ทางลัดเข้าใจบุคลิกภาพ และตัวตน รู้จักจุดแข็ง - จุดอ่อน เพื่อสร้างการทำงาน แบบ Team ด้วย MBTI

Starfish Labz
Starfish Labz 438 views • 2 เดือนที่แล้ว
ทางลัดเข้าใจบุคลิกภาพ และตัวตน รู้จักจุดแข็ง - จุดอ่อน เพื่อสร้างการทำงาน แบบ Team ด้วย MBTI

เชื่อว่าหลายคน เจอเพื่อนใหม่ เรามองเห็นรูปร่างหน้าตาเขาได้ แต่สิ่งที่ยากคือการเข้าไปรู้ลักษณะนิสัยของเขา, ความชอบในการทำงาน, สไตล์การเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้มันค่อนข้างยาก MBTI ทำให้เข้าใจผู้อื่น ทำงานด้วยกันได้ รวมถึงรู้จักตนเองมากขึ้น สำหรับคุณครูมีประโยชน์ในแง่ของการสอน ต้องสร้างความร่วมมือกับนักเรียน ถ้าเราเข้าไปด้วยความขัดแย้ง อาจทำให้ผู้เรียนเปิดรับได้ไม่เต็มที่ 

กรณีศึกษาการด่วนตัดสินใจ คุณแม่ Extrovert VS คุณลูก Introvert คุณ Kathy Caprino นักเขียนของ Forbes เธอเป็นคนกล้าแสดงความคิดเห็น ซึ่งเธอมักไม่เข้าใจคนเงียบ ๆ ทำอะไรต้องไตร่ตรอง จนกระทั่งได้มาเรียนรู้คุณลักษณะของมนุษย์เรา ความแตกต่างกัน และความต้องการที่ไม่เหมือนกัน มีวิธีแสดงออกที่ต่างกัน ซึ่งมันไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าคนประเภทนั้นเขาไม่เก่ง

เมื่อเธอมีลูก ก็สังเกตเห็นว่า ในห้องเรียน ลูกไม่ค่อยพูด มีแนวโน้มไปทาง Introvert และคะแนนส่วนร่วมในคลาสไม่ดีเท่าไหร่ เธอจึงมองว่ามันไม่ค่อยแฟร์ ที่บางคนเป็นคนเงียบ ๆ ไม่อยากแสดงความคิดเห็น ส่งผลให้ได้คะแนนน้อยทั้ง ๆ ที่เรื่องอื่นเขาก็ทำได้ดี 

MBTI หนทางสู่การรู้จักตนเอง มิติของการศึกษา ถ้าเราเป็นคนบุคลิกแบบนี้ เราน่าจะมีความถนัดด้านไหน เหมาะกับการทำอะไร ส่วน MBTI ในวัยทำงาน ต้องรู้จักคนอื่น รู้จักตนเอง เราเป็นอย่างไร เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ ในบริบทจิตวิทยาการให้คำปรึกษา บางชิ้นมีงานวิจัยออกมา แต่ละ Type ต้องเจอความท้าทายในชีวิตด้านใดบ้าง

