PLC Leader ครั้งที่ 2 (ห้องที่ 1) การนิเทศเพื่อการพัฒนาสมรรถนะครูให้ยั่งยืน

Starfish Academy
Starfish Academy 2667 views • 2 ปีที่แล้ว
PLC Leader ครั้งที่ 2 (ห้องที่ 1) การนิเทศเพื่อการพัฒนาสมรรถนะครูให้ยั่งยืน

สำหรับการพูดคุยในหัวข้อ “การนิเทศเพื่อการพัฒนาสมรรถนะครูให้ยั่งยืน” ในครั้งนี้ จะอยู่ในรูปแบบบรรยากาศของการพูดคุย แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ที่ได้รับจากการนิเทศหรือประสบการณ์ที่ใช้ในการนิเทศ ทั้งจากผู้อำนวย ศึกษานิเทศก์และครู ส่วนใหญ่จะมองในมุมที่ว่า การนิเทศเป็นลักษณะของกัลยาณมิตร เป็นการนิเทศโดยตั้งคณะกรรมการและการตรวจเยี่ยมชั้นเรียน 

ทั้งนี้ ในส่วนของการนิเทศความคาดหวัง หรือลักษณะของการนิเทศที่อยากจะให้เกิดมีลักษณะเป็นอย่างไร หรือความคาดหวังของท่านผู้อำนวยการ อยากจะมีการนิเทศภายในโรงเรียนในลักษณะใด และในทัศนคติของผู้อำนวยการ ศึกษานิเทศก์และครู การนิเทศแบบไหนถึงจะเป็นลักษณะของการนิเทศเพื่อการพัฒนาสมรรถนะครูให้ยั่งยืน

ผอ.ประทิน – จริงๆ แล้ว การนิเทศที่เราได้เรียนรู้และปฏิบัติมา โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนต้องมีบทบาทหน้าที่ที่จะต้องคอยส่งเสริมครูและเป็นผู้ร่วมพัฒนาแบบคู่ขนานร่วมกัน ความคิดส่วนตัว คิดว่า การนิเทศโดยเฉพาะผู้บริหาร ความใส่ใจต่อครูตั้งแต่เริ่มต้นในการวางแผน เช่น สพฐ.ให้ครูได้ทำ PA ถือว่าเป็นโอกาสที่ผู้อำนวยการจะได้พูดคุยเรื่องของเป้าหมายของครูใน PA ว่าจะพัฒนาตนเองในเรื่องของวิชาชีพครูและการพัฒนาสู่นักเรียนได้อย่างไร และมีเป้าหมายครอบคลุมมาตรฐานของตนเองอย่างไร เพราะว่าครูแต่ละท่าน แต่ละวิชาเอกก็จะมีความแตกต่างกันในเป้าหมายของการพัฒนา เนื่องจากเชื่อมโยงเกี่ยวกับวิทยฐานะด้วย ดังนั้นแล้วการนิเทศก็จะควบคู่ไปกับการปรับปรุง พัฒนา และการทำงานร่วมกันระหว่างครูและผู้บริหารอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้

ผอ.วิทยา – การนิเทศ เป็นการสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ของครูผู้สอน เนื่องจากเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะแบบใหม่ในรูปแบบ PA ถ้าผู้บริหารมีบทบาทในการนิเทศมากขึ้นและต่อเนื่อง จะช่วยยกระดับและสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพของครู อีกทั้งยังสะท้อนไปถึงตัวนักเรียนนำไปสู่ห้องเรียนคุณภาพและโรงเรียนคุณภาพอีกด้วย

ครูอัษฎาวุธ – อยากให้เกิดขึ้นในลักษณะการนิเทศเชิงประจักษ์ โดยการให้ผู้อำนวยการเยี่ยมชั้นเรียนมากกว่าการตรวจจากเอกสารเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อครูผู้สอนและนักเรียนมากที่สุด

ครูพรพิมล – อยากให้ผู้อำนวยการมีการประเมินแบบเชิงประจักษ์ มีการเยี่ยมชั้นเรียน เพื่อช่วยในการแนะแนวทาง แนวคิดในการสอนของครู

สรุปได้ว่า ในส่วนของผู้อำนวยการ มองว่า การนิเทศจะเป็นในลักษณะของการส่งเสริม สนับสนุน สำหรับมุมมองของครู มองว่าในการพัฒนาสมรรถนะของครูอยากให้ผู้อำนวยการลงสู่ห้องเรียน แนะนำแนวทางให้กับครู ทั้งนี้ บทบาทหน้าที่ก็เป็นส่วนหนึ่งในการนิเทศ ฉะนั้น เราควรจะมีบทบาทอย่างไร

