ชวนคนช่างคุย ลุยทำ Podcast

Starfish Academy
Starfish Academy 3247 views • 2 ปีที่แล้ว
ชวนคนช่างคุย ลุยทำ Podcast

ว่ากันว่าใครพูดเก่ง คารมดี มักจะได้เปรียบในการเข้าสังคม หาเพื่อน และสร้างคอนเนคชั่น แต่ว่าไปแล้ว นอกจากคนพูดเก่ง ช่างคุย จะมีแต่คนอยากคุยด้วยแล้ว เรายังอาจใช้ทักษะนี้ให้ความรู้พร้อมกับสร้างรายได้จากการทำ Podcast ได้ด้วยนะ

ทำ Podcast ต้องมีทักษะอะไรบ้าง? 

Podcast ก็เหมือน Youtube ที่มีแต่เสียง เป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้ออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยม เพราะทำได้ง่าย อาศัยอุปกรณ์ไม่กี่อย่าง ก็สร้างคอนเทนต์ได้ด้วยตัวเอง ยิ่งหากว่าเพื่อนคนไหนช่างพูด ช่างคุยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็อาจจะยิ่งได้เปรียบ เพราะจะทำให้การอัดเสียงเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เคอะเขิน แต่สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่คุยไม่เก่ง ก็อย่าเพิ่งถอดใจนะคะ เพราะนอกจากความช่างพูดแล้ว การทำ Podcast ให้ประสบความสำเร็จยังมีอีกหลายๆ ปัจจัย ที่เราฝึกฝนกันได้ ลองมาดูว่า การทำ Podcast ต้องมีทักษะอะไรบ้าง

  • พูดจาฉะฉาน เพื่อนๆ คนไหนเป็นดาวเด่นทีมโต้เวทีประจำห้อง หรือมักถูกเลือกให้เป็นตัวแทนกลุ่มออกไปพูดหน้าชั้นบ่อยๆ น่าจะได้เปรียบที่จะทำช่อง Podcast ของตัวเอง เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา น่าจะมีความมั่นใจในทักษะการพูดของตัวเองประมาณหนึ่ง สามารถเริ่มต้นได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ ค่ะ
  • จับประเด็นเก่ง สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าทักษะการพูด คือ มีความสามารถจับประเด็นเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เพราะการทำ Podcast เราต้องถ่ายทอดเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจ ดังนั้น ผู้เล่าควรมีชัดเจนในประเด็นต่างๆ ก่อน จึงจะเล่าเรื่องให้ผู้ฟังเข้าใจได้
  • เล่าเรื่องน่าสนใจ เมื่อจับประเด็นได้แล้ว ยังต้องนำประเด็นเหล่านั้นมาร้อยเรียงให้เป็นเรื่องเล่าที่น่าสนใจ เรียงลำดับเนื้อหาให้มีความดึงดูด เพื่อให้ผู้ฟังติดตามฟังจนจบ 
  • ความมุ่งมั่น ในระยะแรกที่เริ่มต้น Podcast ของเราอาจไม่มีคนฟังมากนัก การจะทำให้คอนเทนต์ของเราเป็นที่นิยมอาจต้องใช้เวลา และอาศัยความมุ่งมั่น ทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างฐานผู้ฟัง 

จะว่าไปแล้วการทำ Podcast หากใครไม่มั่นใจจะฉายเดี่ยว อาจชวนเพื่อนๆ ในกลุ่ม ที่มีทักษะต่างๆ กัน มาร่วมทีมได้ เช่น คนที่พูดเก่ง ทำหน้าที่อัดเสียง ส่วนคนที่จับประเด็นเก่งๆ เป็นคนเขียนบทและลำดับเรื่องที่จะถ่ายทอด ใครที่เก่งด้านเทคนิค ก็ทำหน้าที่ตัดต่อ ใส่ซาวน์เอฟเฟค หาเพลงประกอบ เมื่อครบทีมแล้วก็ลุยกันเลย

พร้อมแล้ว ลุยเลย!