องค์ประกอบ 4 อย่าง ของ MBTI

ในแต่ละข้อ จะบ่งชี้ถึงความถนัดของเรา มาสำรวจไปพร้อมกันเลยค่ะ

1. ทิศทางที่ทำให้เรารู้สึกมีพลัง ที่เราใช้พลัง

2. วิธีในการรับข้อมูล 

3. วิธีที่เราตัดสินใจและสร้างข้อสรุป

4. วิธีในการรับมือกับโลกภายนอก 

สำรวจ MBTI ผ่านชีวิตประจำวัน เช่น ไปซื้อผลไม้ชนิดหนึ่ง เรารับข้อมูลมาก่อน ว่าผลไม้อะไรที่มันอยู่ในชั้นวางสินค้า มีส้ม มีกล้วย สถานที่ที่เราเข้าไป เราเห็นอะไรบ้าง หลังจากนั้นเกิดการตัดสินใจ และสร้างข้อสรุปซื้อผลไม้ชนิดไหน ซึ่งมันเกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของเราบางคนตัดสินใจ พร้อมวางแผน กินส้ม 5 วัน บางคนวันนี้กินส้ม ส่วนพรุ่งนี้จะกินอะไรดูอีกที ไม่รีบตัดสินใจ ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นลักษณะที่เราทำทุกวัน จนเกิดเป็นบุคลิกภาพ การทำแบบทดสอบสามารถทำได้ แต่ควรเข้าใจทฤษฎีเบื้องต้น และหมั่นสังเกตตนเอง หรือใช้กิจกรรมนี้ช่วยเผยสิ่งนั้นออกมา นำปากกาหรือดินสอ ใช้มือเขียนชื่อและนามสกุล ทั้งข้างที่เราถนัด และข้างที่เราไม่ถนัด หลังจากนั้นอธิบายตอนที่เขียนเรารู้สึกอย่างไร ส่วนใหญ่ข้างที่ถนัด จะทำออกมาได้ดีกว่า เขียนง่าย เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ความพยายาม ข้างที่ไม่ถนัด ทำออกมาได้แย่กว่า เขียนยาก ไม่เป็นธรรมชาติ ใช้ความพยายาม อยากให้เราจำความรู้สึกนี้ไว้ ย้ำเตือนอยู่เสมอ ป้องกันการสับสน Type ของตนเองสิ่งที่เราถนัด จะเป็นความรู้สึกเดียวกับตอนที่เราเขียนชื่อตัวเอง ด้วยมือที่เราถนัดในขณะเดียวกัน อะไรที่เราไม่ถนัด มันไม่ได้หมายความว่าเราทำไม่ได้ เขียนไม่ได้ เช่น ถ้าเราถนัดขวา ไม่ได้หมายความว่า เราไม่สามารถเขียนหนังสือด้วยมือซ้ายได้ เราก็เขียนได้ มันอาจจะออกมาไม่สวย ต้องใช้สมาธิเยอะ  

Extraversion กับ Introversion

Extraversion ใช้พลังงานกับสิ่งภายนอก และรับพลังงานจากสิ่งภายนอก เวลาที่เริ่มมีแรง มีเงิน เราอยากจะออกไปเที่ยว ไปรับรู้ข้อมูลใหม่ ๆ ไปเสพประสบการณ์ Introversion ใช้พลังงานกับโลกภายใน รับพลังงานจากโลกภายใน ถ้าตอนมีพลังงานจะโฟกัสกับตัวเอง ฉันกำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ ตอนนี้มาทบทวนชีวิตของเรา 

เมื่อคนช่างคุย กับคนพูดน้อย ในสถานการณ์ห้องประชุม

Extrovert มีแนวโน้ม พูดสิ่งที่คิดออกมา แสดงความรู้สึกออกมา ไม่ชอบประชุมที่เงียบ ชอบแชร์ ออกความคิดเห็น สามารถทำออกมาได้ง่าย ในขณะที่ Introvert เวลาจะพูดอะไร เป็นเรื่องยาก คิดทบทวน การจะแสดงออก การบอกเป็นเรื่องที่ยาก ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก เปิดเผยอารมณ์ของตัวเองออกมา ต้องคิดแล้วคิดอีก ถ้ามันไม่ถึงตาของเรา อาจจะไม่ค่อยอยากพูด แต่ไม่ได้แปลว่าเขาขาดการมีส่วนร่วม เขาก็ยังอยู่ในบทสนทนา เป็นธรรมชาติของเขา 

วิธีการชาร์จแบต Extrovert ส่วนใหญ่ไปจบลงด้วยการทำกิจกรรมที่ทำกับเพื่อน เป็นกิจกรรมที่ได้พูดคุย ชวนเพื่อนไปกินชาบู และได้รู้จักเพื่อนใหม่ยิ่งดี Introvert จะเลือกกลับบ้านนอน อยู่นิ่ง ๆ กิจกรรมที่ทำกับตนเอง ยิ่งถ้าไปคุยกับคนที่เขาไม่รู้จัก จะยิ่งรู้สึกเหนื่อยมากยิ่งขึ้น เพราะต้องใช้พลัง 

การตัดสินใจลงมือทำอะไรสักอย่าง บ่งบอกถึง Type ได้ 

Extrovert คิดอะไรได้ลงมือทำทันที ชอบพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ชอบการ brainstorm ปรึกษา เวลาได้แก้ปัญหา ปัญหาในงานได้ทำกิจกรรมที่ได้ทำเป็นส่วนรวม

Introvert จะทำอะไร เขาอยากคิดก่อน คิดจนกว่าเขาจะมั่นใจทบทวนมาแล้ว แบบนี้ว่าจะดี ต้องการเวลาทบทวน ต้องอยู่กับตัวเองต้องการสมาธิ ในการคิด คำตอบที่เราต้องการจะทำ มันต้องทำอย่างไร 

