งานเสวนา : โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”

Starfish Academy
Starfish Academy 873 views • 2 ปีที่แล้ว
งานเสวนา : โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”

ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19 ด้วยโรงเรียนพัฒนาตนเอง

จากสถานการณ์โควิด ส่งผลให้เกิด Learning Gap หรือ Learning Loss หรือที่เรียกว่า “การเรียนรู้ที่ถดถอย” คือการที่นักเรียนเรียนที่บ้านแล้วได้ผลไม่ดีเท่ากับเรียนที่โรงเรียน มีส่วนที่สูญเสียไป ซึ่งในความเป็นจริงการศึกษาไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจนทำให้เกิด GAP หรือช่องว่างเชิงระบบ แต่เป็น Gap ที่ในหลายส่วนไม่คาดคิดว่าจะเป็นช่องว่างที่ทำให้เด็กไม่บรรลุการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้ จะเป็นการระดมความคิดหาวิธีหรือแนวทางปิด GAP ที่เรื้อรังมานานหลาย 10 ปีได้อย่างไร เพื่อที่จะให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้มีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และจากช่องว่างของการเรียนรู้ พบว่ามีช่องว่าง (GAP) ที่สำคัญ ดังนี้ 

ประการแรก คือ ช่องว่างระหว่างนักเรียนต่างกลุ่ม ด้วยนักเรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน ถ้าไม่ระวังเด็กที่บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้จะมีเพียงจำนวนหนึ่งมากน้อยแล้วแต่กรณี แต่จะมีเด็กจำนวนหนึ่งที่ไม่บรรลุและไม่ได้รับการดูแล จึงทำให้เกิดช่องว่างที่เราจะต้องปิด GAP ซึ่งเป้าหมายก็คือ นักเรียนทุกคนอย่างน้อยต้องได้บรรลุผลลัพธ์ (Learning Outcome) ขั้นต่ำ นี่คือหัวใจสำคัญ ที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนความเชื่อและเปลี่ยนตัวระบบด้วย 

ประการที่สอง คือ ช่องว่างระหว่างโรงเรียน ซึ่งพบว่า โรงเรียนในเมืองมีคุณภาพสูงกว่าโรงเรียนในชนบท โรงเรียนยิ่งห่างไกล ยิ่งคุณภาพต่ำ ส่งผลให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมและความด้อยโอกาสแก่โรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ดังนั้น การศึกษาต้องทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาที่เต็มศักยภาพและเกิดประโยชน์กับเด็ก 100 เปอร์เซนต์ ไม่ว่าเด็กจะอยู่ในฐานะที่ดี โรงเรียนที่ดีก็ยังมีโอกาสในการยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เป็นไปได้ ถ้าหากจัดการศึกษา จัดกระบวนการเรียนรู้ในแบบสมัยใหม่ตามความแตกต่างของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ High Expectation, High Support Teach Less, Learn More Competency-Based Learning Inquiry-Based Learning และ Active Learning ก็จะสามารถที่จะทำให้เด็กเรียนรู้เต็มศักยภาพได้ดียิ่งขึ้น เชื่อว่ากลุ่มโรงเรียนพัฒนาตนเองได้ทำหน้าที่เป็นอย่างดี เป็นแนวทางให้ได้รับทราบในวงกว้างของโรงเรียนและครูในพื้นที่ห่างไกล 

การเรียนรู้ที่เกิดพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพนั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าครูไม่เรียนรู้จากการทำหน้าที่ครู ซึ่งกระบวนการศึกษาถือว่าเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมาก ทั้งในมุมของเด็กหรือผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้น ครูต้องเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครู โดยการเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติ PLC เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน และพัฒนาการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพยิ่งขึ้น

ประการที่สาม คือ GAP ระหว่างครูกับครู และครูกับนักเรียน ซึ่ง GAP นั้นเติมเต็มด้วยความเป็นกัลยาณมิตร ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดี ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนดี ย่อมส่งผลดีในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์ พฤติกรรมเชิงบวก ในขณะเดียวกันความเป็นกลัยาณมิตรระหว่างครูกับครู การทำงานร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน หัวใจสำคัญ คือ ครูต้องเป็นนักเรียน เรียนจากการทำงานในหน้าที่ครูแต่เป็นการเรียนร่วมกันในกลุ่มครู นั่นก็คือ จิตวิญญาณของ PLC เท่ากับว่า โรงเรียนเป็นชุมชนเรียนรู้ (Learning Community) ทั้งของครูและของศิษย์

