8 Checklist เพื่อการออกแบบการบ้านให้มีประสิทธิภาพ

Starfish Academy
Starfish Academy 4936 views • 1 ปีที่แล้ว
8 Checklist เพื่อการออกแบบการบ้านให้มีประสิทธิภาพ

ถึงแม้จะมีการศึกษาว่า การให้การบ้านจะส่งผลดีต่อนักเรียน แต่การให้การบ้านที่มากเกินไป จะทำให้นักเรียนเกิดความเครียดทั้งทางกายและจิตใจได้ ในบทความนี้ จะมาพูดถึงวิธีการให้การบ้านที่มีประสิทธิภาพต่อนักเรียนอย่างแท้จริงกันค่ะ

มาเริ่มกันที่ การให้การบ้านของคุณครูควรมีจุดประสงค์ให้ชัดเจน ดังนี้ 

เพื่อฝึกฝน (Practice) : เมื่อนักเรียนได้พัฒนาทักษะต่างๆ ในห้องเรียนแล้ว นักเรียนควรได้นำทักษะที่ได้จากในห้องเรียน ไปฝึกฝนและนำไปใช้จริงที่บ้านด้วย เช่น นักเรียนได้เรียนวิธีการบวกลบเลขในห้องเรียน และเมื่อนักเรียนกลับบ้านนักเรียนควรได้ฝึกวิธีการแก้โจทย์บวกลบเลขอย่างต่อเนื่อง โดยอาจจะใช้โจทย์จากสิ่งที่เห็นในบ้าน 

เพื่อเตรียมตัวก่อนบทเรียนถัดไป (Preparation) : การบ้านสามารถเป็นสิ่งที่นักเรียนต้องทำ เพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะเรียนในบทเรียนถัดไปได้ เช่น คุณครูให้นักเรียนไปอ่านบทเรียนล่วงหน้า เพื่อนำมาพูดคุยกันในชั้นเรียน

เพื่อศึกษาทบทวน (Study) : เป็นการให้การบ้านเพื่อทบทวนบทเรียนที่ผ่านมา เพื่อเตรียมตัวทดสอบท้ายบท 

เพื่อขยายและต่อยอดความรู้ (Extend or Elaborate) : หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเรื่องแนวคิดหลักการของบทเรียนแล้ว คุณครูอาจจะมอบหมายการบ้าน เพื่อให้นักเรียนขยายและต่อยอดความรู้จากเรื่องที่เรียน เช่น นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกาในห้องเรียน หลังจากนั้น คุณครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนลองออกแบบโปรเจกต์เกี่ยวกับประวัติศาสต์ของแต่ละรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาดู 

คุณครูสามารถลองนำทั้ง 4 จุดประสงค์นี้ไปปรับใช้ได้ในห้องเรียน ซึ่งนอกจากการเข้าใจจุดประสงค์ของการบ้านแล้ว การออกแบบการบ้านที่จะกระตุ้นให้นักเรียนอยากทำ ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน คุณครูอาจจะใช้วิธีการให้รางวัล หรือลงโทษ แต่ทั้งสองสิ่งนี้ ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาในระยะยาว เพราะการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง คือ การออกแบบการบ้านที่ช่วยให้นักเรียนรู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จ และเห็นการพัฒนาของตัวเองได้ 

วันนี้ Starfish นำ 8 Checklist มาให้คุณครู เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบการบ้านให้มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียน

Checklist 1 : การบ้านควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 

คุณครูจะต้องเข้าใจว่า ‘เราไม่ได้ให้การบ้าน เพื่อให้การบ้าน’ และไม่จำเป็นที่จะต้องให้การบ้านทุกวัน เพราะฉะนั้น คุณครูจะต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า ‘คุณครูให้การบ้านชิ้นนี้กับนักเรียน เพื่อให้เขาได้ฝึกฝนเรื่องอะไร?’ 

Checklist 2 : การบ้านควรออกแบบให้นักเรียนรู้สึกถึงความสำเร็จ

เมื่อไหร่ก็ตามที่นักเรียนรู้สึกสับสน และท้อแท้กับการทำการบ้าน เพราะไม่รู้ว่าจะต้องทำการบ้านอย่างไร หรือรู้สึกว่าการบ้านนั้นยากเกินไป ขอให้คุณครูหยุดงานชิ้นนั้นไว้ก่อน และให้บอกกับนักเรียนว่า ‘เรามาเริ่มกันใหม่ในครั้งถัดไป’ อย่าให้ความพยายามของนักเรียนและคุณครู เป็นเรื่องที่เสียเวลา

Checklist 3 : โฟกัสที่คุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณการบ้าน 

การบ้านจะมีประสิทธิภาพ เมื่อคุณครูโฟกัสที่คุณภาพของการบ้านมากกว่าจำนวนการบ้าน เรามักจะได้ยินว่า ‘การฝึกฝนจะช่วยให้เกิดความสมบูรณ์แบบ (Practice makes Perfect)’ แต่ถ้าฝึกฝนโดยที่ไม่เข้าใจแนวคิดหรือวิธีการจริงๆ ก็จะกลายเป็นการฝึกฝนที่ไร้ประโยชน์ได้ เพราะฉะนั้น ลองมาใช้คำใหม่กัน คือ การฝึกฝนที่ถูกต้อง จะช่วยให้เกิดความสมบูรณ์แบบ (Perfect Practice makes Perfect) เช่น ก่อนที่คุณครูจะให้นักเรียนทำการบ้าน คุณครูอาจจะให้เวลานักเรียนในการอธิบายสิ่งที่เข้าใจก่อนสักเล็กน้อย เพื่อตรวจสอบดูว่านักเรียนเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ก่อนที่จะให้นักเรียนจะลงมือทำจริง 