เมื่อชัดเจนแล้วว่าเราจะเริ่มทำ Podcast ก็ต้องเริ่มต้นวางแผนงาน โดยอาจแบ่งการทำงานเป็นสามส่วนคือ เตรียมอุปกรณ์ เตรียมคอนเทนต์หรือเนื้อหาที่จะนำเสนอ และเตรียมช่องทางเผยแพร่

เตรีมอุปกรณ์

สำหรับอุปกรณ์สำหรับการเริ่มต้นทำ Podcast อย่างง่ายๆ มีอยู่ไม่กี่อย่าง ได้แก่

  • เครื่องบันทึกเสียง อาจใช้โทรศัพท์มือถือในการบันทึกเสียงก็ได้ หรือหากมีงบประมาณมากพอ ก็อาจใช้ไมโครโฟนที่มี USB สำหรับต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรง จริงๆ แล้วสำหรับวัยเรา ในช่วงเริ่มต้น เสียงที่บันทึกจากโทรศัพท์มือถือ ก็มีคุณภาพระดับหนึ่งแล้ว แค่ไม่มีเสียงรบกวนก็ใช้ได้ อย่าเพิ่งรีบลงทุนโดยไม่จำเป็นนะจ๊ะ
  • โปรแกรมตัดไฟล์เสียง การบันทึกเสียงสำหรับ Podcast ต้องบันทึกไฟล์เป็น MP3 โดยเลือกใช้โปรแกรมหรือแอปลิเคชันในการตัดต่อไฟล์เสียงที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Garageband ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีสำหรับคนที่ใช้ Mac Os หรือ Audacity โปรแกรมฟรี ที่ไม่กินพื้นที่ความจุเครื่อง สำหรับใครที่ต้องการฟีเจอร์ภาษาไทย ลองใช้ Moo0 Recorder ที่รองรับภาษาไทยด้วย

เตรียมคอนเทนต์ 

เมื่ออุปกรณ์พร้อมแล้ว ก็ลองมาวางแผนกันว่า Podcast ของเราจะนำเสนออะไร ในธีมแบบไหน

  • เลือกคอนเซปต์นำเสนอ Podcast ของเราก็เหมือนสถานีวิทยุ สถานีหนึ่ง เราจึงควรมีคอนเซปต์การนำเสนอที่ชัดเจน เช่น ถ้ามีความรู้เรื่องวัฒนธรรมประเทศต่างๆ อยากเล่าให้คนอื่นฟัง คอนเซปต์ของเราอาจเป็น Around the world with me หรือเรื่องเล่าจากรอบโลก แต่ละตอนนำเสนอเรื่องราวจากนานาประเทศ หรือใครที่อยากให้กำลังใจผู้ฟัง ก็อาจใช้คอนเซปต์ feel good Podcast ไม่ควรเล่าเรื่องที่หลากหลายสะเปะสะปะเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้ฟังสับสน ขาดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
  • เลือกผู้ฟัง การเลือกว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังเป็นใคร จะทำให้เราออกแบบเนื้อหาที่จะนำเสนอได้เหมาะสม เช่น เล่าเรื่องให้เพื่อนวัยเดียวกันฟัง ก็ไม่ต้องใช้คำที่เป็นทางการมากนัก แต่หากต้องการสื่อถึงผู้ใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครอง ก็อาจต้องใช้คำที่เป็นทางการขึ้นมาอีกนิด เป็นต้น
  • แพลนเนื้อหา เมื่อได้คอนเซปต์หลัก และเลือกกลุ่มผู้ฟังแล้ว ขั้นต่อมาคือการลงรายละเอียดเนื้อหาในแต่ละตอน อาจวางโครงร่างคร่าวๆ สัก 10 ep. ว่าจะนำเสนออะไรบ้าง เพื่อเตรียมตัวหาข้อมูล นำมาเรียบเรียงเป็นบทพูด เมื่อพร้อมแล้วก็บันทึกเสียงได้เลย 

ช่องทางเผยแพร่ 

ช่องทางสำหรับการเผยแพร่ที่ได้รับความนิยมและใช้ง่ายสุดๆ คือ Soundcloud ซึ่งใช้งานได้ฟรี แต่หากต้องการอัพเกรดก็สมัครสมาชิกแบบเสียเงินได้ แต่เริ่มแรกใช้แบบฟรี ก็มีพื้นที่จัดเก็บไฟล์เสียงถึง 3 ชั่วโมงแล้ว โดยจะอัปโหลดกี่ไฟล์ก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 180 นาที เมื่ออัพโหลดไฟล์เสียงขึ้น Soundcloud แล้วก็โปรโมทผ่านโซเชียลมีเดียได้เลย 

อีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจคือ Podbean มีทั้งแบบเว็บไซต์และแอปที่ใช้งานง่ายสุดๆ สามารถอัด ตัดต่อ และอัปโหลดไฟล์เสียงผ่านแอปได้เลย โดยสามารถอัปโหลดกี่ไฟล์ก็ได้ ไม่เกิน 300 นาที หากเกินกว่านั้นต้องเสียเงินนะจ๊ะ 

รายได้จาก Podcast มาจากไหน?