ประการที่สี่ คือ GAP ของครูกับผู้บริหาร ผู้บริหารในที่นี้ หมายถึง ผู้บริหารในโรงเรียน ผู้บริหารเขตพื้นที่ฯ และผู้บริหารสพฐ. หรือต้นสังกัดอื่น GAP ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการใช้ปฏิสัมพันธ์แบบแนวดิ่ง เชิงอำนาจ หรือแบบนายกับลูกน้อง ซึ่งเป็นตัวบั่นทอนคุณภาพการศึกษา และจากผลการวิจัยของนักการศึกษาทั่วโลก ชี้ให้เห็นว่า ท่านจะสร้างเงื่อนไข กติกา ข้อบังคับ ออกหลักสูตรให้ดีอย่างไรก็ตาม แต่ครูไม่เป็นผู้ก่อการ (Agentic teacher) ย่อมทำให้ระบบการศึกษาไม่มีวันที่จะมีคุณภาพได้ เพราะฉะนั้น ความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้บริหารและครู เน้นปฏิสัมพันธ์เป็นแนวราบ ผู้บริหารต้อง Empower ครูไม่ใช่การสั่งการ เพื่อให้ครูมีพลังร่วมกันทำงานพัฒนาทั้งระดับ Micro- (ในห้องเรียน), Meso- (ในโรงเรียน), และ Macro-level (ในพื้นที่การศึกษา) นั่นหมายความว่า ครูต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการศึกษาไม่ใช่แค่ผู้รอรับคำสั่งเท่านั้น ทั้งนี้ ทาง กสศ.ได้มีการนำ Development Evaluation (DE) มาเป็นเครื่องมือในโครงการ TSQP หรือโรงเรียนพัฒนาตนเอง เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายสามารถนำเอาเครื่องมือไปใช้ได้ เครื่องมือนี้มีพลังหลายด้าน เครื่องมือนี้จะทำให้ Stakeholder (ผู้ปกครอง ผู้นำในท้องถิ่น ฯลฯ) ของโรงเรียนเข้ามาหนุนพลังและทำงานร่วมกันในการพัฒนาโรงเรียนอีกด้วย

ประการที่ห้า คือ GAP ระหว่างต้นสังกัด โรงเรียนและครู ร่วมกันสร้างสรรค์สัมพันธ์แนวราบในระบบการศึกษา เพื่อให้คนในระบบเป็น Agentic Person เป็นผู้ลุกขึ้นมากระทำการภายใต้ความสัมพันธ์ที่เป็นแนวราบ ในลักษณะความสัมพันธ์แบบ Peer Interaction ไม่ใช่สายการบังคับบัญชา แต่เป็นการแบ่งปันผลงาน วิธีการ ข้อเรียนรู้ จากการปฏิบัติตีความสู่กรอบแนวทางในการสร้างผลงาน ซึ่งเป็นแนวทางและพลังในการปิด GAP ให้ลดน้อยลง ซึ่งจะทำให้ระบบการศึกษาเป็นระบบที่เรียนรู้และปรับตัว ก่อให้เกิดการเรียนรู้เป็นระบบ (System learning) ที่เอื้อต่อระบบนิเวศให้เกิดครูผู้ก่อการ (Agentic teachers) 

สรุปว่า Gap นั้นมีมากและเกิดขึ้นจากวิวัฒนาการของการศึกษาที่ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย ถ้าเราตระหนัก เราจะค้นพบแนวทาง วิธีการ คุณค่าใหม่ๆ ที่เราสามารถทำร่วมกันได้ด้วยหลักการของวงจร “เป้าหมาย ปฏิบัติ สะท้อนคิด ปรับปรุง” ที่ดำเนินต่อเนื่อง จนเกิด Impact ที่ประจักษ์ชัด ด้วยพลัง “ผู้ก่อการ” (Agency) ในระดับปฏิบัติร่วมกับระดับนโยบายและระดับจัดการระบบภายใต้ปฏิสัมพันธ์แนวราบ สู่การสื่อสารและเรียนรู้จากความสำเร็จเล็กๆ ที่เกิดขึ้น ประกอบกันเป็นพลัง Transformer ที่ยิ่งใหญ่ได้

ศ.นพ.วิจารณ์ พาณิชย์ ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการพัฒนาครู

และโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8885 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6345 ผู้เรียน
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
Starfish Academy

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
746 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
477 views • 1 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
285 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
59 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]