กิจกรรม Online PLC Leader ครั้งที่ 1 โครงการ สนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564

กิจกรรม Online PLC Leader ครั้งที่ 1 โครงการ สนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564

ผู้นำและการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม

กิจกรรม Online PLC Leader ครั้งที่ 1 เป็นโครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเองรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 หรือกิจกรรม TSQP ซึ่งเป็นกิจกรรม PLC ที่ผู้บริหารทั้งหมด 91 โรงเรียนในเครือข่ายร่วมพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของระดับผู้บริหาร เพื่อให้สามารถนำไปปรับหรือประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้ ในหัวข้อ“ผู้นำและการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม” โดย ดร.ศุภโชค ปิยะสันติ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี จังหวัดเชียงราย ทั้งนี้ ในการร่วมแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ได้มีการนำเสนอคลิปวิดีโอแนะนำโรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี เพื่อเป็นการอภิปราย ตั้งข้อสังเกตและต่อยอดพื้นฐานด้านอาชีพแก่ผู้เรียนและการเตรียมผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป

ความคิดเห็นของ ศน.ขนิษฐา ศรีศักดา หลังจากการดูคลิปวิดีโอ คำว่า “โรงเรียนห้วยไร่สามัคคี รีสอร์ทแห่งการเรียนรู้” เป็นคำพูดที่ให้ความรู้สึกว่าการทำงานวิชาการเป็นเรื่องสนุก และเป็นความสดชื่นได้เพียงแค่เราเปลี่ยนประเด็นคำพูดให้ดูน่าฟังและน่าเรียนรู้ ถือว่าเป็นเทคนิคอีกหนึ่งอย่าง และจากมุมมองของผอ.ศุภโชคที่ว่า “การที่จะให้เด็กจบ 4.00 แต่ทำอะไรไม่เป็นเลย” คิดว่า ผอ.คงมีแนวทางที่จะสนับสนุนให้เด็กเกิดอาชีพได้หลังจบการศึกษา

ผอ. ได้มีส่วนในการส่งเสริม เพิ่มเติมอย่างไร

เปิดประเด็นที่ว่า หน้าป้ายโรงเรียนไม่เหมือนที่อื่น ป้ายที่โรงเรียนจะเขียนว่า “รีสอร์ทแห่งการเรียนรู้” ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นการโฆษณาอย่างหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วถ้ามองในเชิงบริหารถือว่าเป็นการสื่อสารองค์กรที่ดี คำว่า “รีสอร์ทแห่งการเรียนรู้” เป็นแนวคิดหนึ่งที่อยากจะสื่อสารไปยังนักเรียนแต่ละรุ่น ครูแต่ละชุด เพราะว่า 10 กว่าปีที่อยู่มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรเยอะมาก จึงหาคำที่จะบอกให้คนที่มาทีหลังเข้าใจและรู้สึกได้ถึงความสบาย ต้นไม้ ความชุ่มฉ่ำ สะอาด ปลอดภัย น่าอยู่ ซึ่งเป็น Hidden Agenda ในใจว่าจะต้องขึ้นป้ายแบบนี้ ทั้งนี้ อยากจะเพิ่มเติมในส่วนของการทำ Master plan โรงเรียน ว่าด้วยการจัด Landscape ของโรงเรียน สภาพโรงเรียนที่ดูแลยาก หรือการวางสถานที่กระจัดกระจาย เวลาคนที่มาดำเนินการต่อก็รู้สึกลำบากใจในการปรับปรุง ซ่อมแซม อยากตั้งข้อสังเกตุกับผู้อำนวยการทุกท่านว่า ก่อนจะสร้างอะไรขอให้พิจารณา คิดทบทวนถึงการจัดวางที่ดีและเป็นสัดส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ

ท่านเห็นจุดแข็งอะไร จากการดูคลิป VDO (ขอคำจำกัดความ 3 คำ จากผู้อำนวยการที่ร่วมรับฟัง)

