Play-based learning เรียนรู้ผ่านการเล่น วิธีพัฒนาตัวเองแบบไม่เครียด

Starfish Academy
Starfish Academy 4102 views • 1 ปีที่แล้ว
Play-based learning เรียนรู้ผ่านการเล่น วิธีพัฒนาตัวเองแบบไม่เครียด

ว่าด้วยเรื่องของการเล่น พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นเรื่องของเด็กเล็กๆ แต่ความจริงแล้วเด็กทุกวัย รวมทั้งวัยรุ่นก็ได้ประโยชน์จากการเล่นไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงโรคระบาดจากโควิด-19 เด็กๆ วัยเรียนหลายคนเผชิญกับภาวะการเรียนรู้ถดถอย ดังนั้น หากมีวิธีที่เด็กๆ เรียนรู้ได้อย่างสนุกเพลิดเพลิน ก็น่าจะช่วยกอบกู้ภาวะเรียนรู้ถดถอยได้เป็นอย่างดี

บทความนี้ Starfish Labz พาพ่อแม่ผู้ปกครองไปพบกัน Play-based Learning การเล่นที่ได้มากกว่าความสนุก ลองมาดูกันค่ะว่า เด็กๆ ได้ประโยชน์จาก Play-based Learning อย่างไรบ้าง

Play-based Learning คืออะไร?

คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองคงทราบดีอยู่แล้วว่า เด็กๆ เรียนรู้ผ่านการเล่น โดยระหว่างที่เด็กๆ กำลังเล่นนั้น พวกเขาลองผิดลองถูก ฝึกแก้ปัญหา ใช้จินตนาการ และเรียนรู้ทักษะต่างๆ ที่จำเป็นผ่านการเข้าสังคมตามธรรมชาติของเด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่น จึงเกิดเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เรียกว่า Play-based Learning

Play-based Learning คือการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมปลายเปิดที่สนุกสนานโดยสอดคล้องกับหัวข้อที่กำลังเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ผ่านการเล่นตามหลักการนั้นต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่

  • เลือกด้วยตนเอง : ผู้เรียนเลือกกิจกรรม วิธีการ และระยะเวลาที่จะทำด้วยตัวเอง ครูหรือผู้ปกครองอาจให้คำแนะนำเบื้องต้นได้ แต่ผู้เรียนจะกำหนดรายละเอียดที่เหลือเอง
  • สนุกเพลิดเพลิน : กิจกรรมที่ทำต้องก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ เด็กๆ อาจเกิดความสับสน หรือ มีข้อขัดแย้งกันระหว่างทำกิจกรรม แต่ภาพรวมกิจกรรมเป็นที่น่าพอใจของทุกคน
  • ไม่มีรูปแบบตายตัว : เด็กๆ มีเวลามากพอที่จะสำรวจและหาคำตอบสิ่งต่างๆ ที่สงสัยระหว่างการเล่น โดยใช้ความสนใจของตัวเองนำทาง ไม่ใช่กฏหรือแบบแผนที่ผู้ใหญ่วางไว้
  • เน้นกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ : ไม่มีเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง สิ่งสำคัญคือกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่น
  • ใช้จินตนาการ : การเล่นที่ดีมักมีส่วนผสมของความคิดสร้างสรรค์ การใช้จินตนาการ จำลองสถานการณ์ หรือเล่นบทบาทสมมติ 

กู้ความรู้ผ่านการเล่น

แม้ผลกระทบระยะยาวต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ จากวิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ปกครองและนักการศึกษาทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันก็คือ เด็กจำนวนมากเผชิญกับภาวะการเรียนรู้ถดถอย ที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือฟื้นฟูให้สมรรถนะการเรียนรู้กลับมาดังเดิม

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยออตโตวา ประเทศแคนาดา พบว่าการเรียนรู้ผ่านการเล่น ไม่ได้เพียงแค่ให้ความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพยายามเผชิญอุปสรรค หาวิธีแก้ปัญหา และเป็นโอกาสที่เด็กๆ จะได้ฝึกรับมือกับอารมณ์เชิงลบ เช่น ความเครียด ความสับสน การเปลี่ยนแปลง และความกังวล โดยเฉพาะในช่วงหลังการระบาดใหญ่ ที่เด็กส่วนใหญ่สูญเสียแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ บางคนมีปัญหาเรียนไม่ทัน การเรียนถดถอย การเรียนการสอนแบบ Play-based Learning จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างราบรื่น

