทำงานตามที่ต้นสังกัดสั่ง และมีส่ง

เครือข่ายที่ดีมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร 

เครือข่ายจะเป็นแนวทางในการชี้นำ หนุนเสริมการดำเนินงานในโรงเรียน เป็นเครื่องมือให้โรงเรียน พัฒนางานในทุกด้านของโรงเรียน ตามบริบทที่มีอยู่ ซึ่งแนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้บริหารโรงเรียนและทีมวิชาการคือส่วนสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนการทำงาน  การที่เครือข่ายของโรงเรียน เช่น องค์กรฯ สถาบันมหาวิทยาลัย หรืออื่น ๆ จะได้มีแนวทาง

มาแลกเปลี่ยนเพื่อให้เป็นต้นแบบ เป็นโครงการร่วมหรือ แนวทางส่วนหนึ่งในการพัฒนาโรงเรียนครู นักเรียน ไปพร้อมกันทำให้การขับเคลื่อนมีความชัดเจนบรรลุตามเป้าหมาย

อุปสรรคสำคัญของการสร้างเครือข่ายที่โรงเรียนต้องเอาชนะคืออะไร

โค้ชเอมองว่าอุปสรรคสำคัญในประเด็นแรกคือผู้บริหารที่สร้างวิสัยทัศน์ที่ดีให้ครูเข้าใจและเห็นแนวทางในการทำงานร่วมกันเพราะครูมีความหลากหลาย หากครูไม่ให้ความร่วมมือ 

ไม่เข้าใจจะทำให้การพัฒนา อาจจะสะดุด ไม่ราบรื่น แต่ถ้าผู้นำสามารถเป็นหลักในการพาครูทำ เป็นที่ปรึกษาช่วยคิดแก้ปัญหาก้าวไปพร้อมกันจะทำให้ครูและโรงเรียนขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี   

ประเด็นสำคัญชุมชนรอบข้างจะต้องมีการสร้างความเข้าใจให้เห็นแนวทางการศึกษาของโรงเรียนพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ตัวผู้เรียนที่เห็นภาพของการพัฒนาที่ดีขึ้นจะทำให้ชุมชน รวมไปถึงผู้ปกครองเข้าใจว่าผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเกิดความรู้หลักเพียงอย่างเดียว สามารถมีทักษะ สมรรถนะ ที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคตได้ การเรียนรู้ในปัจจุบันเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำไม่ใช่การท่องจำ บุคลากรในโรงเรียน 

ผู้ปกครอง ชุมชนต้องเข้าใจ รวมถึงเครือข่ายต่าง ๆ จึงเป็นแรงเสริมสำคัญที่จะช่วยพัฒนาโรงเรียน ผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีทักษะที่สามารถนำไปต่อยอดได้



จากบทสัมภาษณ์: นางเจนจิรา เดชชัยพงศ์ (โค้ชเอ) นักพัฒนาการศึกษา

มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม


การสร้างเครือข่ายในการทำงานที่ดีนั้น

ในมุมมองของโค้ชแตน มองว่าในแต่ละโรงเรียนจะมีการสร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกับองค์กรอื่น ๆ อยู่แล้ว เช่น เครือข่ายชุมชน ผู้ปกครอง สถานพยาบาล หรือตำรวจที่เข้ามาให้ความรู้กับนักเรียนเสมอ ดังนั้น ในการดำเนินโครงการ โค้ชจะต้องช่วยเรื่องการผลักดันโรงเรียนในการทำงานร่วมกับองค์กรภายนอกมากขึ้น 

โดยให้เป็นแนวทาง เช่น แนะนำให้โรงเรียนมีการเชิญปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาสร้างนวัตกรรมทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งวิทยากรนั้นก็มาจากผู้ปกครองที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องนั้น ๆ ก็สามารถเข้ามามีบทบาท ช่วยเหลือในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียนได้หรืออาจจะเป็นวิทยากรครูจากโรงเรียนเครือข่ายมาให้ความรู้ในเรื่องของระบบสารสนเทศ

ดังนั้น การสร้างเครือข่ายที่ดีนั้นจะต้องเกิดจากการได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งองค์กรภายใน และองค์กรภายนอกให้เข้ามามีบทบาทเป็น ผู้ช่วยในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียน ร่วมกันสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้เรียน


ในฐานะเครือข่ายโรงเรียนมีส่วนให้การสนับสนุนองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างไร 

สำหรับโค้ชแตนนั้นคือ การสร้างความร่วมมือกับกลุ่มเครือข่ายหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของ ค่าตอบแทน แต่เป็นการขอความร่วมมือกับชุมชนเข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนและในส่วนของโรงเรียนในเครือข่ายนั้น โค้ชแตนได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายของโครงการมา 2 รุ่น ก็จะแนะนำให้โรงเรียนเครือข่าย รุ่นที่ 2 ได้เข้าไปศึกษาดูงานโรงเรียน

ใน รุ่นที่ 1 ที่เป็นโรงเรียนต้นแบบ เช่น โรงเรียนอนุบาลวังดิน เป็นโรงเรียนที่เด่นชัดในเรื่องการทำ PLC การจัดการสอนแบบ Active Learning และใช้กระบวนการ STEAM Design Process แบบเต็มรูปแบบ

ดั้งนั้น โค้ชแตนคิดว่าการผลักดันให้โรงเรียนในเครือข่ายได้สนับสนุนองค์กรอื่น ๆ ไม่ใช่ในเรื่องของตัวเงิน แต่เป็นการสนับสนุนในเรื่องของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้   ให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนผ่านการทำงานร่วมเครือข่ายด้วย และทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากบทสัมภาษณ์: นางฤทัยรัตน์ ทรัพย์ประภากุล (โค้ชแตน) นักพัฒนาการศึกษา

มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6

เด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้จักพัฒนาตนเอง สนใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น เริ่มให้ความสนใจเพศตร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6
Starfish Academy

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6

Starfish Academy
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3

การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
Starfish Academy

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3

Starfish Academy
การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การสอน
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่

หลักสูตรเพื่อก้าวสู่การครูยุคใหม่ซึ่งมีทักษะพื้นฐานทางดิจิทัลและความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในนำมาใช้ในการผลิตสื่อ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่
Starfish Academy

พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่

Starfish Academy
22795 ผู้เรียน
นวัตกรรม 3R
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
1657 ผู้เรียน

Related Videos

ครูไทเลย นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชีวิตประจำวันเป็นฐาน BLENDED
25:11
Starfish Academy

ครูไทเลย นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชีวิตประจำวันเป็นฐาน BLENDED

Starfish Academy
119 views • 3 เดือนที่แล้ว
ครูไทเลย นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชีวิตประจำวันเป็นฐาน BLENDED
กล้าสอน KLA-SON  KN ENJOY MODEL
27:38
Starfish Academy

กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL

Starfish Academy
30 views • 4 เดือนที่แล้ว
กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
3950 views • 1 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
TBN Teacher Hero นวัตกรรม ส่องหา(ทำ) ส่งต่อความรู้ภูมิปัญญา และสุขภาวะให้ชุมชน
25:06
Starfish Academy

TBN Teacher Hero นวัตกรรม ส่องหา(ทำ) ส่งต่อความรู้ภูมิปัญญา และสุขภาวะให้ชุมชน

Starfish Academy
140 views • 3 เดือนที่แล้ว
TBN Teacher Hero นวัตกรรม ส่องหา(ทำ) ส่งต่อความรู้ภูมิปัญญา และสุขภาวะให้ชุมชน