บางครั้งก็รู้สึกเป็น E บางครั้งก็รู้สึกเป็น I

กลับมาทบทวนตัวเรา ถนัดด้านอะไร คนที่เป็น Introvert ไม่ได้แปลว่าเขาจะขี้อาย ถ้าเป็นเรื่องงาน เช่น พิธีกร นักแสดง เขาก็สามารถทำได้ คนเราจะมีทั้งสองสิ่งนี้ผสมกัน 

Sensing กับ Intuition

สามารถทดสอบผ่านการดูรูปภาพได้ ถ้าเป็น Sensing มักบอกสิ่งที่อยู่ในรูปตรง ๆ เล่ารายละเอียด ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นจริง Intuition พูดถึงสิ่งที่มากกว่าอยู่ในรูป พูดในภาพรวม ใช้จินตนาการ เกี่ยวข้องกับอนาคต 

คู่มือ และคำแนะนำที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของ Sensing & Intuition

Sensing ชอบอะไรเป็นขั้นตอน ต้องการข้อมูลอย่างละเอียด เห็นตัวอย่าง ขอภาพ Reference งานต้องเป็นแบบไหน ขณะที่ Intuition ชอบจุดประสงค์ และเป้าหมายที่ชัดเจน มองภาพรวม อยากรู้ว่าเรื่องนี้มันเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นอย่างไร 

มิติของการเรียนรู้

Sensing ชอบเรียนรู้สิ่งที่ใช้ได้จริง เรื่องนี้เอาไปใช้ได้ในอนาคตเขาจะมีแรงบันดาลใจ ในขณะที่ Intuition ถ้าสนใจเรื่องอะไร ไม่ต้องเอาไปใช้ได้จริง

เขาก็อยากเรียนรู้​ Intuition บางคนทำงานจะต้องรู้ว่าสิ่งที่เขาทำไปเพื่ออะไร ช่วยให้เขาเติบโตอย่างไร ขณะที่ Sensing ขอรู้แค่ขั้นตอนมีอะไรบ้าง อะไรที่ไม่เคยทำมาก่อน เขาอาจจะต้องการตัวอย่าง เป็นคนชอบรายละเอียด 

วิธีในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน 

คนที่ถนัดแบบ Sensing เวลาเรียนรู้ จะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น เมื่อรู้จัก MBTI เขาจะเอาไปเชื่อมโยงกับชีวิตเขา ในขณะที่ Intuition จะเอาไปเชื่อมโยง จินตนาการอะไร ใหม่ ๆ นำ MBTI ไปใช้เขียนนิยาย แยกคาแรกเตอร์ เป็นอะไรที่อยู่เหนือความคาดหมาย 

Thinking กับ Feeling 

กระบวนการนำข้อมูลไปสรุป ถ้าถนัด Thinking ตัดสินใจด้วยตรรกะ สาเหตุผลลัพธ์ ลองคิดดูว่าถ้าเราทำแบบนี้ จะเกิดอะไรขึ้น ใช้มาตรฐานที่เป็นกลาง กฎระเบียบ กฎหมาย กฎบริษัท ไม่ได้เอาอารมณ์ส่วนตัวเข้ามาด้วย ส่วน Feeling เวลาให้เขาตัดสินใจ ใช้คุณค่าส่วนตัว คุณค่าของส่วนรวม ถ้าเขาให้คุณค่ากับอะไร จะตัดสินใจผ่านมิติเรื่องนั้น มองหาความกลมเกลียว ตัดสินใจดูลักษณะโดยรวม ในกลุ่มที่ทำงาน เขามีการตัดสินใจอย่างไรทำให้เกิดการสามัคคีกัน สมมติตัวเองเข้าไปอยู่ในบทบาท 

วิธีการจัดการกับความเห็นที่แตกต่าง

Thinking เวลาตัดสินใจ มองหาความจริง ต้องการคำตอบที่ถูกต้องอะไรดีกว่า อะไรไม่ดี เวลามีคำโต้แย้งเขารู้สึกสบายใจ Feeling เขาจะมองหาความกลมเกลียว มองหาข้อตกลงร่วมกัน ถ้ามีความขัดแย้ง เขาจะไม่ค่อยอยากพูด การที่พูดจะยากนิดหนึ่ง