กาแฟ อาชีพ ทำด้วยตนเอง, ใช้ได้จริง, มืออาชีพ, เรียนรู้จริง, สุดยอดมาก, เรียนรู้ลึก, ผู้นำดี, สวย หอม หวาน, ยอดเยี่ยมมาก, จุดประกาย, วิสัยทัศน์การบริหาร, เก่ง ดี มีสุข, แนวคิดดี ฯลฯ ถือได้ว่า ท่านผอ.ศุภโชค ทำให้เด็กได้เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมประสบการณ์ด้านทักษะอาชีพ ซึ่งสามารถใช้ได้จริง อย่างที่ผอ.พูดว่า “ถ้าเด็กได้ 4.00 แต่ไม่ได้ไปเรียนต่อ เขาต้องไปประกอบอาชีพ แต่ถ้าเขาไม่มีความรู้ ความสามารถด้านอาชีพเลย เขาก็ไปยาก” ซึ่งผอ.สามารถต่อยอดให้เด็กได้อย่างดีเยี่ยม

การสะท้อนผลจากผู้อำนวยการท่านอื่นๆ 

จากการทำกิจกรรมร้านกาแฟทำในเด็กระดับชั้นมัธยมใช่หรือไม่ และเรื่องงบประมาณเป็นเงินของเด็กเองหรือเป็นในส่วนของงบประมาณโรงเรียน - ผอ.มุกดา

เป็นการทำกิจกรรมในเด็กระดับชั้นมัธยม ซึ่งโรงเรียนเริ่มงานอาชีพโดยการจัดทำโปรแกรมการเรียนในหลักสูตร ถ้าเป็นโรงเรียนสายสามัญ หรือแม้แต่โรงเรียนขยายโอกาส จะมีแผนการเรียนสายวิทย์ สายศิลป์ แต่โดยบริบทพื้นที่ เด็กที่นี่เรียนแล้วไม่อยากเรียนต่อ วิชาเพิ่มเติม (เคมี ฟิสิกส์) ก็ไม่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ กล่าวคือ โอกาสเรียนต่อต่ำมาก ดังนั้น จึงนำเอารายวิชาเหล่านี้ออก และจัดทำรายวิชาขึ้นมาใหม่ กรณีระดับชั้นม.ปลาย จะเป็นแผนการเรียนสายอาหารและโภชนาการ มีรายวิชาอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งกาแฟก็เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชานี้ หลังจากนั้นทางโรงเรียนได้อัพเกรดเป็นระดับ ปวช. ในสายนี้ สำหรับระดับชั้นม.ต้น ได้มีการปูพื้นตั้งแต่ชั้น ม.1 ให้ได้ทดลองเรียน โดย ม.1 เป็นวิชาเกษตร ม.2 เรียนกลุ่มอาหาร และม.3 เรียนงานช่าง งานประดิษฐ์ หลังจากขยับชั้นเป็น ม.ปลาย เขาก็จะเลือกแผนการเรียนได้ถูก 

สำหรับการตั้งร้านกาแฟ โรงเรียนได้ทำการเปิดธุรกิจจำลองเพื่อการเรียนการสอน ซึ่งร้านกาแฟเป็นหนึ่งธุรกิจจำลองของเด็ก นอกจากนั้น ยังมีร้านต้นไม้ “ม่อนไม้งาม” “ร้านชิชิฟาร์ม” สำหรับเด็กแผนเกษตร โดยมีแนวคิดหลัก คือ การทำให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้ตลอดแนว ตั้งแต่การวางแผน คิดหาวัสดุในการสร้าง Product ใช้ Project base learning เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการนี้ และเด็กก็จะคิดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เรื่อยๆ ทำแบรนด์ดิ่ง ทำการตลาดพัฒนาสู่ท้องตลาดแบบ E-commerce ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในโรงเรียน โดยเฉพาะในระดับชั้นม.ปลายยิ่งเห็นผลได้ชัดมากขึ้น ทั้งนี้ ในการสร้างธุรกิจอาจจะต้องเริ่มให้เด็กก่อน ให้การสนับสนุนเครื่องมือ และให้ How to ในการฝึกกับเด็ก หลังจากฝึกได้สักพัก ครูทำการรวมกลุ่มนักเรียนในการสร้างบริษัท และให้เด็กได้ฝึกจดทะเบียนที่พาณิชย์จังหวัด ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการให้อาชีพกับเด็ก เนื่องจากว่าโรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษาสุดท้ายของเด็กหลายคน พอเด็กรวมกลุ่มกันได้จะมีกองทุนกู้ยืม โดยให้เด็กๆ ยืมเงินลงทุนจากกองทุนของโรงเรียน ถ้าเด็กสามารถประกอบธุรกิจ มีกำไรก็นำเงินทุนมาคืนและนำกำไรไปจัดสรรแบ่งปัน ถ้าหากขาดทุนก็จะให้ทำความดีบ้าง ปลูกต้นไม้บ้าง ทำฝายแม้วบ้าง เพื่อชดเชยเงินที่ยืมไป แต่ส่วนใหญ่ที่ทำก็มีกำไรดีทุกกลุ่ม

ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะในการจัดทำบัญชี เพื่อให้สามารถบริหารจัดการงานโครงการทั้งหมด เพื่อก่อให้เกิดสมรรถนะในวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาเศรษฐศาสตร์ บัญชี และการประชาสัมพันธ์สินค้าได้

ในฐานะผู้บริหารอยากให้คำแนะนำ โรงเรียนของท่านผอ.ศุภโชค (บ้านห้วยไร่สามัคคี) อย่างไร

เป็นวิทยากรให้แนวคิดขยายเครือข่าย, อยากเสนอแนะตั้งแต่การเริ่มต้นปลูกกาแฟอาจเริ่มตั้งแต่ขั้นเล็กๆ และขยายผลไปยังโรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นๆ , อยากให้โรงเรียนท่านผอ. สร้างเครือข่ายให้ความรู้กับโรงเรียนในโครงการ TSQP, อยากให้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับหลักสูตร, ผลิตสินค้าที่สามารถขายออนไลน์ได้เพื่อให้เด็กมีรายได้ระหว่างเรียน, ทำเป็นหลักสูตรวิชาเลือกหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, ถอดบทเรียนการบริหารงานแก่ผู้บริหารรุ่นต่อๆไป

สำหรับระดับชั้นประถมมีการสอนอาชีพหรือไม่ อย่างไร

โรงเรียนมีการวางพื้นฐานอาชีพตั้งแต่ปฐมวัยผ่านโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งตอนนี้กำลังสร้างแปลงปลูกผักให้ได้ทดลองและทำการผลิตปุ๋ยไส้เดือน ซึ่งเนื้อหาบทเรียนส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับชีววิทยา ทั้งนี้ ได้สร้างห้อง Learning Lab เป็นการรวมห้องวิทย์ ห้องคอม และห้องสมุดเข้าด้วยกัน ส่งผลให้การทดลองต่างๆ ประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป็นการวางฐานอาชึพตั้งแต่ระดับประถม ส่วนระดับชั้นมัธยมได้มีแผนการเรียนเกษตรที่เรียนรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืช การปลูก การเก็บผลผลิต ซึ่งกาแฟเป็นพืชชนิดหนึ่งที่เด็กต้องเรียน และมีต้นกล้ากาแฟที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการต่อยอดให้มีความเหมาะสมในแต่ละระดับชั้น

ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร และเป็นผู้นำทางด้านวิชาการ ได้มีการนำแนวคิดมาใช้กับการทำ ว.PA อย่างไร

เนื่องจากโรงเรียนเป็น 1 ใน 15 โรงเรียนที่ได้ทดลองใช้เกณฑ์ ว.PA ของ กคศ. จุดเน้นของ ว.PA อยู่ที่ต้องการขับเคลื่อนโรงเรียน ห้องเรียน และการเรียนรู้ของผู้เรียน ว.PA คือ ว.แห่งความเสมอภาค เนื่องจากทุกตำแหน่งไม่ว่าจะมีวิทยฐานะใดก็ตาม ต้องเข้าสู่ระบบการประเมิน ภาพรวมของการ PA กับครูจะทำทั้งหมดอยู่ 3 ช่วง ถ้าครูทั่วไปที่ไม่มีคุณสมบัติจะทำการประเมิน 3 PA และครูก็จะยกระดับตนเองได้ วิธีการยกระดับของครูขึ้นได้ จะต้องถ่ายคลิปวิดีโอในห้องเรียน ทั้งนี้ ว.PA ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทาย สำหรับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะมีอยู่ 3 ด้าน คือ 

