กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาด้วย PA
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) Inskru Eduzone และ Starfish Labz ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วPA ของตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในหัวข้อ “ผู้อำนวยการสถานศึกษาผู้นำการเปลี่ยนแปลง”โดย Starfish Labz ขอนำความรู้จากงานเสวนาในหัวข้อย่อย “กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาด้วย PA” ดำเนินรายการโดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์มาเผยแพร่ให้ชาว Starfish Labz ดังรายละเอียดต่อไปนี้
การทำ วPA สร้างความแตกต่างให้การเรียนการสอน ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน
ตัวแทนคุณครูปัญญรัสม์ อยู่ยั่งยืน“ประเมินวิทยฐานะในช่วงเดิมที่ผ่านมาจะต้องเตรียมแฟ้ม 13 แฟ้มทุกอย่างพอได้ข่าว วPA ดีมากๆ และเกิดผลโดยตรงต่อเด็กโดยที่การกำหนด 8 ตัวชี้วัดจะทำให้คุณครูมีทิศทางในการสอนซึ่งลองดูสาระสำคัญของคลิปวิดีโอที่นำมาเผยแพร่ต่อไปนี้ “ใช้หลักการดำเนินการ คือ การพึ่งพาตนเองการทำงานอย่างสุขและเศรษฐกิจพอเพียงในการเลือกใช้วัสดุเหลือใช้ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน ภาคภูมิใจที่ได้สร้างนวัตกรรมที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคม” โดยใช้ DGPMC MODEL ในการจัดการเรียนสอน”ตัวแทนคุณครูอาชีวะ ครูพลกฤษณ์ หนูทองพูล “แบบเดิมเราไม่ทำเลยเพราะดูแต่กระดาษเป็นการประเมินที่ไม่จริงจนมาเจอ PA ก็ทำให้เราเปลี่ยนแปลงเรื่องอยากทำ PA ทุกอย่างเกิดขึ้นจากนักเรียน นักเรียนได้ทดลองประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เองสร้างบอร์ดควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจากเมื่อก่อนนักเรียนจะตั้งคำถามว่า “เรียนแล้วเอาไปทำอะไรแต่ตอนมี PA นักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียนได้”
การสื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่คุณครู เมื่อนำ PA ลงสู่โรงเรียน
ผู้อำนวยการศุภโชค ปิยะสันติ์ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคีให้แนวทางดังนี้
“คิดว่าปัญหาหลักของการนำ PA ไปใช้ที่โรงเรียน คือ ความไม่เข้าใจที่ไม่ตรงกันเพราะฉะนั้นวิธีการที่จะเริ่มสร้างความเข้าใจในโรงเรียน
- หลักคิดแรก น้ำเชี่ยว จะไม่เอาเรือไม่ขวาง
- ค่อยๆ ให้ข้อมูลทีละนิด เพื่อให้เห็นเจตนารมณ์
- ตั้งเป้าหมายที่ตัวผู้เรียนเช่นเดียวกัน
- ตีความเป้าหมายให้ตรงกัน
- หาแนวทางการทำงานร่วมกัน
เทคนิคการเป็นผู้นำที่เอาชนะใจคุณครู
ผู้อำนวยการศุภโชค ปิยะสันติ์ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคีให้แนวทางดังนี้
- ใช้กลไกลของวPA ในการเข้าไปช่วยเหลือคุณครู เช่น การเข้าห้องเรียน 5 ชั่วโมง
- จับถูกมากกว่าจับผิดเพื่อให้ครูไว้วางใจ
- เปลี่ยนจากคนสั่งเป็นคนช่วยเหลือ (Coach)
- นั่งคุยกับครูเรื่องเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของโรงเรียนและให้ครูแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยการเขียน Post-it