คำชมที่ Thinking และ Feeling ต้องการ

Thinking อยากได้รับคำชมเกี่ยวกับงาน เช่น คุณทำงานได้ดีมาก ดีกว่าเกณฑ์ มีประสิทธิภาพมาก Thinking จะเจาะจงคนที่เจ๋งในแวดวงนั้นมาชมเขา ขณะที่ Feeling ชอบคำชมเกี่ยวกับการสนับสนุนทีม ช่วยเหลือคนอื่น คำชมเป็นใครก็ได้ ขอให้มาจากใจ 

สิ่งที่หลายคนเผลอเข้าใจผิด 

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า Thinking เป็นคนไม่มีความรู้สึกใช่ไหม ไม่ใช่แบบนั้น ทั้งสองมีความรู้สึกเหมือนกัน เพียงแค่ Thinking เขาจะมีมาตรฐาน กฎเกณฑ์ ไม่เอาความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนคนที่ถนัด Feeling ไม่ได้แปลว่าเขาคิดไม่เป็น เขาสามารถตัดสินใจ เขาใช้ความรู้สึก รวมถึงคุณค่าส่วนตัว

Judging กับ Perceiving หากได้รับมอบหมายงาน มีเวลา 30 วัน เราประเมินดู เราสามารถทำให้เสร็จภายใน 12 วัน 

1. เราอยากจะเริ่มวันที่เท่าไหร่ทำอย่างไรบ้าง 

2. จะทำงานได้ดีที่สุดในวันที่เท่าไหร่ 

3. ปัจจัยอะไรที่ทำให้เครียด 

Judging มักจะวางแผนหรือกำหนดการ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามนั้น ค่อนข้างสบายใจ แต่จะรู้สึกเครียด ถ้ามีงานที่ต้องรอจากคนอื่น เวลาใกล้กำหนดส่ง

Perceiving วางแผนในหัว แต่กำหนดการไม่ตายตัว เขาอาจจะเริ่มวันที่ 1 แต่ยังไม่ลงมือทำจริง ๆ ทำงานได้ดีที่สุดเมื่อมีความยืดหยุ่น ทำงานได้ดีช่วงท้าย ๆ และเครียดถ้ามีกำหนดการชัดเจน 

วันหยุดยาวที่ต่างกันของ J และ P 

Judging จะวางแผนวันหยุดยาว ช่วงสงกรานต์ เราจะไปที่ไหน เราจะทำอะไรบางคนไปเที่ยวต่างจังหวัด จองตั๋วเลย วางแพลน มีแผนการชัดเจน ต้องไปเที่ยวให้ครบ 5 ที่ ออกจากบ้านเวลาเท่านั้นเท่านี้

Perceiving ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้วันหยุดยาว ถ้าจะจองตั๋ว จองล่วงหน้าไม่นานเขาสามารถเปลี่ยนแพลนได้ด้วย ตอนแรกจะไปภูเก็ต ระหว่างนั้นเพื่อนชวนไปเชียงใหม่ ก็สามารถเปลี่ยนได้ ให้โอกาสพาไป ชอบเปิดทางเลือกอยู่เสมอ ชอบตอบสนองสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาทันที 

พักผ่อน กับ ทำงาน Judging มุมมองต่อการพัก เขาจะทำงานให้เสร็จ ค่อยพักเขาจะแบ่งเวลาชัดเจน อันนี้เวลาพัก งานไม่อยากให้ค้างคา อยากทำให้เสร็จ แต่ Judging ไม่โอเค ถ้าต้องทำงานตอนพัก ขณะที่ Perceiving เล่นและพักในเวลาเดียวกันได้ ไม่แบ่งชัดเจน อารมณ์ดี อาจเอางานมาทำ แต่ถ้าทำงานมากไปแล้วเครียด ก็พักไปเลย เขารู้สึกว่าทำต่อไปก็ไม่ได้อะไรมากขึ้น 

เมื่อสังคมหล่อหลอมให้เราเป็นคนคนนั้น

คุณลักษณะบางอย่างที่สังคม ของเราหล่อหลอมมา หรือระบบโรงเรียนช่วยให้มิตินั้น ๆ มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ทางโรงเรียน ปลูกฝังให้เราเป็น J ต้องแพลนไว้ แต่มันไม่ได้หมายความว่าจะโอเคตลอด สังคม การทำงานอาจทำให้เราไม่สามารถค้นหา Type ของตัวเองได้ สิ่งที่เราอยากเป็น สิ่งที่เราเป็นจริง เรื่องการเรียนรู้ของเรา ที่มันเกิดขึ้นมา ทำให้เรายืดหยุ่นมากขึ้น 