การเรียนออนไลน์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องยากสำหรับนักเรียนจำนวนมากและสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อความเต็มใจที่จะเรียนรู้ของเด็กๆ หากผู้ปกครอง ครู นักการศึกษา สามารถจัดการเรียนการสอนให้สนุกสนาน นำวิธี Play-based Learning มาใช้ ก็น่าจะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศความตึงเครียด การขาดแรงบันดาลใจของเด็กๆ ให้กลับมามีชีวิตชีวา พร้อมที่จะเรียนรู้อีกครั้ง 

Play-based Learning นำมาใช้จริงได้อย่างไร 

แม้ว่าการเล่นจะดูเหมือนเป็นเรื่องของเด็กเล็กๆ เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เด็กโตหรือกระทั่งวัยรุ่น ก็สามารถนำการเล่นมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ได้ หากยังนึกไม่ออกว่า Play-based Learning สำหรับเด็กโตและวัยรุ่นควรเป็นอย่างไร Starfish Labz มีคำแนะนำมาฝากค่ะ

เมื่อพูดถึงการเรียนรู้ผ่านการเล่นสำหรับนักเรียนที่โตขึ้นมาหน่อย รูปแบบอาจแตกต่างไปจาก Play & Learn แบบเด็กเล็ก แต่หัวใจของวิธีการนี้ยังเหมือนกันนั่นคือ ความสนุกสนาน ดังนั้น เมื่อพูดถึง Play-based Learning สำหรับเด็กโต พ่อแม่ผู้ปกครองและคุณครู ควรเริ่มจากการอนุญาตให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกกับความรู้ การหาคำตอบของคำถามต่างๆ ในบทเรียน หรือกระทั่งการทดลองต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กๆ กำลังเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะ อาจให้พวกเขาเลือกวิธีการเรียนรู้ที่พวกเขารู้สึกสนุก บางคนอาจเลือกปั้นดินน้ำมันเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ บางคนอาจใช้วิธีอัดคลิปอธิบายตามความเข้าใจของตนเอง หรือหากกำลังเรียนเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง อาจให้นักเรียนจินตนาการถึงประเทศที่ไม่มีอยู่จริง แล้วออกแบบรูปแบบการปกครองขึ้นมาใหม่ เป็นการฝึกใช้จินตนาการเพื่อทำความเข้าใจโลกความเป็นจริง

Play-based Learning จะเกิดขึ้นจริงได้ เริ่มจากผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องก้าวออกจากกรอบว่าการเรียนรู้ไม่ได้มาจากการนั่งฟังครู หรือการเปิดหนังสืออ่านเท่านั้น แต่ยังมีวิธีสนุกสนานอีกมากที่หากนำมาประยุกต์ใช้ก็อาจได้ผลลัพธ์ดีอย่างคาดไม่ถึงก็เป็นได้

ปิดเทอมนี้ ลองหาหัวข้อที่เด็กๆ สนใจ หรือเรื่องที่คิดว่าลูกจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม มาใช้วิธี Play-based Learning เพื่อให้เด็กๆ รู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ ก็น่าจะช่วยกู้คืนความรู้และแรงบันดาลใจในการศึกษาเล่าเรียนให้กลับมาพร้อมสำหรับเปิดเทอมใหม่ได้อีกครั้ง 

แหล่งอ้างอิง (Sources):

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะการทํางานแบบมืออาชีพ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)

ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้ว่า การทำงานร่วมกันเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องทำงานกับผู้อื่น แล้วเมื่อต้องทำงานร่วมกันแล้วจะส่งเสริมใ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)
Starfish Academy

การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน

หลักสูตรสำหรับครูที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านกิจกรรมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน
Starfish Academy

การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน

Starfish Academy
เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

DIY กระถางต้นไม้ทำมือ

การปลูกต้นไม้ช่วยเพิ่มความร่มรื่น อีกทั้งยังใช้เป็นของตกแต่งบ้านได้อีกด้วย กระถางต้นไม้ก็เป็นส่วนสำคัญในการปลูกต้นไม้ มาฝึกทำกระ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
DIY กระถางต้นไม้ทำมือ
Starfish Academy

DIY กระถางต้นไม้ทำมือ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy

Related Videos

Tommy Teacher Volunteer
04:00
Starfish Academy

Tommy Teacher Volunteer

Starfish Academy
12931 views • 4 ปีที่แล้ว
Tommy Teacher Volunteer
การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach วิธีการสอนแบบโครงงาน
05:53
Starfish Academy

การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach วิธีการสอนแบบโครงงาน

Starfish Academy
18424 views • 4 ปีที่แล้ว
การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach วิธีการสอนแบบโครงงาน
Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
440 views • 1 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1
Young Life In Nature
07:22
Starfish Academy

Young Life In Nature

Starfish Academy
117 views • 3 ปีที่แล้ว
Young Life In Nature