ด้านที่ 1 ทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 

ด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการ 

และที่สำคัญคือ ถือเป็นโอกาสทองของผู้อำนวยการที่อยากให้ครูทำอะไรก็เขียนสัญญาใน ว.PA และพิจารณาถึงความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนการเรียนรู้หรือไม่ ใน PA มีหลายจุดที่ทำให้ต้องหันกลับมาดูถึงมิติของการจัดการเรียนรู้และความเป็นผู้นำทางวิชาการ หลายจุดที่ชี้นำและเน้นย้ำในเรื่องของการเรียนรู้ สิ่งที่ผอ.ต้องทำ คือการปรับ Mind set สู่ห้องเรียน ดูให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในห้องเรียน นี่คือหลักของ ว.PA

สำหรับการประเมิน ว.PA ซึ่งในเกณฑ์ PA ไม่ได้บอกไว้ เพียงแต่จะบอกกล่าวกับผู้บริหาร อาจจะดำเนินโดยการสรรหาผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาดูครูที่ห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ ภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการลดเอกสาร แฟ้ม หรือการจัดนิทรรศการก็สามารถประเมินได้ และสิ่งสำคัญที่ครูจะเขียน PA ได้ดี ผอ.ต้องแชร์ แลกเปลี่ยน พูดคุย ศึกษาร่วมกันกับครู เกี่ยวกับบริบท วิสัยทัศน์ และแผนพัฒนาคุณภาพฯ จุดเน้นของโรงเรียน แผนปฏิบัติการประจำปี SAR ปัญหาด้านการเรียนการสอน ด้านผู้ปกครอง ด้านคุณภาพผู้เรียน ฯลฯ เพื่อที่จะให้เห็นเป้าหมายปลายทางร่วมกันอย่างชัดเจน

ในฐานะที่ผอ. เป็นผู้บริหาร จะต้องทำงานกับหลายฝ่าย สำหรับปัญหาที่พบเจอมีวิธีในการข้ามผ่านอย่างไร

ถ้าพูดถึงแรงเสียดทานก็มีหลายส่วน บางพื้นที่ก็มีข้อจำกัดเชิงทรัพยากร เชิงกายภาพก็เป็นเรื่องที่ประสบปัญหา แต่สิ่งที่สำคัญกว่าเรื่องกายภาพ คือ เรื่อง Mind set ของครูและชุมชนที่จะต้องมีการปรับใหม่ ที่ต้องใช้เวลาและค่อยๆ พิสูจน์ ซึ่งจากการค้นพบ การปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงไม่ได้เกิดขึ้นที่กระทรวง เพราะจุดเกิดเหตุอยู่ที่โรงเรียนและห้องเรียน และคนที่เปลี่ยนคุณภาพการศึกษาไม่ใช่รัฐมนตรี แต่เป็นครูที่สอนอยู่ในห้องทุกห้องเรียน โดยเฉพาะ Mind set ของครูในการจัดการเรียนการสอน การช่วยให้ครูเปลี่ยนวิธีการสอนแบบ Passive learning เป็น Active learning หรือการให้ครูดูคลิปวิดีโอสั้นๆ 3-5 นาที แล้วทำการ feedback ร่วมกัน ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยให้ครูมี Mind set ที่ดีขึ้นและช่วยลดปัญหาต่างๆ ได้ ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร มีหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการศึกษา ต้องปรับที่ครู ที่โรงเรียน ถึงจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้

สุดท้ายนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ในการทำงานของท่านผอ.ศุภโชคในครั้งนี้ ตลอดจนการชี้แนะแนวทางต่างๆ จากผู้บริหารหลายท่าน ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีในการแบ่งปันให้กับท่านอื่นๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานและเป็นประสบการณ์ที่ดีในการเรียนรู้ต่อไป

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5389 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8885 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6345 ผู้เรียน

Related Videos

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
10:22
Starfish Academy

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1015 views • 1 ปีที่แล้ว
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
Learning Loss - การภาวะความถดถอยในการเรียนรู้
10:11
Starfish Academy

Learning Loss - การภาวะความถดถอยในการเรียนรู้

Starfish Academy
1239 views • 1 ปีที่แล้ว
Learning Loss - การภาวะความถดถอยในการเรียนรู้
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
746 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
477 views • 1 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)