10 เทรนด์ EdTech แห่งปี 2023: เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ยุคใหม่

9 เดือนที่แล้ว
3430 views
โดย Starfish Academy
10 เทรนด์ EdTech แห่งปี 2023: เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ยุคใหม่

เมื่อการเติบโตของ EdTech ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสถานศึกษาอีกต่อไป เพราะคนทำงานต่างก็หันมาเร่งอัปสกิลพัฒนาตัวเองกันอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นเทรนด์การเรียนรู้ตลอดชีพ (Lifelong Learning) และด้วยมูลค่าตลาด EdTech ที่คาดว่าจะเติบโต 16.5% ต่อปีในช่วงปี 2022 – 2030 ลองมาดูกันว่าเทรนด์ EdTech ในปี 2023 มีอะไรบ้างที่น่าจับตามอง

1. Personalized Learning

เมื่อผู้เรียนแต่ละคนมีอัตราการเรียนรู้หรือความสนใจเนื้อหาที่ต่างกันออกไป การสอนด้วยวิธีการเดียวอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเพราะบทเรียนไม่ได้สนองตอบต่อผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดังนั้น การเรียนการสอนยุคใหม่จึงถูกปรับให้มีความเฉพาะบุคคลมากขึ้นการออกแบบบทเรียนที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งผู้เรียนก็สามารถเลือกเรียนวิชาได้ตามความสนใจ ติดตามความคืบหน้า และโฟกัสไปที่จุดอ่อนของตัวเองได้อย่างตรงจุดมากขึ้น Personalized Learning จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่จะเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นในช่วงปีนี้

2. Subscription-based Model for Learning

สมัยนี้ก็มีแพลตฟอร์มการศึกษาที่ใช้โมเดล Subscription-based เช่นเดียวกันที่เปิดให้ผู้เรียนได้สมัครรายเดือนหรือรายปี และเรียนกี่วิชาก็ได้ภายในระยะเวลาที่เป็นสมาชิกอยู่ ซึ่งต่างจากการเรียนออนไลน์แบบเดิมที่ผู้เรียนต้องเลือกชำระเงินเรียนทีละรายวิชาและต้องเรียนให้จบเพื่อรับใบประกาศนียบัตร ในช่วงปี 2020 – 2022 มีแพลตฟอร์มการศึกษาแบบ Subscription-based model เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19

3. Hybrid Learning / Blended Learning

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาบูมขึ้นมา ทำให้สถานศึกษาทั่วโลกต่างต้องหันมาสอนทางออนไลน์กันมากขึ้นโดยหลายๆโรงเรียนก็เริ่มใช้โมเดลการสอนแบบ Hybrid Learning ที่ครูอาจารย์สอนในห้องที่มีนักเรียนอยู่ที่โรงเรียน พร้อม ๆ กับถ่ายทอดสดไปยังผู้เรียนออนไลน์ที่อยู่ทางบ้านรวมถึงแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมประสบการณ์การเรียนรู้กันมากขึ้นอย่างแพร่หลาย ด้วยแนวทางแบบ Blended Learning ที่นำสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ แบบออนไลน์เข้ามาผสมผสานกับการเรียนการสอนแบบออฟไลน์ ทำให้ครูไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่เป็นแหล่งข้อมูลความรู้เพียงแหล่งเดียวอีกต่อไป แต่เข้ามาเป็นผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ (Learning Facilitator) และเป็นผู้ให้คำปรึกษา (Mentor) ด้วย

4. Nano Learning / Bite-sized Learning

Nano Learning หรือ Bite-sized Learning คือ การแบ่งย่อยเนื้อหาเป็นส่วน ๆ ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับอินพุตขนาดกำลังพอดีผ่านสื่อการเรียนรู้ในเวลาที่จำกัดได้ในช่วงเวลาตั้งแต่ 2 – 10 นาที ซึ่งการแบ่งย่อยบทเรียนทีละส่วนเช่นนี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการถ่ายทอดบทเรียนเป็นชั่วโมงซึ่งอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจากการใช้สมาธิต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานได้

5. Gamification

Gamification เป็นเทคนิคฝึกทักษะแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กลไกของเกมเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น พัฒนาทักษะและเรียนรู้ผ่านเกมได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด อีกทั้งยังช่วยทบทวนความจำและทำให้เรื่องยาก ๆ เข้าใจได้ง่าย ตอบโจทย์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ กระตุ้นผู้เรียนให้บรรลุเป้าพร้อมกับได้รับฟีดแบ็กทันทีการใช้เกมกับการเรียนรู้ไม่ได้ใช้แค่ในเฉพาะกลุ่มนักเรียนในสถานศึกษา แต่ยังรวมไปถึงการใช้ฝึกพนักงานตามบริษัทด้วย เพราะโดยธรรมชาติแล้วคนทุกช่วงวัยต่างชอบเล่นเกมด้วยความรู้สึกท้าทายอยากเอาชนะในแต่ละด่าน เมื่อเกมเข้ามาเป็นตัวกลาง ก็ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกเพลิดเพลิน และรู้สึกมีส่วนร่วมกับบทเรียนมากยิ่งขึ้นไปด้วย

6. Augmented Reality & Virtual Reality

AR และ VR กลายเป็นสองเทคโนโลยีหลักที่ขับเคลื่อนการพลิกโฉมแวดวงการศึกษาด้วยการจำลองบทเรียนหรือแนวคิดที่ซับซ้อนให้ผู้เรียนเห็นภาพที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น บทเรียนเกี่ยวกับ STEM การจำลองเนื้อหาด้านการแพทย์ ศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยประสบการณ์เสมือน ขยายโอกาสในการทดลองต่าง ๆ ลดการท่องจำพร้อมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของผู้เรียน ปัจจุบันก็มีตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการใช้ AR/VR เพื่อการศึกษา ได้แก่ Wonderscope, Mondly, JigSpace ซึ่งคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยี AR/VR จะเข้ามาครองพื้นที่ EdTech เพื่อเสริมการเรียนรู้ในวงกว้างมากขึ้นอย่างแน่นอน