- ใช้ PLC ในการรับฟังมากกว่าการสั่งการ
- เข้าไปในห้องเรียนเพื่อชื่นชมและให้คำแนะนำคุณครู
- สร้างวงการเรียนรู้โดยการให้ครูสังเกตการสอนของเพื่อนและร่วมแลกเปลี่ยนกัน
- ต่อยอดประเด็นแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอะไรที่ดีหรือต้องพัฒนาต่อ
- กำหนดหัวข้อในการ PLC ได้แก่ระดับ System คุยเรื่องโครงสร้าง เช่น การลดเพิ่มโครงการสร้างตารางเรียนระดับ Lesson Study หรือระดับห้องเรียนระดับ Case Study หรือระดับนักเรียนชิ้นงานเด็กและวิธีการสอน
- เข้าใจรูปแบบการประเมินเพื่อการพัฒนา คือ Appraisal ประเมินเพื่อพัฒนาและให้คุณค่าเพื่อชื่นชมซึ่งแตกต่างกับการประเมินแบบน Evaluation คือประเมินแบบผ่าน/ตก ประเมินเพื่อตัดสินและ Assessment คือประเมินเพื่อพัฒนา
ดร.ภารดี ผางสง่า ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทรารามให้แนวทางดังนี้
- สนับสนุน ติดตามนิเทศและให้กำลังใจตลอดจนการเตรียมการเรียนรู้ในห้องเรียน
- อยู่ในห้องเรียนมากกว่า 5 ชั่วโมง
- สร้างบรรยากาศเป็นกัลยาณมิตร
- เป็นตัวอย่างที่ดี เช่น ยืนรอหน้าโรงเรียนเพื่อรอรับครูและนักเรียน
- มองสำเร็จของ PA อยู่ที่คุณครูและตัวนักเรียน
สิ่งที่ครูต้องการการสนับสนุนจากผู้บริหาร
อยากได้ผู้บริหารที่สนับสนุนคุณครูและศึกษากระบวนการของ PA ไม่อย่างงั้นครูจะเสียสิทธิ์อยากได้บรรยากาศการเรียนที่เป็นกัลยาณมิตร
ประเด็นความรู้จากอ.วิริยะ ฤาชัยพาณิช
- Instructional Leader คือการมองปัญหาทุกอย่างเกิดจากตัวเองทั้งหมด จะไม่โยนความผิดไปให้ครู
- ประเด็นชวนคุยในวง PLC 1. เรื่องเด็ก 2. เรื่องการพัฒนาตัวเอง โดยที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญข้างนอกเข้ามาแลกเปลี่ยนประเด็นเพิ่มเติม
ความรู้จากเวทีเสวนาในวันนี้ช่วยให้ผู้อำนวยการทุกท่านที่เข้าร่วมได้เห็นกลยุทธ์และวิธีการการนำ PA ไปใช้จริงที่โรงเรียนโดยเริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจร่วมกับทีมครูและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนเพื่อต่อยอดการพัฒนาอย่างไม่มีสิ้นสุด
Related Courses
การประเมินการสอนของตนเอง
การประเมินการสอนของตนเอง เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพการสอน ผลการเรียนรู้ของนักเรียน และโรงเรียน เพราะ ...
5 เทคนิคเลคเชอร์ ให้จำได้ ทบทวนบทเรียนแบบง่ายๆ
อยากเกรด A ต้องทำยังไง? คอร์สนี้มีคำตอบกับ 5 เคล็ดลับ! สุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ยาวนาน ทบทวนสนุก สมองปลอดโปร่ง ...
ไม่ได้จบครูแต่อยากเป็นครูต้องทำอย่างไร
อาชีพครูถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ผู้มีใจรักการสอนหรือต้องการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญให้กับผู้เรียนแต่คุณครูบางท่านอาจเข้าไปทำงานใน ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
วัดและประเมินผลอย่างไร ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้แบบ Active learning เลือกเครื่องมือวัดผลอย่างไรให้หลากหลาย ตรงตามเ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
ต้องใช้ 100 เหรียญ