Checklist 4 : การบ้านควรทำหน้าที่ที่หลากหลาย 

หน้าที่แรก คือ ขยายและต่อยอดความรู้ให้นักเรียน เมื่อมีนักเรียนที่สามารถทำการบ้านทุกอย่างได้อย่างถูกต้อง คุณครูอาจจะมอบหมายการบ้านเพิ่มเติมให้เป็นงานเดี่ยว ในรูปแบบของโปรเจกต์ เพื่อให้นักเรียนได้ขยายขอบเขตความเข้าใจของตนเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง เช่น สอนเรื่องการใช้ spreadsheet หลังจากนั้นคุณครูอาจจะให้นักเรียนลองคิดคำนวณงบประมาณจากการใช้ spreadsheet เป็นต้น 

หน้าที่ที่สอง คือ เสริมพื้นฐานความรู้ให้แข็งแรง เช่น หากนักเรียนเพิ่งเรียนรู้ในเรื่องใหม่ คุณครูจะต้องให้การบ้านที่ช่วยเสริมองค์ความรู้พื้นฐานของนักเรียนให้แน่นเสียก่อน เช่น สอนเรื่อง part of speech (ประเภทของคำ) คุณครูอาจจะให้การบ้านให้นักเรียนไปหาตัวอย่างจากบทความ หรือข่าวที่นักเรียนสนใจมา เพื่อมาระบุประเภทของคำร่วมกัน 

หน้าที่ที่สาม คือ เตรียมความรู้ก่อนที่จะเรียนเรื่องถัดไป เช่น คุณครูอาจจะให้การบ้านนักเรียนไปหาชื่อสถานที่ที่นักเรียนเคยไปเที่ยวมา เพื่อในวันถัดไปคุณครูจะสอนเรื่องแผนที่ของแต่ละรัฐ เป็นต้น 

Checklist 5 : การบ้านควรเป็นสิ่งที่นักเรียนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง และตอบโจทย์รายบุคคล 

การบ้านที่ดี ควรเป็นการบ้านที่นักเรียนสามารถทำด้วยตัวเอง หรือได้รับการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และตอบโจทย์นักเรียนรายบุคคล เพราะถ้าการบ้านยากเกินไป นักเรียนอาจจะไปขอความช่วยเหลือจากคนอื่นให้มาทำแทนได้ เช่น เวลาให้การบ้าน คุณครูอาจจะออกแบบให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม แต่ต้องเหมาะสม เช่น การให้นักเรียนเขียนเรียงความ แล้วให้ผู้ปกครองให้ข้อเสนอแนะในงานเขียนของนักเรียน หรือการให้นักเรียนสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และเพื่อนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหลังจากนั้นเราจึงนำการบ้านมาพูดคุยกันต่อในห้องเรียน 

Checklist 6 : การบ้านต้องให้ความเป็นเจ้าของกับนักเรียน 

นักเรียนจะอยากทำการบ้านก็ต่อเมื่อนักเรียนรู้สึกเป็นเจ้าของในการบ้าน โดยที่ไม่ได้รู้สึกว่าถูกสั่งให้ทำ แล้วการบ้านแบบไหนที่นักเรียนจะรู้สึกเป็นเจ้าของ คือ 1. การบ้านที่สามารถเชื่อมโยงกับชีวิตของนักเรียนได้ 2. การบ้านที่ให้นักเรียนมีสิทธิในการเลือกหัวข้อที่จะทำ 3. การบ้านที่คุณครูให้อำนาจนักเรียนได้การออกแบบร่วมกัน และเข้ากับบริบทนักเรียนรายบุคคล 

Checklist 7 : ให้ฟีดแบ็กหลังจากให้การบ้าน

การให้ฟีดแบ็กเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อาจจะไม่ต้องเป็นทางการ เพราะบางครั้งการที่คุณครูเรียกนักเรียนไปให้ฟีดแบ็กแบบไม่เป็นทางการจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะนักเรียนต้องการโอกาสในการแลกเปลี่ยน และรับฟีดแบ็กจากงานที่ตัวเองทำ หรืออาจจะใช้วิธีการแลกเปลี่ยนคำตอบร่วมกับเพื่อนๆ ในกลุ่มเล็กก็ได้ 

Checklist 8 : รูปแบบการบ้านต้องเหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก

การบ้านที่ดี ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก เช่น ถ้าเป็นเด็กเล็กๆ อาจจะต้องประกอบด้วยตัวการ์ตูน และตัวหนังสือต้องใหญ่ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ การบ้านที่ดีจะต้องอยู่ในวิสัยที่นักเรียนฝึกฝน ทำได้เอง และดึงดูดความสนใจ 

เมื่อคุณครูรู้อย่างนี้แล้ว ก็ขอเชิญชวนให้คุณครูลองนำวิธีการนี้ไปปรับใช้ในการออกแบบการบ้านที่มีประสิทธิภาพกันค่ะ 

แปลและเรียบเรียงจาก

Williams. (2019). High-Quality Homework: How to assign the right amount, and the most effective formats of homework for the 2019-2022 school year. bit.ly/3v3EQGO

Blackburn. (2018). 8 Keys to effective homework. bit.ly/3v4VOV8

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2260 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
Starfish Future Labz

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

Starfish Future Labz
1441 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy

Related Videos

TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
05:59
Starfish Academy

TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม

Starfish Academy
220 views • 2 ปีที่แล้ว
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
4987 views • 2 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
59 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
285 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข