18 รูปแบบการเรียนรู้ด้วย Edtech ที่น่าจับตามองในปี 2022
ยิ่งบริษัทเกี่ยวกับเทคโลยีการศึกษา (Edtech) ผุดมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนทางไกล (Remote) หรือการเรียนแบบผสมผสาน (Hybrid Class) มากขึ้นเท่าไหร่ โลกของเทคโนโลยีการศึกษาก็ขยายเติบโตมากขึ้นเท่านั้น
วันนี้ Starfish Labz นำรูปแบบของ Edtech มาให้ได้รู้จักกันทั้งหมด 18 รูปแบบ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับบางรูปแบบของ Edtech มาก่อนแล้ว แต่อาจจะมีบางอันที่มีความแตกต่างในบางบริบท
รูปแบบที่ 1 : Asynchronous Learning
คือรูปแบบการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นมาเจอกันในเวลาเดียวกัน หรือถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ ครูผู้สอนสามารถเตรียมการสอนต่าง ๆ ไว้ก่อน แล้วนักเรียนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ตามเวลาที่ตัวเองสะดวก
บางบทเรียนอาจจะเป็นรูปแบบ Asynchronous ทั้งหมด คือผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง จบที่ตนเอง แต่บางบทเรียนอาจจะต้องใช้ควบคู่ไปกับการเรียนแบบทางไกล หรือการเรียนแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดกิจกรรมหรือการอภิปรายแบบสด ๆ
เทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้ในการเรียนแบบ Asynchronous Learning ได้แก่
- ระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Learning management systems)
- โมดูลที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self-paced modules)
- การฝึกทำข้อสอบแบบออนไลน์ (Online practice quizzes)
- การอัดบทเรียนไว้ล่วงหน้า (Pre-recorded lessons), สัมมนาออนไลน์ (Webinars), การบรรยาย (Lectures), การประชุม (Conferences)
- การจัดประชุมออนไลน์ (Online forums) และกระดานสนทนา (Discussion boards)
รูปแบบที่ 2 : Blended Learning
คือรูปแบบการเรียนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบออนไลน์ และสอนสด หรือสอนตัวต่อตัวกับนักเรียน เพราะฉะนั้นความแตกต่างระหว่าง Online Learning และ Blended Learning คือ การเรียนแบบ Blended Learning จะต้องมีการอภิปรายบทเรียนกันสด ๆ แบบ real time หรือมีการบรรยายสดจากผู้สอน ในขณะที่ Online Learning สามารถเป็นแบบ Asychronous ได้ คือเตรียมการสอนไว้ก่อน แล้วให้ผู้เรียนเลือกเวลาเข้ามาเรียนรู้เอง
รูปแบบที่ 3 : Content Management System (CMS)
คือระบบซอฟแวร์ที่ให้ผู้ใช้งานได้เข้าไปสร้าง เปิดสาธารณะ และแชร์เนื้อหาบทเรียนออนไลน์ได้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็ได้แชร์คอร์ส บทเรียนที่โพสงานต่าง ๆ หรือ เอกสารการสอนต่าง ๆ โดยใช้ระบบซอฟแวร์ CMS นี้ เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของเว็บไซต์
รูปแบบที่ 4 : Distance Learning
คือการศึกษาทางไกล ที่มีการเรียนการสอนโดยที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ เช่น การเรียนแบบผสมผสาน (Hybrid Learning), การเรียนออนไลน์เต็มรูปแบบ (Online Learning), หรือการเรียนผ่านระบบดาวเทียม
รูปแบบที่ 5 : Edtech
ย่อมากจาก Education technology คือ การจัดหมวดหมู่ของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุน และให้ผู้ใช้งานเข้าถึงการศึกษาได้ สามารถรวมไปถึงซอฟแวร์ (Software), ฮาร์ดแวร์ (Hardware), และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้นักเรียนและคุณครูได้รับประสบการณ์ที่มากขึ้นในห้องเรียน