ผอ.สุพิศ – คิดว่าบทบาทของผู้บริหารในการนิเทศมีความสำคัญอย่างมาก เพราะผู้บริหารอยู่ใกล้ชิดกับครู ฉะนั้น การนิเทศเป็นหน้าที่สำคัญของผู้บริหารโรงเรียน ที่จะต้องลงไปนิเทศ กำกับ ติดตามการทำงานของคณะครู ในลักษณะของการให้ขวัญกำลังใจและมีความเป็นกัลยาณมิตร ซึ่งอาจจะทำในรูปแบบของการ PLC ได้ 

ข้อด้อยของการนิเทศในโรงเรียนเท่าที่พบ คือ ขาดความเป็นระบบ ไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้การนิเทศมีประสิทธิภาพน้อย ทั้งนี้ โรงเรียนมีความต้องการศึกษานิเทศก์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาช่วยเหลือโรงเรียนแบบต่อเนื่องไม่ใช่มาเพื่อตรวจเยี่ยมเพียงอย่างเดียว

ผอ.วชิรวิทย์ – การนิเทศถือว่าเป็นหัวใจอย่างหนึ่งของงานวิชาการที่เราต้องดำเนินการ สำหรับบทบาทของผู้บริหารต้องร่วมกันวางแผน และมองเป้าหมายที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน และสนับสนุน ส่งเสริมครูในทุกๆ ด้าน แต่สิ่งที่สำคัญต้องมีการพูดคุยและวางเป้าหมายที่เป็นแนวทางเดียวกันกับครู และค่าเป้าหมายที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ ฉะนั้น ในการนิเทศครูในชั้นเรียนจะต้องมีการสอดแทรกการจัดการเรียนการสอนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และทำการแนะนำครูถึงวิธีการสอนต่างๆ 

สำหรับครูที่เสนอแนะ อยากให้ผู้อำนวยการเข้าประเมินแบบจริงจัง อยากสะท้อนตรงจุดนี้ว่า บางครั้งผู้อำนวยการคนเดียว ครูหลายคนอาจจะไม่สามารถทำได้ เนื่องด้วยภาระงานที่หลากหลาย และกรณีที่ผู้อำนวยการไปนั่งสังเกตการสอนของครู อาจทำให้ครูเกรง ทั้งนี้ โดยส่วนตัวใช้วิธีอัดคลิปวิดีโอ เพื่อเป็นการฝึกในส่วนของการทำ PA สิ่งสำคัญที่จะได้คำตอบจากการนิเทศ คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้รับบริการนั่นเอง โดยจะใช้วิธีการสอบถามจากนักเรียน ผู้ปกครองถึงพัฒนาการของนักเรียน

ครูอุไรวรรณ – บทบาทของครูในโรงเรียนจะเป็นลักษณะผู้ตาม เพราะฉะนั้นในเรื่องของการนิเทศ ผู้อำนวยการจะเป็นผู้แนะนำให้กับครูถึงการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น การนิเทศที่ยั่งยืนของครูในโรงเรียน คือ ครูปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับ กรณีมีข้อสงสัยผู้อำนวยการจะแนะนำให้ทุกด้าน และการนิเทศของโรงเรียนจะทำการ PLC ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการประชุมร่วมกัน การนิเทศออนไลน์ ดังนั้น โรงเรียนจึงไม่พบปัญหาในการนิเทศ และประสบผลสำเร็จโดยการนำของผู้อำนวยการ

ผอ.ประทิน – ตอนนี้มุ่งประเด็นไปที่ผู้อำนวยการเป็นผู้นิเทศ จริงๆ แล้ว ลักษณะของการนิเทศของผู้อำนวยการแบบท่านผอ.วชิรวิทย์กล่าวมา ในส่วนของผู้อำนวยการบางที่ก็ไม่มีเวลา อีกอย่างครูจะเกิดการเกรง ไม่มีธรรมชาติของการสอน ดังนั้น ในส่วนของโรงเรียนจะใช้คู่ขนานในส่วนของครูผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครูหัวหน้าช่วงชั้น และครูอีกท่านหนึ่ง หรือที่เรียกว่า เพื่อนคู่คิดในระดับชั้นของตนเอง ที่สามารถพูดคุยได้ ดังนั้น การนิเทศที่จะให้ยั่งยืน ต้องมีการวางทีมนิเทศไม่ใช่ขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการ แต่ให้ยึดผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครูหัวหน้าช่วงชั้น และครูนิเทศก์ ซึ่งอาจจะกำหนดจำนวนทีมนิเทศว่ามีกี่คนในการดำเนินการนิเทศของแต่ละโรงเรียนต่อไป

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8565 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

การทดสอบเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากน้อยแค่ไหน และการสอบนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม
Starfish Academy

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6211 ผู้เรียน

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
744 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
15:04
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก

Starfish Academy
562 views • 1 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
275 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
56 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]