ความถนัดของประชากรโลกส่วนใหญ่

S จะมีมากกว่า N สูงถึง 67% ข้อมูลจาก The Myers-Briggs Company ส่วนที่เหลือมักไม่ห่างกันมาก บุคลิกภาพของประชากรโลก 

คนส่วนใหญ่แนวโน้มมาทาง SF มากกว่า มีคนบาง Type น้อยหรือมากไม่สำคัญ เพราะ Type ไหนก็มีคนเก่งได้ และมันไม่ได้บ่งบอกถึงทักษะของเรา สิ่งสำคัญคือการพัฒนาตนเอง และเราเรียนรู้ MBTI ให้เรารู้จุดอ่อนของเรา เข้าใจจุดอ่อนของเรา ให้เข้าใจผู้อื่น เพื่อไปหาลือกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

นักเรียน SJ ครูต้องปูพื้นฐาน ให้เขาเห็น Step เด็กประเภทนี้ชอบอะไรที่มีโครงสร้าง มีขั้นตอน ชอบศึกษา การทำงานที่ชัดเจน 

นักเรียน SP เขาชอบเรียนรู้จากการแก้ปัญหา ครูต้องเติมในสิ่งที่เขาขาด เขาไม่ชอบอะไรที่เป๊ะ ต้องรายงานความคืบหน้า ทำให้รู้สึกไม่อิสระ

นักเรียน NF ความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญ ครูต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเขา ซึ่งส่งเสริมในแง่การเรียนได้

นักเรียน NT ต้องการครูที่สมเหตุสมผล สามารถอธิบายอะไรที่เขาไม่เข้าใจ ให้เขาเข้าใจได้ อยากให้เป็นครูที่เจ๋ง ถ้ามีโจทย์คณิตศาสตร์ ครูอธิบายได้ดี จะได้ใจนักเรียนกลุ่มนี้ไป นักเรียนมองอะไรที่เป็นความรู้ ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ 

ครูดูแลลูกศิษย์ Introvert และ Extrovert ในห้องเรียน นักเรียนที่เป็น Introvert มีแนวโน้มว่า ต้องการทบทวนเรื่องอะไรบางอย่าง ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็น ขณะที่บางคนเป็น extrovert ไม่ชอบห้องเรียนที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น ครูต้องจัดสรรปันส่วนให้เท่า ๆ กัน 

ส่วนใหญ่เรามักจะให้คุณค่ากับอะไรที่ตรงกับ Value ของเรา ตรงกับ MBTI ของเรา เมื่อได้มารู้จัก MBIT เราจะได้เห็นอคติที่เกิดขึ้น รู้จักตนเอง ถ้าเราเป็นคนแบบไหน เราจะคุยง่ายกับคนแบบนั้น ถ้าเรามีตัวอักษรไหน เราก็จะเข้าได้ดีกับคนนั้น ถ้าเป็น S จะเข้ากับคน S ได้ดี รวมถึงได้เข้าใจผู้อื่น และคนรอบข้าง ช่วยลดปัญหาขัดแย้ง ส่งเสริมประสิทธิภาพในการร่วมมือกัน 

สำหรับครูได้เข้าใจการวางแผน เพื่อพัฒนาเด็ก ๆ ในห้อง พร้อมเผชิญความแตกต่างที่ต้องพบเจอ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เติบโตได้ไม่รู้จบ ด้วย Growth Mindset

ฝึกฝนและพัฒนา เป็นกุญแจสำคัญมากกว่าพรสวรรค์ใดๆ เมื่อรู้สึกว่าน้ำในแก้วเริ่มเต็ม ควรเปลี่ยนแก้วใบใหม่ เพื่อรับน้ำที่มากขึ้นและจงเป็ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เติบโตได้ไม่รู้จบ ด้วย Growth Mindset
Starfish Academy

เติบโตได้ไม่รู้จบ ด้วย Growth Mindset

Starfish Academy
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3

การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
Starfish Academy

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6

เด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้จักพัฒนาตนเอง สนใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น เริ่มให้ความสนใจเพศตร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6
Starfish Academy

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6

Starfish Academy
ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
304 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
02:33
Starfish Future Labz

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

Starfish Future Labz
50207 views • 2 ปีที่แล้ว
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
43:23
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย

Starfish Academy
377 views • 1 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
6075 views • 2 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21