รูปแบบที่ 6: Education ICT
คือการใช้งานข้อมูล และเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร เพื่อตอบโจทย์จุดประสงค์ด้านการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น การใช้ cloud-based learning software, apps, blogs, หรือ discussion board, digital whiteboard หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่สร้างการเรียนรู้แบบโต้ตอบกันได้ทางออนไลน์
รูปแบบที่ 7: Flipped Classroom
หรือเรียกว่า ห้องเรียนกลับด้าน คือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่ง ที่แตกต่างจากวิธีการสอนแบบเดิม โดยให้นักเรียนทำงานต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า ‘การบ้าน’ ให้เสร็จภายในคาบเรียน โดยที่มีคุณครูอยู่ในห้องเรียน เมื่อการบ้านที่ต้องปกติจะต้องกลับไปทำหลังเลิกเรียนเสร็จภายในคาบแล้ว เวลาหลังจากเลิกเรียน คือเวลาของการกลับไปดูวิดีโอต่าง ๆ เนื้อหาบทเรียนอื่น ๆ หรือทำกิจกรรม และกลับมาทำงานต่าง ๆ ในคาบเรียนปกติเหมือนเดิม
นักเรียนสามารถเรียนรู้ในแบบของตัวเอง และใช้เวลาในห้องเรียนถามคำถาม และขอความช่วยเหลือจากคุณครูได้ในเรื่องการบ้าน ซึ่งการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom สามารถเป็นไอเดียสำหรับการเรียนรู้แบบ Hybrid Learning ได้ ที่เวลาในห้องเรียนของเด็กแต่ละคนมีคุณค่ามาก ๆ สำหรับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน
รูปแบบที่ 8: Hybrid Learning
เป็นการผสมผสานการเรียนรู้ในห้องเรียน (แบบรักษาระยะห่าง) ควบคู่ไปกับการเรียนออนไลน์ Hybrid learning สามารถผสมผสานระหว่าง Synchronous Learning (การเรียนการสอนที่ทุกคนต้องมาพร้อมกันแบบสด ๆ เช่น การสอนผ่าน ZOOM หรือ Google Meet) กับ Asynchronous Learning ได้ เหมือน การจัดประชุมออนไลน์, มีกระดานสนทนา หรือเนื้อหาอื่น ๆ ที่เป็นเนื้อหาออนไลน์
รูปแบบที่ 9: Instructional Technology
คือ สิ่งที่สร้าง Classroom Technology Tools (เครื่องมือเทคโนโลยีในห้องเรียน) ที่ช่วยในเรื่องของคำสั่ง และการเรียนรู้ รวมไปถึงระบบซอฟแวร์ และฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นในการสร้างคำสั่งให้ง่าย และให้เกิดความสมดุลมากที่เท่าสุดเท่าที่เป็นไปได้ สำหรับครูและนักเรียน
รูปแบบที่ 10: ITSE
ย่อมาจาก the International Society for Technology and Education คือชุมชนของนักการศึกษาทั่วโลกที่ใช้เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงการสอนและการเรียนรู้ ออกแบบนวัตกรรมสำหรับเทคโนโลยีการศึกษา และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการศึกษา
รูปแบบที่ 11: Learning Management System (LMS)
คือระบบซอฟแวร์แอปพลิเคชั่นที่ครอบคลุมการลงทะเบียน การติดตาม การส่งบทเรียนออนไลน์ไปให้นักเรียน เมื่อนักเรียนทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบ LMS นี้จะส่งต่องานของนักเรียนไปตามระบบที่ถูกวางไว้ มันสามารถอยู่ในรูปแบบของแบบเรียน (textbook) สื่อการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง (material) ข้อสอบออนไลน์(online quiz) ที่ถูกมัดรวมกันให้เป็น 1 Course ในการจัดส่ง 1 ครั้ง
รูปแบบที่ 12: Massive Online Open Courses (MOOCs)