จากที่เล่าไปแล้วว่า Podcast ก็เหมือนสถานีวิทยุช่องหนึ่ง ดังนั้นรายได้ก็มาจากการโฆษณาสินค้านั่นเอง ในช่วงแรกที่เริ่มฟัง อาจยังไม่มีผู้ติดตามมากนัก การอัปโหลดคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ฟัง และทำให้ช่อง Podcast ของเราได้รับความสนใจจากสปอนเซอร์ที่ต้องการลงโฆษณากับเราได้ 

โดยรูปแบบการโฆษณา มีทั้ง ผู้พูดเป็นคนพูดแนะนำสินค้าเอง หรือการเปิด Audio spot จากลูกค้าแทรกเหมือนกับการโฆษณาในรายการวิทยุ นอกจากนี้ยังอาจ tie-in สินค้าให้เข้ากับเนื้อหาที่เรานำเสนอ เช่น พูดเรื่องคลายเครียดก่อนสอบ อาจแนะนำเครื่องดื่มบำรุงสมอง เป็นหนึ่งวิธีคลายเครียดก่อนสอบ เป็นต้น 

สุดท้ายแล้ว สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจทำ Podcast เราแนะนำว่าให้เลือกหัวข้อที่เราชอบและสนใจจริงๆ เพื่อที่จะได้สนุกในการทำเนื้อหาแต่ละ ep. ตั้งเป้าหมายเพื่อประสบการณ์และพัฒนาตัวเอง มากกว่าตั้งเป้าหมายในเรื่องเงิน จะทำให้เรามีความมุ่งมั่น ไม่ถอดใจ แล้วรายได้ก็จะตามมาเอง เหมือนคำกล่าวที่ว่า Do what you love and  the money will follow. 

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

Set สตูดิโอง่าย ๆ ด้วยงบ 1,000 บาท

การ Set Studio สามารถทำได้ในราคาที่ไม่แพง และนำไปใช้ได้จริง จำเป็นต้องศึกษารายละเอียด และปรับใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม เ ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
Set สตูดิโอง่าย ๆ ด้วยงบ 1,000 บาท
Starfish Future Labz

Set สตูดิโอง่าย ๆ ด้วยงบ 1,000 บาท

Starfish Future Labz
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

เสกงานกราฟฟิกแบบมืออาชีพด้วย Canva

มาเรียนรู้วิธีการใช้ Canva ตัวช่วยดี ๆ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากสร้างผลงานกราฟฟิกให้มีความโดดเด่นน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าสินค้าได้

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
เสกงานกราฟฟิกแบบมืออาชีพด้วย Canva
Starfish Future Labz

เสกงานกราฟฟิกแบบมืออาชีพด้วย Canva

Starfish Future Labz
7495 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เด็กรุ่นใหม่ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และต้องมีทักษะอะไรบ้างเพื่อรองรับกับอ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เจาะลึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
Starfish Academy

เจาะลึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

Starfish Academy
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

Applications เพื่อสร้างงานกราฟิกอย่างง่าย

ตัวช่วยดี ๆ สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังสนใจในการทำอาชีพบนโลกออนไลน์ และต้องการสร้างความโดดเด่นให้กับผลงานของตัวเอง เพื่อเพิ่ม ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
Applications เพื่อสร้างงานกราฟิกอย่างง่าย
Starfish Future Labz

Applications เพื่อสร้างงานกราฟิกอย่างง่าย

Starfish Future Labz
3713 ผู้เรียน

Related Videos

Shutterstock ถ่ายภาพสร้างรายได้
02:27
Starfish Academy

Shutterstock ถ่ายภาพสร้างรายได้

Starfish Academy
243 views • 2 ปีที่แล้ว
Shutterstock ถ่ายภาพสร้างรายได้
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
986 views • 1 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "
05:51
Starfish Academy

ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "

Starfish Academy
271 views • 1 ปีที่แล้ว
ตั้งเป้าหมายสู่เส้นทาง "นักจิตวิทยา "
"7 สายงานแห่งอนาคต"
04:27
Starfish Academy

"7 สายงานแห่งอนาคต"

Starfish Academy
213 views • 2 ปีที่แล้ว
"7 สายงานแห่งอนาคต"