7. Digital and Comprehensive Online Assessments / AI-powered Assessment

การวัดและประเมินผลความรู้เชิงทฤษฎีแบบดั้งเดิมจะกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว เพราะมีแนวโน้มการประเมินผู้เรียนโดยอิงตามความรู้ในทางปฏิบัติ การทดลอง การลงพื้นที่ทำจริงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งรูปแบบการสอบจะเน้นไปที่การจัดสอบทางออนไลน์ ทั้งภาคปฏิบัติและการสอบปากเปล่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สถาบันการศึกษาจะเริ่มหันมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยในการจัดสอบและระบบประเมินผลด้วยการอัดเสียงผ่านออนไลน์เทคโนโลยี AI ก็เข้ามามีบทบาทในการวัดประเมินผลความรู้เช่นเดียวกับการจัดการเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคล (Personalized Learning) ด้วยฟีเจอร์ AI ที่ประเมินผ่านทางออนไลน์จะแสดงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียน การวิเคราะห์กลุ่ม และการวิเคราะห์ผู้เรียนเดี่ยวในแต่ละหัวข้อบทเรียน ซึ่งการใช้ AI-powered Assessment จะช่วยลด Bias หรือความไม่เที่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ผู้วัดผลที่เป็นมนุษย์ได้ และให้ฟีดแบ็กแก่ผู้เรียนรายบุคคลได้

 

8. Exam Management with EdTech

การจัดสอบโดยทั่วไปยังอยู่ในรูปแบบดั้งเดิมอยู่ที่มีศูนย์จัดสอบ การคุมสอบ การตรวจกระดาษคำตอบแบบแมนนวล ซึ่งเป็นงานที่ซ้ำซากจำเจ และใช้แรงงานคนมากเกินจำเป็น จุดนี้เองที่ AI เข้ามาช่วยในเรื่องของระบบการจัดการสอบ เช่น ระบบคุมสอบด้วย AI (AI-based Proctoring) หรือ การคุมสอบทางไกลอัตโนมัติ (Auto-remote Proctoring) ที่ให้สถาบันดำเนินการจัดสอบได้โดยไม่ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานหรือโลจิสติกส์ใด ๆเทคโนโลยีคุมสอบทางไกล (Remote Proctoring Technology) สามารถเข้ามาช่วยให้นักเรียนเข้าสอบจากที่ไหนก็ได้ผ่านอุปกรณ์ที่ใช้อินเทอร์เน็ต โดยระบบจะติดตามอิริยาบถของผู้สอบทางไกลผ่านการสตรีมวิดีโอ ภาพและเสียง ซึ่ง AI จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่านักเรียนกำลังทำข้อสอบโดยสุจริตอยู่

9. Digital & Cloud-based Infrastructure

นอกจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้ว สถาปัตยกรรมโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลก็เป็นพื้นฐานสำคัญในการสนับสนุนเส้นทางการศึกษาในอนาคตของนักเรียน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราได้เห็นห้องเรียนแบบดิจิทัลกันมากขึ้นที่ผสานนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามา เช่น กระดานไวท์บอร์ดอินเทอร์แอคทีฟ โปรเจกเตอร์ ห้องแล็บ ICT หรือศูนย์มัลติมีเดีย เกมการศึกษา ซอฟต์แวร์การจัดการ ระบบ E-learning บนคลาวด์ และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เปิดโอกาสใหม่ให้กับการเรียนการสอนยุคนี้

10. Blockchain

เทคโนโลยีบล็อกเชนนำมาใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อมูลเพื่อยืนยันทักษะและความเชี่ยวชาญรูปแบบดิจิทัลที่สามารถตรวจสอบได้และไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงได้ เช่น การจัดเก็บข้อมูลนักเรียนขนาดใหญ่อย่างมั่นคงปลอดภัยสูงสุด การเก็บบันทึกและจัดการหลักฐานวุฒิการศึกษาในภาพรวม การใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนในภาคการศึกษานั้นถือว่ามีศักยภาพในการเพิ่มความถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้ อย่างการเก็บประวัติของนักเรียน ทำให้สถานศึกษารวมไปถึงนายจ้างสามารถตรวจสอบประวัติข้อมูลประจำตัวของผู้เรียนได้ โดยมั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ผ่านการปลอมแปลง นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังมอบความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น การจัดเก็บ Course Syllabus และ Coursework รายวิชาต่าง ๆ ในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น

อ่านรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติม : www.adpt.news/2023/01/17/10-edtech-trends-2023/

Share:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด

ศธ. มุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษา เตรียมเสนอ "พิธีไหว้ครู" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

02.04.24

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education เข้ารับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ

02.04.24

Starfish Education มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน จัดกิจกรรม Focus Group หัวข้อ "องค์ประกอบ 9 ด้าน ในการบริหารจัดการโรงเรียน" และ Workshop การประเมินทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21

02.04.24

5 มติสำคัญผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 2/2567 ไฟเขียว! ปรับเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะครู มีผล 1 ตุลาคม 2567

02.04.24

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 4/2567

30.04.24

ก.ค.ศ. ร่วมกับ Starfish Education จัดกิจกรรม Kick off โครงการศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยการขับเคลื่อน “PA” สู่ “การเสริมพลังบริหาร สร้างครูสอนดี ผู้เรียนมีความสุข”

08.05.24