คือ คอร์สเรียนออนไลน์ที่ต้องการให้ผู้เข้าเรียน หรือผู้เข้าดูมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เป็นรูปแบบที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย สำหรับคนที่สนใจอยากเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง MOOCs ทำให้การสื่อสารกว้างขึ้น และเกิดการร่วมมือกันที่เสมือนจริง ตราบใดที่จำนวนผู้ใช้งานมีมากพอ
รูปแบบที่ 13: NETP
ย่อมาจาก The National Education Technology Plan (NETP) คือนโยบายของภาครัฐ จากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อรับรองความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การเรียนรู้
รูปแบบที่ 14: Online Program Management (OPM)
คือรูปแบบการเรียนรู้ผ่านระบบดิติทัล ที่บุคคล หรือองค์กรภายนอกสร้างคอร์สเรียนล่วงหน้า สำหรับนักเรียนที่อยากเรียนรู้ ซึ่งจะดีและง่ายต่อคุณครูที่จะสร้างบทเรียนทั้งหมดเอง และโรงเรียน หรือนักเรียนสามารถจ่ายค่าเล่าเรียนให้แก่ตัวเองได้
รูปแบบที่ 15: Student Information System (SIS)
คือระบบซอฟแวร์ที่ถูกสร้างมาเพื่อติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียน ได้แก่คะแนนสอบ คะแนนการเข้าห้องเรียน หรือคะแนนรายวิชา เป็นต้น นอกจากนี้ระบบนี้สามารถช่วยให้คุณครูเห็นว่านักเรียนแต่ละคนต้องการความช่วยเหลืออะไรได้อีกด้วย
รูปแบบที่ 16: Synchronous Learning
รูปแบบการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนต้องมาเจอกัน ในเวลาที่พร้อมกัน เช่น การสอนแบบทั้งห้องพร้อมกันผ่าน VDO ระบบ ZOOM หรือ อาจจะ Breakout room เพื่อสอนแบบตัวต่อตัว การส่งข้อความหากันแบบทันที (Instant Messaging) การ Live ตอบคำถาม เป็นต้น
รูปแบบที่ 17 : Virtual Classroom
ห้องเรียนเสมือนจริง คือห้องเรียนผ่านการเรียนออนไลน์ที่นักเรียนสามารถเรียนและถามคำถามได้ ทุกคนในห้องเรียนจะได้ยิน หรือเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เพื่อนทำ
รูปแบบที่ 18: Webinar
คือรูปแบบการนำเสนอที่มีหัวข้อที่เจาะจงชัดเจน ที่ถูกจัดขึ้นแบบเสมือนจริง ผู้เข้าร่วมสามารถลงทะเบียนก่อนเวลาเข้างาน และได้รับเอกสาร วิดีโอ หรือมัลติมีเดียที่ถูกใช้เพื่อในงาน การนำเสนอแบบ Webinar สามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบสด ๆ หรือ อัดไว้ล่วงหน้าก็ได้
แปลและเรียบเรียงจาก :
Everything You Need to Know About Education Technology “EdTech” : tinyurl.com/3p2d68jz
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
Octava Foundation และ Starfish Education ร่วมมือให้ทุน เพิ่มศักยภาพโรงเรียนผ่านนวัตกรรมการศึกษา เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กไทย ด้วยโครงการ Future School Transformation Program
15.08.24
ครม. เห็นชอบแต่งตั้ง รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567
14.08.24
รองผู้ว่าฯ กทม. ชื่นชม โรงเรียนวัดคฤหบดี นำ STEAM Design Process สู่ห้องเรียน สร้างเด็กยุคใหม่ สนุกกับการเรียนรู้
09.08.24
ศธ. ดึงภาคีเครือข่ายทั่วโลก ประชุมสภาการศึกษานานาชาติ
02.08.24
Starfish Education ร่วมจัดประชุมสมัชชาสภาการศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด “All for Education” จับมือไว้ สร้างการศึกษาไทยไปด้วยกัน
23.08.24
รมว.ศธ. สั่งเร่งโยกย้ายข้าราชการทดแทนตำแหน่งเกษียณทั้งหมดไม่เกินวันที่ 1 ต.ค.67 พร้อมขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย
09.08.24